RSS

คำตอบวิชานโยบายศาสตร์

คำตอบวิชานโยบายศาสตร์
หลักสูตรพุทธศาสตร์ ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ แบบ ๑.๒
เสนอ ศาสตราจารย์ ดร.กฤษ เพิ่มทันจิตต์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕

ข้อที่ ๑. จากคำพยากรณ์แบบอุปมาอุปไมยเชิงประวัติศาสตร์และเชิงวิจารณ์แบบเส้นตรงดังกล่าว มีความแม่นตรง (validity) ในเชิงหลักการณ์และเชิงเหตุการณ์อยู่มาก ส่วนความสมเหตุสมผล (rationality) จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของประเทศอาร์เจนตินานั้น มีความสมเหตุสมผลที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ในบางนโยบาย
เช่น กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน การพักชำระหนี้ การประกันสุขภาพถ้วนหน้า และโครงการเอื้ออาทรสารพัดอย่างซึ่งกำลังผุดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โครงการเหล่านั้นเกิดขึ้นส่วนหนึ่งเพื่อเล็งผลเลิศในการเลือกตั้ง ซึ่งกำหนดจะมีขึ้นในอีกปีกว่าข้างหน้า และน่าจะทำให้รัฐบาล "คิดใหม่-ทำใหม่" ได้รับความนิยมมากพอที่จะได้รับเลือกให้เข้าบริหารประเทศต่อไปอีก ประเด็นจึงเป็นว่า หลังจากการเลือกตั้งแล้วมาตรการประชานิยมจะหยุดหรือมีเพิ่มขึ้นอีก ณ เวลาปัจจุบันนี้ เป็นเครื่องยืนยัน ดังจะได้อธิบาย ดังต่อไปนี้
๑) อนาคตที่เป็นไปได้ (Possible future) หากไม่มีเมล็ดพันธุ์แห่ง “นโยบายประชานิยม” ในวันนั้น คงไม่มีการพัฒนานโยบายกองทุนหมู่ และนโยบายประชานิยมอื่นๆ ในวันนี้ได้
๒) อนาคตที่บางทีอาจเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ (Probable future) คำพยากรณ์ดังกล่าวถือว่าตั้งอยู่บนสมมติฐานแห่งตรรกะ ซึ่งมีทั้งที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ ดังคำกล่าวที่ว่า หากไม่มีอดีตก็ไม่มีอนาคต แต่หากเรานำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากอดีตมาร่างเป็นบทเรียนของปัจจุบัน อนาคตที่มั่นคงคงเกิดขึ้นได้ไม่ยาก
๓) อนาคตที่พอใจจะให้เกิด (Preferable future) มนุษย์เราจำเป็นต้องเรียนรู้เหตุการณ์ในอดีตจึงจะเข้าใจปัจจุบันได้ เราคงปฏิเสธอดีตไม่ได้ เพราะหากไม่มีบทเรียนแห่งความล้มเหลวหรือบทเรียนแห่งความสำเร็จ มนุษย์ก็คงไม่เข้าใจว่า จะดำเนินปัจจุบันให้เป็นไปในทิศทางไหนได้ และไม่รู้ว่าจะวางแผนอนาคตกันอย่างไรด้วยเช่นกัน ฉะนั้น อนาคตที่พอใจจะให้เกิดขึ้น ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งบทเรียนในอดีตและปัจจุบันกันทั้งนั้น
๑.๒ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับคำพยากรณ์ดังกล่าว จึงได้แสดงเหตุผลเชิงแย้ง (antithetical reason) ภายใต้กรอบวิชาการที่เคร่งครัด พร้อมข้อมูลเชิงประจักษ์ จากงานวิจัยและบทความทางวิชาการ ดังนี้ต่อไปนี้
"กองทุนหมู่บ้าน" หนึ่งในโครงการ "ประชานิยม" ของรัฐบาลพรรคไทยรักไทย ที่ผ่านมาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในหลายประเด็น แต่ดูเหมือนงานวิจัยของทีดีอาร์ไอในปี ๒๕๕๐ นี้จะชี้ว่าแม้ยังฟันธงไม่ได้ว่ามันแก้ความยากจนได้ไหม แต่ก็เป็นโครงการที่มีแววรุ่ง ทำให้คนจนที่สุดเข้าถึงแหล่งทุน แต่ต้องปรับปรุง-เพิ่มเติมส่วนอื่นๆ อีกหลายประการ
การสัมมนาวิชาการประจำปี ๒๕๕๐ ของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) มีการสัมมนาย่อยว่าด้วย "การใช้สินเชื่อเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจของคนจน" ซึ่งมีการนำเสนองานวิจัย ๓ ชิ้นที่น่าสนใจ
เพราะวิเคราะห์เป็นหลักของข้อมูลเชิงวิเคราะห์ (งานวิจัย) ผู้บริหารสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้บริหารส่วน สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของคนจนว่า ครัวเรือนกลุ่มคนจนที่สุดนั้นมีความเปราะบางด้านการเงิน มีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ในสัดส่วนที่สูง โดยมีภาระหนี้ต่อรายได้ประมาณร้อยละ ๓๘ ของเงินเดือน บางครัวเรือนมีภาระหนี้ถึงร้อยละ ๕๐ ของเงินเดือน ซึ่งช่องทางการกู้ยืมเงินของคนจนนั้น โดยมากจะใช้กองทุนหมู่บ้านและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เช่น ธกส. เพราะเข้าไม่ถึงเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งงานวิจัยพบว่าการกู้ยืมดังกล่าวทำให้คนจนมีหนี้มากกว่าความสามารถในการชำระคืนหนี้ ดังนั้น ในช่วงต่อไปภาครัฐจึงจำเป็นต้องระมัดระวังและมีวินัยในการปล่อยสินเชื่อกับกลุ่มคนจนมากขึ้น (กอบศักดิ์ ภูตระกูล, ๒๕๕๐)
เพราะวิเคราะห์เป็นหลักของตรรกะ (งานวิจัย) ผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายการวิจัยแผนงานเศรษฐกิจรายสาขา ทีดีอาร์ไอ ระบุถึงโอกาสในการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อกับการลดปัญหาความยากจนว่า หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี ๒๕๔๐ รัฐได้อาศัยสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นกลไกสำคัญเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความยากจน โดยมีมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แม้ว่าโครงการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและสินเชื่อไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่รัฐบาลพรรคไทยรักไทยได้ดำเนินการต่างไปจากเดิมมาก มีการหว่านเงินจำนวนมากสู่ระดับฐานรากอย่างกว้างขวางผ่านโครงการสนับสนุนด้านสินเชื่อแก่ประชาชนคนยากจนซึ่งขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยมุ่งลดปัญหาความยากจนบนความเข้าใจว่า การขาดแคลนเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนจนไม่มีโอกาสในการลงทุน แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ความรู้ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี และการหาตลาดรองรับ (ชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์, ๒๕๕๐)
งานวิจัยของชัยสิทธิ์พบว่า โครงการเชิงประชานิยมเช่นนี้ของรัฐบาลที่ผ่านมาที่มุ่งเป้าเพื่อคนจนนั้น ปรากฏว่าคนได้รับประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นคนที่ไม่จน และความช่วยเหลือของรัฐเช่นนี้กลับทำให้การกระจายรายได้แย่ลงหรือมีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โครงการกองทุนหมู่บ้านและพักชำระหนี้แก่เกษตรการรายย่อย มีประโยชน์ในการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่คนจน ซึ่งยังน่ามีจุดน่าเป็นห่วงว่า พฤติกรรมการก่อนหนี้ซ้ำซ้อนและต่อเนื่องนั้นนำเงินทุนไปลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์จริงหรือไม่
"การกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านอาจช่วยเกื้อหนุนคนจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือมีรายได้สูงขึ้นและสามารถใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อตอบสนองกับความจำเป็นขึ้นพื้นฐานได้ แต่เป็นที่น่าเสียดายเนื่องจากข้อจำกัดด้านข้อมูล จึงไม่ได้สามารถวิเคราะห์ต่อไปได้ว่าคนจนเหล่านี้แท้จริงแล้วได้นำเงินที่ได้จากกองทุนฯ ไปใช้อย่างไรเพื่อก่อผลตอบแทนกลับคืนมา อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า การกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านช่วยลดภาระดอกเบี้ยลงมากเมื่อเทียบกับการกู้ยืมนอกระบบ แต่ก็ยังน่าเป็นห่วงเพราะสมาชิกบางส่วนก็ต้องกู้ยืมเงินจากนอกระบบเพิ่มขึ้นทีหลังเพื่อนำมาคืนหนี้กองทุนฯ"
ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการเหล่านี้สร้างโอกาสให้คนจนหลุดพ้นจากความยากจนได้จริง ควรมีการปรับปรุงรูปแบบและแนวทางปฏิบัติงานที่ชัดเจนขึ้น เพื่อให้เข้าถึงคนยากจนได้อย่างแท้จริงและทั่วถึงยิ่งขึ้น มิใช่ถูกกีดกันออกจากระบบเช่นเดิมแม้จะเป็นโครงการกองทุนหมู่บ้านก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐควรจะสนใจการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนของคนกลุ่มนี้ให้ได้ผลดีขึ้น และรัฐต้องเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมที่ใช้เงินจำนวนมากอุดหนุนโครงการประชานิยม เพียงหวังคะแนนเสียงต่อไป ซึ่งอาจทำให้ประชาชนขาดวินัยทางการเงิน มิได้ปรับปรุงตนเอง มาพัฒนาขีดความสามารถดังที่กล่าวไปแล้ว เพราะหากโครงการเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพอาจสร้างภาระผูกพันทางการคลังของรัฐบาลในอนาคตได้ อีกทั้งปัญหาความยากจนก็เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีหนึ่งวิธีใดเท่านั้น ต้องมาจากหลายๆ มิติ
ชิ้นสุดท้ายคือ (งานวิจัย) ของ “บวรพรรณ อัชกุล” นักวิจัยฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคม ทีดีอาร์ไอ และ "วรรวรรณ ชาญด้วยวิทย์" ผู้อำนวยการวิจัยด้านหลักประกันสังคม ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ทีดีอาร์ไอ ศึกษาถึงการประเมินผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อความยากจน ระบุว่า ปัจจุบันโครงการกองทุนหมู่บ้านดำเนินการมาแล้ว ๗ ปี แต่มีการประเมินโครงการอย่างจริงจังเพียงไม่กี่ครั้ง นอกจากนี้การประเมินที่ผ่านมาก็มีปัญหาความถูกต้องแม่นยำของผลกระทบ โดยเฉพาะยังไม่มีงานวิจัยใดทำการศึกษาผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อความยากจนของประเทศ (บวรพรรณ อัชกุล และวรรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, ๒๕๕๐)
โดยสรุปแล้วผลการประเมินโครงการกองทุนหมู่บ้านในงานชิ้นนี้ซึ่งพยายามขจัดความเอนเอียงให้มากที่สุด พบว่า การกู้เงินจากกองทุนฯ ส่งผลให้ผู้กู้มีรายได้จากการประกอบกิจการในภาคเกษตรเพิ่มขึ้น แต่รายได้ดังกล่าวยังไม่เพียงพอให้รายได้รวมของครัวเรือนเพิ่มขึ้น
ส่วนการแก้ปัญหาความยากจนนั้นพบว่า การกู้เงินกองทุนฯ ส่งผลให้สัดส่วนความยากจนด้านรายจ่ายเพื่อการบริโภคนั้นลดลงในช่วงเริ่มแรก แต่ในระยะยาว ไม่สามารถสรุปได้ว่า การกู้ยืมจากกองทุนมีส่วนในการบรรเทาปัญหาความยากจน [Online]. (Available: URL : http://prachatai.com/node/14790/talk) สืบค้น [24/01/2555]
ข้อดีของกองทุนหมู่บ้าน
๑. เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนให้คนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
๒. เป็นแหล่งเงินทุนที่แข่งขันกับแหล่งเงินกู้นอกระบบที่คล่องแต่ดอกแพง (ก็ไม่รู้ว่าจะไปกู้ที่ไหน)
๓. กระตุ้นการลงทุนในท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับรากหญ้า
ข้อเสียที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
๑.เงินส่วนหนึ่งถูกกู้ไปใช้เพื่อวามฟุ่มเฟือย ไม่ใช่การลงทุน (เช่นวัยรุ่นที่อยากมีมอเตอร์ไซด์เพื่ออวดสาวๆในชนบท) สร้างค่านิยมบริโภคและสะสมหนี้ เสียวินัยการเงิน ซึ่งกระทบระยะยาว
๒. ผู้อนุมัติเงิน ไม่มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงกับหนี้สูญ การอรุมัติจึงง่าย
๓. อาจมีการอนุมัติให้พวกพ้อง แม้หนี้อาจสูญ
๔. หนี้เสียถ้าสูงมาก อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ
๕. รัฐดูแลไม่ทั่วถึง และไม่มีวันทั่วถึง
ข้อเสนอแนะ
๑. น่าจะปรับปรุงเป็นธนาคารหมู่บ้าน
๒. ให้ประชาชนออมเงินได้ด้วย โดยผ่านการซื้อหุ้นธนาคารหมู่บ้าน (ในภาวะที่ธนาคารเล็กๆ เงินหมุนเวียนน้อย การออมแบบออมทรัพย์น่าจะลำบาก อาจจะต้องพึ่งสภาพคล่องจากธนาคารพาณิชย์)
๓. ให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการดูแล ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม
๔. ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ส่วนร่วมในการ แต่งตั้งผู้จัดการธนาคาร (เหมือนธนาคารทั่วไป) เพื่อให้ผู้จัดการปล่อยกู้ในโครงการที่มีอนาคต (ไม่ปล่อยเพื่อการบริโภคที่ฟุ่มเฟือย)
๕. ผลประโยชน์หรือความเสียหาย ผู้ถือหุ้นและรัฐร่วมกันรับผิดชอบ (ตามปกติ)
๖. เชื่อว่าจะก่อให้เกิดการหมุนเวียนของเงินทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น (กว่าตอนนี้มาก)
๗. ผมเคยได้ยินพรรคการเมืองบางพรรคพูดถึงเรื่องนี้ (ธนาคารหมู่บ้าน) แต่ผมไม่รู้รายละเอียด
๘. ธนาคารจะเติบโตจากรายได้ (ดอกเบี้ย)ที่งอกเงย และ/หรือ การลงทุนเพิ่มเติมจากประชาชนและรัฐ
๙. หมู่บ้านไหนบริหารดีกว่า ธนาคารก็โตกว่า เงินทุนหมุนเวียนในท้องถิ่นก็สูงกว่า ซึ่งจะเป็นแบบอย่างต่อไป[Online]. (Available : URL : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=152681)สืบค้น [25/01/2555]

ข้อที่ ๒. จากการได้ศึกษา หลักการของนโยบายศาสตร์แล้ว ทำให้สามารถประมวลสรุปสาระสำคัญขององค์ความรู้ ดังนี้
๒.๑ เศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม (Traditional Economics) คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แนว Classic และ Neo Classic ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสำนักความคิดนี้คือ อดัม สมิธ (Adam Smith) ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๗๗๖ โดยมีหลักสำคัญ ๓ ประการ คือ
๑) Invisible Hand ความหมายของ Invisible Hand ในทางภาษาคือ “มือที่มองไม่เห็น” แต่ความหมายในทางเทคนิคหมายถึง “การปรับตัวของกลไกตลาดโดยอัตโนมัติ เพื่อก่อให้เกิดความมีสมดุล หรือดุลยภาพ แต่ความหมายโดยลึกก็คือการแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของปรัชญาหรือลัทธิเสรีนิยมที่มีต่อแนวคิดที่ว่าด้วย Invisible Hand ซึ่งปรัชญาของเสรีนิยมกล่าวว่า บุคคลในสังคมพึงมีสิทธิเสรีภาพในการดำ เนินการใดๆ
และเชื่อว่าผลรวมของส่วนบุคคลต่างๆ ที่มีเสรีภาพในการดำรงชีวิต จะนำไปสู่การเป็นสังคมที่ดี (Good Society) ในหลักการนี้ หากคิดในเชิงยุทธศาสตร์ก็คือ ต้องมีความกระตือรือร้นในการแสวงหากำไรสูงสุด หรือกระตือรือร้นในการบริโภค ซึ่งก็คือกิเลสนั่นเอง ระบบทุนนิยมจะอยู่ได้หรือพัฒนาต่อไป คนในสังคมจะต้องมีกิเลส
๒) Laissez Faire คือ การแทรกแซงของรัฐบาลเข้าไปในกลไกของระบบเศรษฐกิจหรือกลไกของการแสวงหาประโยชน์ส่วนบุคคลให้น้อยที่สุด ไม่ควรเข้ามาแทรกแซงในกลไกตลาด และเป็นที่มาของนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization)
๓) Division of Labor คือ การแบ่งงานกันทำ ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาความชำนาญเฉพาะอย่าง ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจไทย จึงคิดแบบแยกส่วนไม่ได้ จะต้องวิเคราะห์ทุกบริบท ดังนี้
- บริบทของสังคมทั้งมวลของประเทศ
- บริบทระหว่างประเทศ (International or Regional context)
- บริบทของโลก (Global context) ระบบสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ที่พึ่งพาต่อกันระหว่างปัจจัยทางเศษรฐกิจกับปัจจัยที่ไม่ใช่เศรษฐกิจต่างๆ
๒.๒ องค์ความรู้ดังกล่าวมีรากฐานมาจากสำนักวิชาการสำนักความคิดที่ ๒ คือ สำนักนโยบายศาสตร์ (Policy Science) มีจุดเน้นถึงเรื่องนโยบายสาธารณะไปสู่การวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์สังคม มีความคิดด้านธุรกิจที่วิเคราะห์ถึงต้นทุนและผลกำไร งบประมาณ ฐานศูนย์และการใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการประเมินผลลัพธ์โครงการ ซึ่งแฝงอุดมการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับทฤษฎีสวัสดิการและทางเลือกสาธารณะ รวมถึงกลุ่มสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ ที่มุ่งรับใช้ชั้นพ่อค้าและนักลงทุน และเป็นกระบวนทัศน์ที่มุ่งไปในระบบทุนนิยมเสรี (capitalism) หรือระบบการค้าเสรี (free trade area : FTA) แนวคิดต่างประกอบไปด้วย การวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้ (costs and benefits analysis) การจัดงบประมาณฐานศูนย์ (zero budgeting) ประสิทธิผลของต้นทุน (cost effectiveness) และการประเมินผลแผนงาน (program evaluation) นโยบายศาสตร์สืบเนื่องมาจากเศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิค ได้ก่อตัวมาเป็นเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ (welfare economics) และทฤษฎีการเลือกทางสังคม (social choice theory) นักวิชาการประจำสำนักนี้คือ อาดัม สมิท (Adam Smith) จอร์น สจ๊วต มิลล์ (John stuart Mill) จอร์น เอ็ม.เคนส์ (J.M.Keynes) และ เคนน์เน็ธ แอร์โร่ (Kenneth Arrow) (กฤษ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๕๒ : ๗๖)
๒.๓ จุดมุ่งหมายขององค์ความรู้ดังกล่าวเป็นไปตามคำกล่าวของเป็งกีสข่านที่กล่าวว่า “ทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อประเทศทุนนิยมทั้งที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาทั้งหลาย ตลอดจนประเทศสังคมนิยมผสมทุนนิยม แนวคิดของ อดัม สมิทธ์ ไม่เพียงมีอิทธิพลครอบงำนโยบายเศรษฐกิจของพรรคการเมืองที่มีนโยบายอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ยังเป็นที่มาของฉันทานุมัติวอชิงตัน (Washington Concensus) ซึ่งประกอบด้วยมาตรการสี่มาตรการหลักๆ คือการสร้างเสถียรภาพ (stabilization) การเปิดตลาดเสรี (liberalization) การลดระเบียบผ่อนปรน (deregulation) และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (privatization) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเมือง ของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เพื่อครอบงำประเทศลูกหนี้ อาทิ เม็กซิโก ไทย อาร์เจนตินา และอื่นๆ ให้เปิดประตูการค้าและการลงทุนอย่างกว้างขว้างให้แก่ บรรษัทข้ามชาติจากสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร มาตักตวงผลประโยชน์ตลอดจนเป็นผู้ถือครองหุ้นใหญ่ในธนาคารพานิชย์และกิจการต่างๆ จนทำให้ประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะประเทศไทย กลายเป็นอาณานิคมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ (neo-colony) โดยสิ้นเชิง” (กฤษ เพิ่มทันจิตร์, ๒๕๕๒ : ๗๖)
๒.๓.๑ เป็นผล ก่อให้เกิดผลลัพท์ที่เป็นหล่มความทุกข์ ๖ หล่มแห่งประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ ทั้งนี้เพราะองค์ความรู้และพฤติกรรม ที่เป็นผลผลิตของอารยธรรมตะวันตก มีรากฐานมาจากแนวความคิด ทัศนคติ และค่านิยมที่ผิดพลาด เพราะขาดความเข้าใจในธรรมชาติมนุษย์ จึงทำให้พฤติกรรมของโลกตะวันตก ถูกครอบงำด้วยความเสแสร้ง ความไม่รู้ (อวิชชา) และไร้ซึ่งศีลธรรมและจริยธรรม โดยรวมแล้วกระบวนทัศน์วิถีตะวันตกทำให้มนุษย์มุ่งมองออกนอกตัวตนเป็นหลัก เพื่อแสวงหาสิ่งภายนอก เพื่อนำมาตอบสนองต่อกิเลสของตน จึงก่อให้เกิดผลลัพท์ที่เป็นหล่มความทุกข์ ๖ หล่ม ได้แก่
๑) ความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ
๒) ปัญหาความไม่มั่นคงทางสังคม ความเจ็บป่วยทางสังคมและการขาดความสุข
๓) การทุจริตคอร์รัปชั่น
๔) ความไร้ซึ่งความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
๕) ความไร้ซึ่งเสถียรภาพทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
๖) ความไร้ซึ่งสันติภาพและสันติสุขแห่งมวลมนุษยชาติ (กฤษ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๕๒ : ๙๖-๑๒๔)
๒.๔ องค์ความรู้ดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขและปรับปรุงให้มีความเหมาะสมต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในสังคมไทย ในบริบทซึ่งปัจจัยนอกขอบเขตเศรษฐกิจประกอบด้วยหลักการเหล่านี้
๑. ทัศนคติที่มีต่อวิถีชีวิต (ชีวทัศน์) หรือทัศนคติที่ชอบบริโภค ทัศนคติที่ชอบรวยแบบฉาบฉวย ทำให้เกิดขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินไหลออกนอกประเทศ มีการกู้เงินสูงขึ้นขอสินเชื่อโดยมีมูลค่าทรัพย์สินค้ำประกันน้อย หรือทัศนคติของชาวต่างจังหวัดที่ อพยพเข้ามาในกรุงเทพฯ ทำให้เกิดการว่างงานหลายๆ รูปแบบ ปัญหาแรงงานต่างชาติ ที่เข้ามาในประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของปัญหาสังคมและการเมือง ในที่สุดต่างจังหวัดจะเหลือแต่คนแก่และเด็ก ทำให้ขาดกำลังที่จะพัฒนาเกษตรกรรมให้เข้มแข็ง
๒. ขาดการให้ความเคารพยกย่องคนที่เก่ง ขาดการส่งเสริมทางด้านวิจัยและพัฒนา คนเก่งคนดีมักจะไม่ได้รับการยกย่อง แต่ไปยกย่องคนผิด ทำให้เศรษฐกิจไทยดำ เนินไปด้วยทุนต่างชาติที่ปราศจากการถ่ายโอนเทคโนโลยี ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติ และขาดการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง
๓. ความเหมาะสมของโครงสร้างทางการบริหารและระบบขององค์การขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน มีความซื่อสัตย์ หรือใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารงานหรือไม่
๔. แนวคิดทางศาสนา มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น ศาสนาพุทธ ยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง และส่งผลกระทบต่อระบบทุนนิยม ซึ่งจะเป็นภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจให้กับคนที่ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว
๕. ความซื่อสัตย์ในการใช้อำนาจหน้าที่ (Intregity) ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีความฉ้อฉล ไม่ซื่อสัตย์ ขาดจริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) จนทำให้เกิดภาวะที่ไม่ไว้วางใจกัน
๖. ตัวบุคคลที่เขาไปดำรงตำแหน่งทางสถาบันทางการเมืองในระดับต่างๆ ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ขาวิสัยทัศน์ ซึ่งวิสัยทัศน์ของผู้นำมีส่วนสำคัญมาก เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ส่งเสริมให้มีการใช้ระบบ IT แต่ของประเทศไทย ผู้นำยังขาดวิสัยทัศน์ในเรื่องดังกล่าว
๗. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลกระทบทำให้บางโครงการล่าช้าออกไป และทำให้ระบบเศรษฐกิจเสียโอกาสได้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น หรือกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าบ้านหินกรูด ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งยังไม่มีข้อยุติว่าส่งผลกระทบต่อประการังหรือไม่ บางครั้งการมีส่วนร่วมอาจทำให้เกิดการชะลอตัว แต่การมีส่วนร่วมมากๆ ก็จะมีส่วนดีมากกว่า คือจะทำให้โครงการเกิดผลกระทบน้อย เพราะจะต้อง
พิจารณาอย่างรอบคอบ และเจ้าของโครงการก็จะต้องมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
๘. ความยืดหยุ่นหรือความแข็งแกร่ง (Rigidity) ของชนชั้นทางเศรษฐกิจและทางสังคมซึ่งคาร์ล มารกซ์ ได้กล่าวไว้เมื่อ ๑๐๐ กว่าปีที่แล้วว่า “ชนชั้นใดเขียนกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น” เมื่อชนชั้นนายทุนครองอำนาจ กลุ่มนายทุนก็ได้รับผลประโยชน์
นักเศรษฐศาสตร์การเงินร่วมสมัยได้กล่าวเสริมว่า ระบบทางเศรษฐศาสตร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อรับใช้ชนชั้นเช่นเดียวกับทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ เช่น ทฤษฎีโครงสร้างหลวมของ John Embree ดังนั้น ความยืดหยุ่นและความแข็งแกร่งของชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม จึงมีผลต่อระบบเศรษฐกิจเพราะมักจะบัญญัติกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของชนชั้นของตนเอง
๒.๕ มีแนวทางการบริหารภายใต้กระบวนทัศน์วิถีพุทธเท่านั้น ที่มีความเหมาะสมต่อสังคมไทยและสังคมตะวันออกอื่นๆ เหตุผลก็เพราะว่า กระบวนทัศน์วิถีพุทธ ควรเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ เพื่อนำและพามนุษยชาติพ้นจากหล่มความทุกข์แห่งประวัติศาสตร์ (กฤษ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๕๓ : ๑๙-๓๔) โดยสาระสำคัญของกระบวนทัศน์วิถีพุทธมี ๘ ประการ ดังนี้
๑. กระบวนทัศน์วิถีพุทธเป็นกระบวนทัศน์แห่งการแสวงหาความรู้และเหตุผลด้วยตนเอง
๒. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีวิธีคิดแบบองค์รวม ตามหลักอิทัปปัจจยตา หรือตามหลักปฏิจจสมุปบาท
๓. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีวิธีคิดและการปฏิบัติแบบกระบวนการและบูรณาการที่สามารถแก้ไขปัญหาร้ายแรงของโลกได้ ด้วยหลักอริยสัจจ์ ๔ และหลักเมตตาธรรม ไม่มีเงื่อนไข้ ไม่มีขอบเขต
๔. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีมิติอันสำคัญทางสังคม
๕. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีมิติที่สำคัญเกี่ยวกับมนุษย์
๖. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีมิติแห่งอหิงสาและมิติแห่งเสรีภาพทางด้านต่างๆ อย่างหลากหลาย
๗. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีมิติทางสิ่งแวดล้อม
๘. กระบวนทัศน์วิถีพุทธมีมิติที่สำคัญยิ่งทางด้านเศรษฐศาสตร์ (กฤษ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๕๒ : ๑๘-๒๐)


ข้อที่ ๓. เสนอแนวทางในเชิงสถาบันในการขับเคลื่อนขบวนการ จิตที่รู้ จิตที่ตื่น เพื่อพลิกผันโลก ด้วยจิตที่เบิกบาน โดยการวิเคราะห์เชิงสถาบันนิยม ดังต่อไปนี้
๓.๑ (บ๑) บทบัญญัติ (rules) ในรูปแบบต่างๆ คือ บูรณาการตัวแบบ NIC กับ NAC มาเป็นตัวแบบใหม่คือ NAIC คือประเทศอุตสาหกรรมการเกษตรกรรมใหม่ หรือประเทศเกษตรอุตสาหกรรมใหม่
ตัวอย่างคือ ทำให้ผลิตภัณฑ์ส่วนที่เหลือจากการบริโภคมาแปรรูป เช่น นำข้าวฟ่างมาทำเยื่อกระดาษ การนำแกลบมาทำแผ่นกันความชื้น นำรำไปทำน้ำมันรำไปสู่การบริโภคและทำ ลิปสติก ฯลฯ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มที่สูงมาก นอกจากนี้ยังมีในภาคกสิกรรม ประมง ปศุสัตว์ ป่าไม้ ฯลฯ
๑. ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมการเกษตร
๒. ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบทางธรรมชาติของไทย
๓. การพัฒนาเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหาร ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถเลี้ยงคนทั้งโลก
๔. ทำให้ผลิตภัณฑ์ผลปฐมภูมิมีมูลค่าสูงขึ้นมาก
๕. ปัจจุบันต้องปรับโครงสร้างการคิดหรือวิธีคิดกันใหม่ เพื่อยอมรับว่า ประเทศไทยจะเป็น NIC ที่ทิ้งภาคเกษตรกรรมไม่ได้ เราไม่ควรมองคนกลุ่มใหญ่ของประเทศเป็นเพียงกลุ่มคนที่ทำให้การผลิตสินค้ามีราคาต่ำ หรือมองด้านต้นทุนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองว่าเป็นกลุ่มคนที่สามารถสร้าง Demand ของสินค้าอุตสาหกรรมในประเทศได้
๖. ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบจากค่าจ้างแรงงานถูก ไม่ได้ทำ ให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถขยายตัวไปได้ในระยะยาว ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและต้องพัฒนากำลังซื้อของคนในประเทศ เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรม
๗. ประเทศไทยน่าจะเป็น NIC หรือ NAC ในลักษณะประเทศอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาการเกษตรที่มั่นคงแข็งแรงเป็นหลัก แนวทางอุตสาหกรรมการเกษตร น่าจะเป็นทางออกที่จะแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่สำคัญของอุตสาหกรรม เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานของภาคเกษตรกรรมจะมีผลช่วยให้
๗.๑ ดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรจะเกิดขึ้นภายใต้หลักการที่สร้างจาก และเพื่อคนทุกกลุ่ม
๗.๒ ทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งและมีอำนาจต่อรองที่แข็งแกร่งในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ เพราะอาหารจะเป็นอาวุธต่อรองในอนาคต
๗.๓ ทำให้มีผลกระทบเบื้องหลังหรือความเชื่อมโยงเบื้องหลัง ไปยังภาคเกษตรกรรมในความต้องการวัตถุดิบจากการกสิกรรม ประมง ปศุสัตว์ ป่าไม้
๗.๔ ชะลอไม่ให้เคลื่อนย้ายจากภาคเกษตรกรรม เพื่อเป็นอุปทานปัจจัยในการผลิตให้ภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นเพียงแรงงานราคาถูกในต่างประเทศ
๗.๕ ส่งเสริมการกระจายแหล่งที่ตั้งของอุตสาหกรรมในเขตชนบทใกล้แหล่งวัตถุดิบ
๗.๖ สร้างอำนาจซื้อให้คนส่วนใหญ่ในประเทศ
๗.๗ เป็นการส่งเสริม SMEs ในชนบท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้วยตนเอง
๗.๘ เป็นการทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
การบูรณาการตัวแบบที่ 1 และตัวแบบที่ 2 เข้าด้วยกัน กลายเป็นตัวแบบที่ 3
๑. การพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร
๒. การพัฒนาเมืองหรือชนบท ใช้วิธีการจัดตั้งแหล่งอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
๓. การกำหนดความจำเป็นพื้นฐานก็ต้องแบ่งกันระหว่างรัฐบาลในระดับชาติ
๔. ระดับสวัสดิการให้ทุกคนอยู่ได้อย่างมีคุณภาพและสามารถสร้างวัฒนธรรมเขียว
๕. การใช้ทุนเข้มข้นหรือคนเข้มข้นอยู่ที่การวินิจฉัยอย่างเหมาะสม
๖. การพึ่งพาตนเองเป็นหลัก
๗. การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๘. การวางแผน ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนเป้าหมายอย่างมีปฏิสัมพันธ์
๙. การพัฒนาการผลิตเป็นไปอย่างมีบูรณาการ มีการส่งเสริมสาขาเกษตรอุตสาหกรรม
๑๐. การบรรลุผลคือเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และวัฒนธรรมเขียว
๑๑. การพัฒนาชนบทใช้หลักมุ่งการผลิตสวัสดิการ (กฤษ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๔๔ )
๓.๒ (บ๒) บทบาทหน้าที่ของคนและองค์การ ภายใต้บทบัญญัตินั้นๆ หรือที่จะขับเคลื่อนบทบัญญัติดังกล่าว นั้นต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้
หลังจากที่ อาดัม มิท นำเสนอผลงานที่วางรากฐาน และจิตวิญญาณของระบบทุนนิยม ชื่อ The Wealth of the Nation ซึ่งพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ปี ค.ศ. ๑๗๗๖ ขั้นตอนต่อมา จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์เชิงแย้งองค์ความรู้ดังกล่าว แม้ว่าองค์ความรู้ทางด้านการบริหารผนวกกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ และควบคู่กันไปกับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมา เพื่อตอกย้ำยืนยัน และผลิตซ้ำวิถีการผลิตแบบทุนนิยม ได้ก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทางด้านวัตถุของคนอย่างมากมายมหาศาล แต่เมื่อพลิกเหรียญอีกด้านหนึ่งของระบบทุนนิยม มาพิจารณาโดยละเอียด พบว่าเกิดผลลัพธ์ที่เป็นหล่มความทุกข์แห่งประวัติศาสตร์อย่างน้อยหกล่ม คือ
๑) ความอยุติธรรมทางสังคม
๒) ปัญหาทางสังคม ความเจ็บป่วยทางสังคม และการขาดความสุข
๓) การคอร์รัปชั่น
๔) ความไร้ซึ่งเสถียรภาพ
๕) ความไร้ซึ่งความยั่งยืน และ
๖) ความไร้ซึ่งสันติสุขและสันติภาพ
จากภาวะการณ์แห่งมิคสัญญีดังกล่าว ท่านพุทธทาสภิกขุได้เสนอไว้ว่า ต้องใช้หลักอริยสัจ ๔ เป็นหลักการสำหรับพิจารณา และศึกษาหามรรควิธีในการแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ คือ
๑) ทุกข์ หรือวิกฤติการณ์ต่างๆ คือความไม่มีสันติภาพ
๒) สมุทัย สาเหตุแห่งความทุกข์ คือ เหตุแห่งวิกฤติการณ์ ต้นเหตุที่แท้จริงของวิกฤติการณ์ในโลกก็คือ ความไม่มีศีลธรรม จึงเป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว พอเห็นแก่ตัว ก็เป็นความเดือดร้อนแก่บุคคลนั้นและเดือดร้อนแก่บุคคลอื่นทันที
๓) นิโรธ ความดับทุกข์ คือ สันติภาพ ซึ่งถือว่าเป็นนิพพานสำหรับคนทั่วไปในโลก และ
๔) มรรค ทางให้ถึงสันติภาพ คือ ความถูกต้องทุกประการ รวมกันเข้าเป็นหนทางที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ อันประกอบด้วยสาระสำคัญที่จะได้นำเสนอ ต่อไป
เมื่อพิจารณาจะพบว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุนนิยมนั้น พบว่ามีสาเหตุสำคัญมาแต่ภายในจิตใจของมนุษย์นั่นเอง ทำให้มนุษย์ดำเนินบทบาทต่างๆ ในโลกมีสาเหตุ ๓ ประการ คือ
๑) ตัณหา หรือ กิเลส การแสวงหากำไรสูงสุด และการบริโภคนิยมถูกครอบงำโดย โลภะจิต โทสะจิต โมหะจิต
๒) มานะ ความต้องการอำนาจ
๓) ทิฎฐิ ความยึดมั่น ถือมั่น ในลัทธิความเชื่ออุดมการณ์ และศาสนา
หลักพุทธธรรมมีแนวทางปฏิบัติให้มนุษย์มองเข้ามาในตัวตน คือ จิตของตนเองก่อนจะมองออกไปนอกตัวตน เมื่อพิจารณามนุษย์ และสภาพแว้มล้อมรอบตัว เพื่อพิจารณาความสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม ภายใต้หลักมัชฌิมาปฏิปทา คือ การใช้หลักสัมมาอาชีวะ หมายถึง การมีพฤติกรรมทางการบริหารที่ถูกต้อง ด้วยความเป็นสายกลาง ความพอดีและความรู้จักประมาณ คือ จุดที่คุณภาพชีวิตกับความพึงพอใจมาบรรจบกันนอกเหนือจากนี้แล้ว หลักการที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งของการชี้นำแนวทาง และพฤติกรรมการบริหารแนวพุทธ เช่น หลักคุณธรรม ๑๐ ประการ สำหรับนักบริหารอันประกอบด้วย
๑) ทาน การเสืยสละแบ่งปัน
๒) ศีล การไม่เบียดเบียนกัน
๓) บริจาค การเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน
๔) ซื่อตรง เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
๕) อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ยึดติดในอำนาจจอมปลอม
๖) กำจัดบาป ภายในใจ
๗) ไม่โกรธ รู้จักให้อภัย
๘) ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้ ร่วมทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๙) อดทน อดกลั้น และข่มใจอยู่เสมอ
๑๐) มั่นคงในธรรม ไม่หวั่นไหวไปตามกระแสแห่งโลกธรรมที่มากระทบ
นอกจากนี้แล้ว เราสามารถนำเอาระบบไตรสิกขาและมรรคมีองค์แปด เป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรักการพัฒนามนุษย์ทั้งในองค์การและสังคม โดยประมวลสาระสำคัญได้คือ
๑) ศีล คือการไม่ทำความชั่วทั้งปวงอันประกอบด้วยมรรค ๓ คือ สัมมาวาจา (การพูดชอบ) สัมมากัมมันตะ (การกระทำชอบ) และสัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบหรือดำรงชีพชอบ)
๒) สมาธิ คือการบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อมอันประกอบด้วยมรรค ๓ ประการ คือ สัมมาวายาม (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ) และ
๓) ปัญญา คือ การทำจิตของตนให้ผ่องใส อันประกอบด้วยมรรค ๒ ประการ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) และสัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) (กฤษ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๕๔ )
เมื่อมนุษย์มีสัมมาทิฎฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง ด้วยปัญญาที่เกิดจากโยนิโสมนสิการแล้ว ก็จะสามารถขับเคลือนขบวนการทางสังคม ด้วยจิตที่รู้ จิตที่ตื่น เพื่อพลิกผันโลก ด้วยจิตที่เบิกบาน ดังคำกล่าวของ น.พ. บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ว่า”จิตที่รู้ตื่น จะพลิกผันโลก” ความคิดจิตสำนึกของคนเราเมื่อมนุษย์เราได้ใคร่ครวญอย่างสุขุม รอบคอบ จนเปลี่ยนแปลงทัศนะของตนที่มีต่อสิ่งอัน เป็นสัจธรรมแล้ว มนุษย์นั้นไซร้ก็กำลังจะพลิกผันโลกทั้งใบ" (กฤติ เพิ่มทันจิตต์, ๒๕๕๒ : ๑๖๗)

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS