RSS

สรุปข้อเสนอสร้างความปรองดองในชาติ โดยสถาบันพระปกเกล้า

สรุปข้อเสนอสร้างความปรองดองในชาติ โดยสถาบันพระปกเกล้า


สรุปข้อเสนอ
กระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ
โดยสถาบันพระปกเกล้า

การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรว่า อะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ?”

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ยุทธศาสตร์สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย: กรณีเสื้อเหลือง-เสื้อแดง


บทสรุปงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย : กรณี เสื้อเหลือง-เสื้อแดง

๑. เกริ่นนำ

              คำว่า สันติวิธีมักจะได้รับความสนใจอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีบุคคล หรือกลุ่มบุคคล และสื่อมวลชนได้กล่าวถึงอยู่เสมอในช่วงระยะเวลาประมาณ ๕ ปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์และบรรยากาศของการกล่าวถึงนั้น มักจะดำรงอยู่ในมิติของ ความขัดแย้งหรือเกิดกรณี พิพาทระหว่างบุคคลต่อบุคคล ระหว่างกลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคล หรือระหว่างรัฐต่อรัฐ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เผด็จการ และ ธุรกิจล้นเกินในสื่อไทย

เผด็จการ และ ธุรกิจล้นเกินในสื่อไทย
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
.
เผด็จการ
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์

ในมติชนสุดสัปดาห์ ออนไลน์ ฉบับวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1595 หน้า 30
หนึ่ง ในสิ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน สมัยที่นาซีเรืองอำนาจ คือหุ่นมนุษย์ที่ทำด้วยแก้ว มองเห็นเส้นเลือดและอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งทำงานสอดประสานกันเป็นหนึ่งเดียว

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายของประสิทธิผล

ความหมายของประสิทธิผล

             ปัจจุบันมีการศึกษาเรื่อง ประสิทธิผล (effectiveness) กันอย่างแพร่หลายและมี การนิยามความหมายแตกตางกัน โดยมีการใช้หลักเกณฑ์มาประกอบกัน โดยมีผู้ให้ ความหมายหรือคำนิยามต่าง ๆ กัน ดังนี้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

วิธีการพัฒนาชีวิตโดยหลักเศรษฐกิจพอเพียง


วิธีการพัฒนาชีวิตโดยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

           “
เศรษฐกิจพอเพียง”  เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการ ดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ   และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น    และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความ เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทย ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553

เนื้อหางานวิจัย : การจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทย ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553
Conflict Management of Political Conflict in Thailand between 2004- 2010

พิชญา สุกใส
Pitchaya Suksai
นักวิจัยอิสระ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “การจัดการความขัดแย้งทางการเมืองไทย ระหว่าง พ.ศ. 2547-2553” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างผู้นำ และผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมือง นักวิชาการ และสื่อมวลชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สภาพการก่อตัวและพัฒนาการของความขัดแย้งและ เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2547-2553 และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับแนวทางการจัดการความขัดแย้งทางการเมืองในอนาคต

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สรุปรายชื่อบทความปี55

นมัสการพระคุณเจ้า และท่านนักวิชาการเจ้าของบทความทุกท่าน

ตามที่ท่านได้ส่งบทความเพื่อเข้าร่วมการประชุมวิสาขบูชาโลกประจำปี ๒๕๕๕ นั้น ทางคณะทำงานขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ส่งหัวข้อและบทคัดย่อมายังคณะทำงาน ทางคณะทำงานขอเรียนให้ท่านทราบว่าบทความที่มีรายชื่อดังแนบนั้นให้ท่านพัฒนาปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ภายในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ เพื่อที่ทางคณะทำงานจะได้นำเข้าสู่ึคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับการแต่งตั้งทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวน ๑๐ ท่านได้ทำการกลั่นกรองเพื่อคัดเลือกบทความตีพิมพ์ต่อไป  บทความที่ได้รับการพิจารณาจะต้องเข้าเงื่อนไขของการประชุมดังเอกสารแนบ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

โครงสร้างบทความวิจัย มจร.

โครงสร้างบทความวิจัย

๑. ชื่อเรื่อง   ให้ใช้ชื่องานวิจัย
๒.ชื่อผู้วิจัย 
- ให้ระบุชื่อผู้วิจัยทุกรูป/คน (กรณีมีนักวิจัยหลายรูป/คน ให้ระบุไม่เกิน ๕ รูป/คน ๆ ที่ ๖ ขึ้นไปให้ใช้คำว่า และคนอื่น) ไม่ใส่คำนำหน้าชื่อ ยกเว้นคำนำหน้าพระราชทาน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สังเคราะห์ เมืองไทยภายใต้ระบอบทักษิณ

สังเคราะห์ เมืองไทยภายใต้ระบอบทักษิณ
"อนุช อาภาภิรม"

รายงาน  มติชนรายวัน  วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9869

หมายเหตุ : บทวิเคราะห์และสังเคราะห์เรื่อง "ประเทศไทย 2547 : ภูมิทัศน์การเมืองโลกที่เปลี่ยนไป" จัดทำโดยนายอนุช อาภาภิรม หัวหน้าโครงการข่าวสารทิศทางประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ใช้ในการประกอบในการเสวนาในชื่อเรื่องเดียวกัน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม "มติชน" ขอนำมาคัดย่อสรุปในบางประเด็น

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การเมืองเรื่องน้ำมัน และนโยบายการทำให้ทันสมัยของเมดเวเดฟ

การเมืองเรื่องน้ำมัน และนโยบายการทำให้ทันสมัยของเมดเวเดฟ

โดย อนุช อาภาภิรม คอลัมน์ วิกฤติศตวรรษที่ 21
ในมติชนสุดสัปดาห์ ออนไลน์ ฉบับวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1591 หน้า 46


นํ้ามันและรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่น ช่วยทำให้โซเวียตเป็นอภิมหาอำนาจ และก็มีส่วนทำให้มันล่มสลาย
และที่แปลกขึ้นไปอีกก็คือ การฟื้นการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นช่วยให้รัสเซียฟื้นตัวเป็นมหาอำนาจอย่างน้อยในภูมิภาค แต่ความเข้มแข็งนั้นเปราะบางและไม่ยั่งยืน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายของการคลังสาธารณะ (fiscal policy)

ความหมายของการคลังสาธารณะ (fiscal policy)

การคลังสาธารณะ (fiscal policy) คือ การกำหนดนโยบายทางการคลังเพื่อดำเนินงานการคลังด้านรายได้และรายจ่ายของรัฐ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนควบคุมประเภทการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือการก่อหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบต่อระบบสังคมเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศผ่านกลไกนโยบายรัฐ ทั้งด้านการผลิต การบริโภค การแจกจ่าย การแลกเปลี่ยนสินค้า สร้างสินค้าสาธารณะ และการบริการสังคม โดยนโยบายการคลังนับเป็นการแสวงหา และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์ หรือเป้ าหมายที่แน่นอนในระยะสั้น ซึ่งการจัดสรรทรัพยากร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย

ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย

ในสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังฝุ่นตลบอยู่ในขณะนี้ หลายท่านอาจเคยได้ยิน ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยวันนี้ผมจะมาขยายความให้ฟังกันครับ

ทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตยเป็นบทสรุปจากงานวิจัยของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างของสองพฤติกรรม สองความคิด สองความต้องการของชาวนาชาวไร่ภาคชนบทและชนชั้นกลางชาวเมืองว่า

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

นักรัฐศาสตร์ ได้ให้ความเห็น เกี่ยวกับการกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจเลือกนโยบาย ดังนี้

การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจเลือกนโยบาย : Brever and Deleon (1983)

Brever and Deleon (1983, p. 62) ได้ให้ความเห็นว่า การสร้างสรรค์ คือ สมรรถนะในการพิจารณาปัญหาและข้อเสนอทางเลือกนโยบายภายใต้ทัศนียภาพ (perspectives) และระเบียบวิธีการวิเคราะห์ที่มีเอกภาพ และแตกต่างไปจากความพยายาม ที่เคยกระทำมาก่อนในการแก้ไขปัญหาสาธารณะทำนองเดียวกัน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจเลือกนโยบาย

การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจเลือกนโยบาย

Anderson (1994, pp. 33-34) ได้อธิบายว่า การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจ เลือกนโยบาย (public policy decision making and determination) เป็นกระบวนการ ที่พัฒนามาจากการก่อรูปนโยบาย โดยมีปัญหาสาธารณะ (public problems) เป็นโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการในกระบวนการก่อรูปนโยบาย การกำหนดทางเลือกนโยบายและการตัดสินใจนโยบาย สิ่งที่นักวิเคราะห์จะต้องคำนึงถึงตลอดเวลา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) กับปัญหาของชาติ

กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) กับปัญหาของชาติ

ศาสตราจารย์ นพ.วันชัย วัฒนศัพท์

หลายคนที่ได้รับรู้เหตุการณ์บ้านเมืองในรอบสิบปีที่ผ่านมา ที่เผชิญกับการประท้วง ความขัดแย้ง การชุมนุมคัดค้านที่บางครั้งนำไปสู่ความรุนแรง นอกจากบ่นและเบื่อ แล้วหลายๆ คนก็ตั้งคำถามขึ้นมาว่า สงสัยต่อไปนี้ไม่ต้องคิดพัฒนา คิดสร้างอะไรแล้ว โรงไฟฟ้าก็ไม่ให้สร้าง เขื่อนก็ไม่ให้สร้าง แม้แต่ที่ทิ้งขยะที่ทุกๆ คน รวมทั้งผู้ประท้วงก็สร้างขยะขึ้นทุกวี่ทุกวันก็สร้างไม่ได้ เพราะทุกคนก็จะบอกว่าจะไปสร้างที่ไหนก็แล้วแต่ แต่ห้ามมาสร้างใกล้บ้านฉัน (หรือ Not in my backyard : NIMBY)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กระบวนทัศน์ (Paradigm)

กระบวนทัศน์ (Paradigm)

คำว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) ซึ่งมาจากภาษากรีก โดย para แปลว่า beside ส่วน digm แปลว่า ทฤษฎี คือ ชุดแนวความคิด หรือ มโนทัศน์ (Concepts) ค่านิยม (Values) ความเข้าใจรับรู้ (Perceptions) และการปฏิบัติ (Practice) ที่มีร่วมกันของคนกลุ่มหนึ่ง ชุมชนหนึ่งและได้ก่อตัวเป็นแบบแผน ของทัศนะอย่างเฉพาะแบบหนึ่ง เกี่ยวกับความจริง (Reality) ซึ่งเป็นฐานของวิถี เพื่อการจัดการตนเอง ของชุมชนนั้น ทีทำหน้าที่สองประการ ประการแรกทำหน้าที่ วางหรือกำหนดกรอบ ประการที่สอง ทำหน้าที่บอกเราว่าควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ภายในกรอบเพื่อให้เกิดความสำเร็จ รวมไปถึง เราวัดความสำเร็จนั้นอย่างไร

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

Performace Management ทิศทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน

Performace Management
ทิศทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน

การพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงานเกิดจากเจตนารมณ์ของสำนักงาน ก.พ.ที่จะปรับระบบประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อให้สามารถวัดและประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการได้อย่างจริงจังมากขึ้น สำนักงาน ก.พ. จึงได้ศึกษาวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาระบบประเมินผลการปฏิบัติงานโดยเริ่มจากการขอความร่วมมือจากส่วนราชการมาร่วมให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาที่พบมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความไม่ชัดเจนในการประเมิน ความยุติธรรมในการประเมิน คุณธรรมและทักษะของผู้ประเมินการใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการประเมิน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การสร้างจิตสำนึกของประชาชนต่อวิถีชิวิตการปกครองท้องถิ่นกับความเป็นประชาธิปไตยไทย

การสร้างจิตสำนึกของประชาชนต่อวิถีชิวิตการปกครองท้องถิ่นกับความเป็นประชาธิปไตยไทย
ในประเทศที่พัฒนาแล้ว การปกครองท้องถิ่นเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองท้องถิ่นของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถ้าเราลองเปรียบเทียบการปกครองท้องถิ่นของไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เราจะพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ไม่มีพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่นที่เป็นอิสระมาก่อน และตามประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เราเป็นประเทศหนึ่งที่รวมอำนาจไว้กับส่วนกลางมาโดยตลอด (อมร จันทรสมบูรณ์ : 2537)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ตัวแบบนโยบายสาธารณะ

ตัวแบบนโยบายสาธารณะ

Dye (1998, pp. 14-36)

Dye (1998, pp. 14-36) ได้นำเสนอตัวแบบการกำหนดนโยบายสาธารณะถึง 9 ตัวแบบ เป็นการเสนอแนวคิดที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. Institutional Model ตัวแบบสถาบัน เสนอแนวคิดให้เห็นว่า การกำหนดนโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตของสถาบันของรัฐ (policy as institutional output) ที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เช่น สภาผู้แทน คณะรัฐบาล กระทรวง ศาล เทศบาลเป็นต้น โดยสถาบันของรัฐดังกล่าวจะกำหนดนโยบาย เพื่อนำไปปฏิบัติและบังคับใช้ในสังคม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ทฤษฎีชนชั้นผู้นำ (elite theory)

เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายถึง การกำหนดนโยบาย จากความปรารถนาและความต้องการของชนชั้นผู้นำประเทศเนื่องจากประเทศถูกปกครอง ด้วยระบอบอำนาจนิยมเป็นของผู้ปกครองประเทศแต่ผู้เดียว ซึ่งผู้นำในระบอบนี้ใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จหรือแบบเผด็จการ หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ฯลฯ เพราะหลักการของตัวแบบชนชั้นผู้นำที่ใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบาย สาธารณะ จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นผู้นำหรือชนชั้นผู้ปกครอง ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ นโยบายสาธารณะอย่างเด็ดขาด โดยชนชั้นปกครองเหล่านี้จะยึดถือความพึงพอใจ (preference) หรือค่านิยม (values) ของตนเอง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายของนโยบายสาธารณะ ต่อ

ความหมายนโยบายสาธารณะของพิทยา บวรวัฒนา และ ศุภชัย ยาวะประภาษ

นโยบายสาธารณะ เป็นวิชาที่พยายามศึกษาว่ารัฐบาลเลือกทำ และไม่ทำอะไร เพราะเหตุใด รัฐบาลมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร และการกระทำของรัฐบาลก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การศึกษานโยบายสาธารณะ เป็นไปเพื่อทราบเหตุและผลของนโยบาย เหตุของนโยบายมีอะไรบ้าง ปัจจัยอะไรบ้างเป็น ตัวกำหนดนโยบาย ผลของนโยบายสารธารณะมีอะไรบ้าง นโยบายของรัฐบาลสามารถแก้ไขบรรเทาป้ญหาในสังคมมากน้อยแค่ไหนอย่างไร (พิทยา บวรวัฒนา, 2529)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายของนโยบายสาธารณะ ต่อ

ความหมายของนโยบายสาธารณะ

ความหมายของนโยบายสาธารณะมีนักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์หลายท่านด้วยกันให้ความหมายไว้ คือ

Dye (อ้างถึงใน สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ, 2543, หน้า 143) ได้กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ คือ สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความหมายของนโยบายสาธารณะนั้น

ความหมายของนโยบายสาธารณะนั้น มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ ความหมายไว้หลายความหมายด้วยกัน ดังต่อไปนี้

โทมัส อาร์ ดาย (Dye, 1984, p. 1 อ้างถึงใน ปียะนุช เงินคล้าย ม.ป.ป., หน้า 4) ได้ให้ ความหมายนโยบายสาธารณะว่า หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกทึ่จะกระทำหรือไม่กระทำ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทย

กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะของประเทศไทย

ปัจจุบันหลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ ที่ 16 พุทธศักราช 2540 พรรคการเมืองมีความแข็งแกร่งมากขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้จากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 พรรคไทยรักไทย นำโดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรค ได้รับเลือกตั้งเข้ามาทั้งสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวนมากถึง 377 คน จากจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งสิ้น 500 คน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ลำดับขั้นตอนกระบวนการนโยบายสาธารณะ

กระบวนการนโยบายสาธารณะ

Anderson (1975, pp. 26-27) ได้ให้กรอบแนวคิดในกระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างเป็นลำดับขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอน คือ

1. Problem Formation การก่อตัวของปัญหานโยบาย (policy problem) ปัญหานั้นเป็นปัญหาสาธารณะหรือไม่ ปัญหานั้นเป็นวาระของรัฐบาลที่ต้องกระทำหรือไม่ (policy agenda) โดยคำว่าปัญหา ต้องพิจารณาว่าเป็นปัญหาจริงหรือไม่ เพราะบางครั้งสิ่งที่เราคิดว่าเป็นปัญหา ความจริงอาจไม่เป็นปัญหาก็ได้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กระบวนการนโยบายสาธารณะ

กระบวนการนโยบายสาธารณะ

สามารถแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการใหญ่ ๆ ดังนี้

กระบวนการแรก เป็นแนวคิดกระแสหลักกล่าวคือ ได้ยึดการแบ่งกระบวนการ นโยบายออกเป็นขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันในลักษณะที่ไม่ให้ความสำคัญต่อ ปฏิกิริยาโต้ตอบ ระหว่างขั้นตอนแต่ละขั้นตอน โดยทั่วไปมักแบ่งกระบวนการออกเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดขั้นสูง (Creative Thinking & High-order thinking skills)

ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดขั้นสูง
(Creative Thinking & High-order thinking skills)

โดย Ms. Jareerat Meesupanan.

ไอ สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้” จิตนาการเกิดจากความคิดที่สร้างสรรค์ ซึ่งจะนำพาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่ช่วยให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง โดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุผลตาม

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ปรัชญาเซน ของสตีฟ จอบส์

ประวัติย่อของ สตีฟ จอบส์

เริ่มก่อตั้งบริษทั Apเple ดีไซน์สินค้าด้วยแนวคิดเซน ในปี 1976 จอบส์และเพื่อนสมัยเรียนที่ชื่อ “สตีฟ วอซเนียก” ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Apple Computer ขึ้นที่โรงรถในบ้านของจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตาได้แก่เครื่อง Apple Iและเพียง 10 ปีให้หลัง Apple ก็เติบโตจากคนเพียง 2 คนกลายเป็นบริษัทใหญ่โตที่มีมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ และพนักงานมากกว่า 4,000 คน!!จอบส์เคยกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Wired ของอเมริกาว่า “มีคำคำหนึ่งในศาสนาพุทธ คือ จิตของผู้เริ่มต้น มันเป็ นสิ่งมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ทุกคนควรจะมีจิตของผู้เริ่มต้น

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

บทสรุปของ "ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย"

บทสรุปของ "ประชานิยม : หายนะจากอาร์เจนตินาถึงไทย?"

บ้านเขาเมืองเรา : ดร.ไสว บุญมา sawaib@hotmail.com กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 1 สิงหาคม 2546

"ไทยจะล่มสลายคล้ายอาร์เจนตินาหรือไม่?" เป็นคำถามที่เกิดขึ้นน้อยลง ในวงการสนทนา ทั้งนี้ คงเพราะเศรษฐกิจไทย ดูจะฟื้นตัวอย่างแน่นอน จากวิกฤติเมื่อ 6 ปีที่แล้ว และข่าวคราวเกี่ยวกับ ปัญหาของอาร์เจนตินา ไม่ค่อยปรากฏบ่อยนัก หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

หยุด! ฟังเพลงคลายเหงา

หากรู้สึกว่า วันนี้เหนื่อยหนัก หยุดพักฟังเพลงซะหน่อย อาจช่วยให้มีแรงสู้กับปัญหาต่างๆ ได้นะ






  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

แนวข้อสอบ นโยบายศาสตร์

เป็นตัวอย่างข้อสอบ นโยบายศาสตร์ (policy science) สำหรับนิสิตปริญญาเอก รปศ. มจร.







  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

คำตอบวิชานโยบายศาสตร์

คำตอบวิชานโยบายศาสตร์
หลักสูตรพุทธศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ แบบ ๑.๒
เสนอ ศาสตราจารย์ ดร.กฤษ เพิ่มทันจิตต์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕

ข้อที่ ๑. จากคำพยากรณ์แบบอุปมาอุปไมยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวิจารณ์แบบเส้นตรงดังกล่าว มีความแม่นตรง (validity) ในเชิงหลักการณ์และเชิงเหตุการณ์อยู่มาก ส่วนความสมเหตุสมผล (rationality) จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของประเทศอาร์เจนตินานั้น มีความสมเหตุสมผลที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ในบางนโยบาย

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

งานถอดเทป อ.กฤษ เพิ่มทันจิตร์ 44

เป็นผลงานการถอดเทป ของ ศ.ดร.กฤษ เพิ่มทันจิตร์ ซึ่ง อ.กฤษ ได้บรรยายเกี่ยวกับวิชา นโยบายศาสตร์ (policy science) เอาไว้เมื่อ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔
งานถอดเทป อ.กฤษ เพิ่มทันจิตร์ 44

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS