RSS

ทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ

ทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ

สามารถแบ่งกลุ่มทฤษฎีของการศึกษาภาวะผู้นำออกเป็น 3 แนวทางที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย

1 ทฤษฎีคุณลักษณะของผู้นำ(2) ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำและ (3) ทฤษฎีเชิงสถานการณ์โดยมีแนวคิดว่าประสิทธิผลของภาวะผู้นำองค์การขึ้นอยู่กับคุณลักษณะเฉพาะของผู้นำและสถานการณ์ของแต่ละองค์การโดยมีรายละเอียดดังนี้ (พิทยา บวรวัฒนา, 2541, หน้า 69, 73; Robbins, 2005, pp. 333-334, 338; Steers, 1991, pp. 378-379) อยู่ในตัวซึ่งแตกต่างจากบุคคลอื่นทั่วไป เป็นลักษณะเด่นที่มีอยู่ในตัวของผู้นำที่มีประสิทธิผล ได้แก่คุณลักษณะทางกายภาพ (physical characteristics) เช่น ความสูงรูปร่าง คุณลักษณะทางบุคลิกภาพ (personal characteristics) เช่น มีความมั่นใจในตนเองความกระตือรือร้น คุณลักษณะทางทักษะและความสามารถ (skills and abilities) เช่นสติปัญญา ความรู้ลักษณะเด่นทางสังคม (social factors) เช่น เข้าสังคมเก่ง สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม (นิตย์ สัมมาพันธ์, 2546, หน้า 33-35; พิทยา บวรวัฒนา, 2541,หน้า 69; Robbins, 2005, pp. 333-334; Robbins & Coulter, 2002, p. 459; Steers, 1991,p. 378)

2. ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ(behavioral theories) ความสำเร็จของผู้นำมาจากพฤติกรรมการกระทำและถ้าสามารถกำหนดหาพฤติกรรมของผู้นำที่เหมาะสมได้ก็จะสามารถอบรมบุคลากรให้มีทักษะที่เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ Robbins & Coulter, 2002, p. 459) ดังนั้น กลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำจึงเน้นที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้นำที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน จากผลงานการศึกษารูปแบบพฤติกรรมของภาวะผู้นำที่มีผลต่อการปฏิบัติงานขององค์การ มีแนวคิดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

2.1 ทฤษฎีเส้นทางเป้าหมาย (path-goal theory) เป็นทฤษฎีเชิงสถานการณ์พัฒนาโดย House (as cited in Robbins, 2005, p. 345) โดยกล่าวว่า ผู้นำที่มีประสิทธิผลจะมีความสามารถในการชักจูงและการสร้างความพึงพอใจให้แก่พนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด และพฤติกรรมของภาวะผู้นำองค์การจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ 4 รูปแบบ คือ (1) ภาวะผู้นำแบบสั่งการ (directive leadership) (2) ภาวะผู้นำแบบให้การสนับสนุน (supportive leadership) (3) ภาวะผู้นำที่มุ่งที่ความสำเร็จ(achievement oriented leadership) และ (4) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (participative leadership) พิทยา บวรวัฒนา, 2541, หน้า 75; Robbins, 2005, p. 345; Steers, 1991, p. 389)

2.2 การศึกษาของมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ ได้ค้นพบว่า พฤติกรรมของผู้นำมี 2 แบบ คือ พฤติกรรมที่มุ่งบรรลุเป้าหมายการทำงาน และพฤติกรรมที่มุ่งความสัมพันธ์ที่ดีในงาน ผู้นำที่มีลักษณะทั้งสองแบบมากกว่าก็จะทำให้เกิดผลดีต่อองค์การมากกว่าเช่นกัน (พิทยา บวรวัฒนา, 2541, หน้า 69; Robbins, 2005, p. 335; Robbins & Coulter, 2002, p. 461; Steers, 1991, p. 379)

2.3 การศึกษาของมหาวิทยาลัยมิชิแกน โดยนักวิชาการของมหาวิทยาลัยได้ศึกษาพฤติกรรมการเป็นผู้นำใน 2 มิติคือ ผู้นำที่มุ่งคน (employee oriented) และผู้นำที่มุ่งงานหรือผลผลิต (production-oriented) พบว่าผู้นำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดควรเป็นผู้นำที่มุ่งคน จะให้ผลผลิตและความพึงพอใจในงานสูง (นิตย์ สัมมาพันธ์, 2546, หน้า 38; พิทยา บวรวัฒนา, 2541, หน้า 70; Robbins, 2005, p. 336; Robbins & Coulter, 2002, p. 461; Steers, 1991, p. 379)

2.4 ตารางตาข่ายการจัดการหรือตารางตาข่ายภาวะผู้นำ(managerial or leadership grid) พัฒนามาจาก Robert R. Blake และJane S. Mouton แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัส แบ่งแยกผู้นำออกเป็น ผู้นำที่มุ่งงานหรือการผลิต (concern for production) และผู้นำที่มุ่งคน (concern for people) โดยใช้ตาข่ายการจัดการในการอธิบายลักษณะของผู้นำจำแนกออกมาเป็น 7 กลุ่มใหญ่ๆ คือ (1) การบริหารสู่ความถดถอย (impoverished management) คือ ผู้นำที่สนใจในงานและคนต่ำ (2) การบริหารแบบเผด็จการ (authority management) คือ ผู้นำที่ให้ความสนใจในงานสูงไม่สนใจเรื่องคน (3) การบริหารแบบสโมสร (country club management) คือ ผู้นำที่ให้ความใจในคน แต่ให้ความสนใจงานต่ำ (4) การบริหารแบบเดินทางสายกลาง (middle-of-the-road management) คือ ผู้นำที่รักษาสมดุลระหว่างคนกับงาน ไม่เน้นการทำงานที่เป็นเลิศ พึงพอใจในการทำงานที่ดีพอใช้ (5) การบริหารแบบทีมงาน (team management) คือ ผู้นำที่เอาใจใส่ทั้งคนและงานอย่างเป็นเลิศ (6) การบริหารแบบพระเดชพระคุณ (paternalistic management) คือ ผู้นำที่ใช้ตัวตนเป็นบรรทัดฐาน ยึดถือประสบการณ์ของตนเป็นสำคัญ มุ่งหวังให้ทุกคนเคารพเชื่อฟัง และนับถือ และ (7) การบริหารแบบแสวงหาโอกาส (opportunistic management)คือ ผู้นำที่มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์โดยรวมขององค์กร สามารถปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลสูงเพื่อความสำเร็จส่วนตัวซึ่งการศึกษาลักษณะของผู้นำทั้ง 7 กลุ่มดังกล่าวพบว่า ผู้นำที่มีประสิทธิผลสูงสุดคือผู้นำการบริหารแบบทีมงาน (นิตย์ สัมมาพันธ์, 2546, หน้า 39; พิทยา บวรวัฒนา, 2541,หน้า 71-71; Robbins, 2005, p. 337; Robbins & Coulter, 2002, pp. 462-463)


บรรณานุกรม

วาสนา จาตุรัตน์. (2552). ผลการปฏิบัติงานโดยรวมของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตรัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำ: พลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

พิทยา บวรวัฒนา. (2541). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.

Robbins, S. P., & Coulter, M. (2002). Management (7th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Robbins, S. P. (2005). Organizational behavior (11th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Steers, R. M. (1991). Introduction to organizational behavior (4th ed.). New York: Harper Collins.

25 ตุลาคม 2554

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS