RSS

ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างสรรงานออกมาได้...

ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างสรรงานออกมาได้...

ผมเคยปล่อยให้ Key Man #1 ว่างงาน โดยให้ทำงานเพียง 2 วันต่อสัปดาห์ แล้วก็สอนเรื่องการสร้างสรรงาน ผลสรุปเห็นผลอย่างทันดาเลยว่า เค้าสามารถหางานทำได้จนตอนนี้ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง...

คิดว่าเจ้าของกระทู้คงอยากทราบว่า "จะสร้างสรรงานได้อย่างไร.." ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นไรครับ เพียงอยากเขียนให้อ่านดูครับ... และอยากเสนอมุมมองเหล่านี้เท่านั้นครับ..

1. เป็นเจ้าของกิจการ มองแผนก มองบริษัทที่คุณกำลังทำอยู่ เหมือนกับบริษัทฯของคุณเอง คุณจะใช้จ่ายเงินไปสักบาท มันคุ้มค่าหรือไม่.. ใช้เวลาในการทำงานได้มีประสิทธิภาพหรือยัง น้องๆทำงานคุ้มกับเงินเดือนหรือไม่ เป็นต้น เมื่อคิดได้ว่ามีจุดบกพร่อง ก็อุดจุดบกพร่องดังกล่าว และ หากคุณคิดได้อย่างนี้ คิดว่าก็มีงานเยอะจนไม่บ่นแล้วครับว่าไม่สามารถสร้างงานได้...

2. ทุกระบบมีจุดอ่อน เป็นเรื่องจริงที่ทุกระบบมีจุดอ่อน ระบบธนาคารที่คิดว่าไม่สามารถโกงได้ ก็ยังมีแนวทางโกงได้เลย.. อันนี้ทึ่งเคยอ่านในกระทู้แห่งนี้ครับ.. ดังนั้น ลองมองและศึกษาระบบของคุณครับว่า มีจุดใดที่เป็นจุดอ่อน และ จุดอ่อนใดจะส่งผลในทางไม่ดีมากที่สุด ให้ปิดจุดอ่อนเหล่านั้น ทำจากจุดใหญ่ ไล่ไปจนจุดเล็ก.. แค่นี้งานก็ทำจนไม่มีวันหมดแล้วครับ.. เพราะระบบมีชิวิตมันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และก็มีจุดอ่อนโผล่ให้เห็นเรื่อยๆเช่นกัน... ไม่มีระบบไหนสมบูรณ์ 100%

3. คุณภาพ แปลผกผันกับ ปริมาณ ถ้างานคุณทำผลผลิตออกมา คุณจะพบความจริงกว่า ในเวลาที่จำกัด เมื่อคุณต้องการจำนวนสินค้าออกมาจำนวนมาก คุณจะพบว่าคุณภาพของสินค้าจะลดลง แต่ถ้ามีเวลามากสินค้าก็จะมีคุณภาพที่ได้ระดับเช่นกัน เพียงแค่การทำให้ ปริมาณที่ออกมามาก กับ คุณภาพที่ดี ทำอย่างไรให้ถึงจุดเหล่านั้น คุณก็จะพบว่า มีสิ่งที่ต้องทำอีกหลายอย่างเช่น คน เครื่อง เป็นต้น ต้องปรับปรุง แต่จะทำแต่ละจุดก็เป็นเรื่องใหญ่ๆทั้งนั้น ต้องปรับส่วนต่างๆ ต้องยึดน๊อตแต่ละตัวที่หลวม ให้มันแน่น ปรับปรุงคน เครื่องมือก็เริ่มถดถอย ปรับปรุงเครื่องมือ คนก็เริ่มถดถอย.. เป็นวัฐจักร แล้วอย่างนี้ไม่มีงานหรือ... ทำให้จำนวนสินค้าที่ผลิดได้มาก และ คุณภาพในระดับที่ดี และได้มาตรฐาน ในเวลาที่เร็วที่สุด

4. ปรับปรุงระบบอยู่เสมอ เมื่อระบบอยุ่ในระดับที่สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่ หัวหน้างานมักจะปล่อยให้ระบบดำเนินไปด้วยตัวของมันเอง ระบบที่อยู่นานเกิน 2 ปี เป็นระบบที่ต้องปรับปรุง เพราะเริ่มล้าหล้ง และ เทคโนโลยี สามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนการทำงานให้ดีขึ้นได้ แค่มองมุมนี้คุณจะเห็นว่า รายงานผู้บริหารที่ทำซ้ำๆมานาน ผู้บริหารจะไม่อ่านแล้วปล้อยผ่านครับ ต้องปรับปรุงบ่อยๆ เพิ่มช้อมูลเข้าไปบ่อยๆ ครับ

5. พนักงานทุกส่วนมีปัญหา พนักงานทุกส่วนมีปัญหาทั้งนั้น ไม่คนโน้นก็คนนี้ การสร้างระบบให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน มีความสุขในที่ทำงาน ลดความขัดแย้งระหว่างพนักงาน ให้พนักงานทุกคนมีแนวความคิด และ อุดมการณ์ในทางเดียวกับบริษัทฯ แค่นี้ผมว่าก็งานเยอะแล้วนะครับ ลองมองดูคนทำงานข้างๆคุณสิ ว่าเค้ามีเรื่องหรือต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง.. ดู 10 คน ถ้าไม่มีสักคนแสดงว่าแปลกมากๆ...

6. ทำให้ระบบคนเข้ากับเครื่องมือสมัยใหม่ บางแห่งคนกลัวเครื่อง บางที่เค้าสั่งให้ทำอย่างไรกับเครื่อง ก็ทำได้แค่นั้น ไม่สามารถทำได้มากกว่า หรือ ไม่มีการพัฒนาต่างๆได้.. เป็นกับคนที่กำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนแปลง เด็กใหม่ๆ คงไม่เกิดมากนัก แต่คนเก่ามันมีปัญหาเรื่องนี้ ช่วยให้ทุกคนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำให้ทุกคนสร้างสรรงาน กระตุ้นความเป็นอัจฉริยะของทุกคนขึ้นมา ให้นำหน้าความสามารถของเครื่องจักร แค่นี้งานก็เพรียบครับ.. (มันยากเวลาทำนะ...อิอิ)

7. ปรับปรุงสถานที่เพื่อเหมาะกับงาน มองสถานที่ทำงานดุครับว่า มีจุดใดปรับเปลี่ยนได้บ้าง ผมมักเอางานนี้เป็นงานอดิเรก และ เป็นงานพักผ่อนหัวสมอง แต่ได้ผลกับเพื่อนๆ น้องๆ ที่ทำงานครับ มีอะไรปรับปรุงให้เข้ากับการทำงานบ่อยๆ และ ไม่จำเจด้วย..

8. เครื่องมือเครื่องใช้.. อุปกรณ์เครื่องใช้ มันมีอายุ และ เงื่อนไขการใช้ ต้องซ่อมต้องบำรุง มองดูบ้างหรือเปล่าครับ บางครั้งพนักงานทั่วไปไม่ใส่ใจเรื่องเหล่านี้ จนทำให้เกิดปัญหาภายหลังนะครับ.. งานอดิเรกของผมอีกงานครับ..

9. ต่อยอดความคิด งานที่เจ้านายสั่ง หรือ มอบหมายให้ มักเป็นงานที่อยู่ในระดับนึง ตัวผมเองไม่เคยทำตาม 100% ส่วนใหญ่ทำมากกว่า และ คิดถึงระบบงาน และ อื่นๆที่สอดคล้องอยู่เสมอ การต่อยอดความคิด ทำให้เราสามารถสร้างสรรงานต่างๆได้มากมายกว่าเดิม มีคนเคยใช้คำว่า "Create or die" แต่ถ้าสร้างไม่ได้ "Modify or die" ดีไม๊ ปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องทำเลยครับ (ภาษาอังกฤษไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่านะ...)

10. สร้างสิ่งใหม่เพื่ออนาคต มองดูระบบงาน และ ความต้องการในอนาคต รวมถึงสินค้าในอนาคตด้วยครับ เมื่อรู้ว่าสินค้า หรือการบริการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องการในอนาคต ก็จัดหา เรียนรู้ และ สร้างให้เกิดขึ้นในปัจจุบันครับ อย่างน้อง เป็นการปูแนวทางก่อน อนาคตมีได้หลายแนวทาง แค่นี้ก็สามารถหาได้หลายอย่างมาทำแล้วครับ...

11. มองต่างมุมกับเจ้านาย Key Man #1 เคยใช้วิธีนี้กับความคิดผม สรุปว่าใช้ได้ก็เลยอยากเสนอให้ลองทำดูแต่ผมไม่เคยใช้ก็เลยไม่สามารถอธิบายได้ แต่ทุกครั้งที่ประชุม หรือ ให้ออกความคิดเห็น จะได้ความเห็นที่แตกต่างออกมา ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ยังดีกว่าไม่มีเลย.. เจ้านายเลยยกให้เป็นมือซ้ายไปแล้ว.. แต่อย่าตกหลุมตัวเองนะคัรบ พยายามคิดให้แย้ง แต่กลับจนในความคิดก็ต้องย้อนกัลบมาสนับสนุนก็มีครับ.. คิดให้ได้ก่อน แล้ว ค่อยพูดนะครับ...

เอาแค่นี้ก่อน เพราะ ระบบงานแต่ละที่ไม่เหมือนกัน และ ทุกๆระบบงาน คุณสามารถหางานทำได้ถ้าคุณมีเวลาพอ และคิดกับมัน.. ลองเอาความคิดเห็นนี้ไปลองใช้ดูครับ...
-------
คนที่มีความสุข

จากเมล์ที่ได้รับ


คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ร่ำรวย

คนที่มีความสุขที่สุดในโลกไม่ใช่คนที่ประสบความสำเร็จ

แต่คนที่มีความสุขที่สุดในโลกคือ คนที่มีความสบายใจเท่านั้นเอง



ความหมายของความสบายใจ คือ

1. เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น เชื่อว่าคุณมีดี คุณน่าคบหา และคุณทำได้

2. รู้จักตัวเอง ยอมรับในข้อบกพร่องของตัวเอง และพร้อมจะปรับปรุงเสมอ

3. ไม่ดื้อดึง ถ้าวันวานคุณเคยทำผิดพลาด คุณก็ยินยอมเปลี่ยนแปลงและรับฟังคนอื่น

4. เห็นค่าของตัวเอง คุณไม่คิดว่าตัวเองช่างไร้ค่า คุณจึงมีความสุขในใจเสมอ

5. วิ่งหนีความทุกข์ เมื่อรู้ตัวว่าตกลงไปในความทุกข์ คุณก็รีบหาทางหลุดพ้น ไม่จมอยู่กับมัน

6. กล้าหาญเสมอ คุณกล้าเปลี่ยนแปลงและกล้ารับมือกับสิ่งแปลกใหม่หรือปัญหาต่างๆ

7. มีความฝันใฝ่ เมื่อชีวิตมีจุดหมาย คุณก็จะเดินไปบนถนนชีวิตอย่างมีความหวัง ไม่เลื่อนลอย

8. มีน้ำใจอาทร คุณพบความสุขในใจเสมอถ้าเป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน

9. นับถือตัวเอง ไม่ดูถูกตัวเองด้วยการลดคุณค่าและทำในสิ่งที่เสื่อมเสียต่อตัวเอง

10. เติมสีสัน สร้างรอยยิ้มให้ชีวิตของคุณและคนรอบข้าง รู้จักหยอกล้อคนอื่น ๆ และตัวเองด้วย


ความสุขนั้นคือพอใจกับวิถีชีวิตของตัวเอง
และวางฝันของตัวเองตามกำลังที่ตนทำได้

การได้รับวัตถุและความสำเร็จในหน้าที่การงาน
ทำให้คุณพึงพอใจและยกระดับฐานะของคุณเท่านั้น
เป็นการสร้างเสริมความสุขเพียงภายนอก
และมันมิได้อยู่กับคุณอย่างมั่นคงถาวรตลอดไป

คนเรานั้นย่อมมีความต้องการเพิ่มขึ้นเสมอไม่มีวันหยุดนิ่ง
ความสุขที่แท้จริงเกิดจากข้างในจิตใจของคนเรา และถ้าจิตใจของคุณไม่ว่าง
เต็มไปด้วยอารมณ์อันตรายต่าง ๆ ความสุขก็จะเกิดขึ้นได้ยากยิ่ง
เพราะความสุขนั้นมักเกิดขึ้นท่ามกลางความสงบเสมอ

ชีวิตของคนเรานั้นไม่ยืนยาวนัก
คุณสามารถหาความสุขให้ตัวเองได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้
ไม่ต้องมุ่งหวังยามแก่เฒ่า ค่อยอยู่อย่างสงบสุขอย่างที่หลายคนเชื่อกัน
เชื่อเถอะ เราจะสามารถมีความสุขที่สุดในโลกได้ ในตอนนี้

ถ้าเราเริ่มจากตัวเราเอง !!!
------
การใช้ KPI เพื่อให้องค์กรล่มสลาย

ผมเชื่อว่า ในหลายองค์กร ได้มีการนำ KPI มา ใช้ในการวัดประเมินผลการปฏิบัติงาน แต่เพราะว่า คนเป็นผู้ใช้ สิ่งดีๆที่มีคนคิดค้น คิดขึ้นมาใช้ เพื่อทำให้องค์กรของเราดีขึ้น กลับกลายมาเป็นเครื่องมือ ที่นำมาซึ่งการสร้างความแตกแยกให้กับทีมงานได้ แม้ว่าเราจะมีการนำ Balance Scorecard มาใช้เพื่อชี้นำเราให้รู้ว่า สิ่งใด งานใด สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร แต่คนเราก็ยังสามารถนำเครื่องมือต่างๆ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม ……

ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น ต้นเหตุทั้งหลายโดยส่วนใหญ่มาจาก การแบ่งปันผลประโยชน์ ที่ไม่เป็นธรรม

ก่อนที่จะเข้าสู่หลักการทำให้องค์กรล่มสลาย พวกเราต้องเข้าใจก่อนว่า กว่าจะกำหนดตัวชี้วัดนั้น ต้องเข้าใจว่า ….

- หากจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ จำเป็นต้องเกิดจาก Core competency หลายๆ Core Competency
- แต่ 1 Core competency จะเกิดจากงานหลายงาน ซึ่งมักจะกระจายงานเหล่านั้นออกไปอยู่กับหลายฝ่าย
- และงานแต่ละงานนั้น อาจจะเกิดจาก Input หรือ Process หลายๆ Process ในฝ่ายเดียวกัน
- และ Input หรือ Process เหล่านั้น ก็มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายไม่เท่ากัน

หลักการทำให้องค์กรลมสลาย มีหลักการดังนี้ คือ

จากความเข้าใจข้างต้น ก็มีคนนำสิ่งที่เข้าใจนี้มาใช้เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเอง ดังนี้ คือ

1. กำหนด Core competency ไม่ครบถ้วน เพื่อที่จะได้ไม่ต้องถูกวัดประเมินผลงานหลายข้อ ซึ่งหากจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้ Big Boss จะต้องเข้ามาฟัง และตรวจสอบเอง ก็จะทำให้เหล่าขุนนางไม่กล้าแกล้งลืม core competency เหล่านั้น

2. ใช้ประโยชน์จากการเสียผลประโยชน์ของฝ่ายอื่น ทำให้เกิดการโยนงานให้ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์มากกว่าทำ เนื่องจากว่า Core competency หนึ่งๆ อาจเกิดจากความร่วมมือของหลายฝ่าย ดังนั้นหากฝ่ายหนึ่งได้รับผลกระทบจากการไม่ทำงานของอีกฝ่ายหนึ่งมาก มีแนวโน้มสูง ที่ฝ่ายที่เสียผลประโยชน์น้อยจะกินแรงฝ่ายที่เสียผลประโยชน์มากกว่า

เช่น ฝ่ายขาย (วัดผลงานจากยอดขาย) กับ ฝ่ายจัดซื้อ (วัดผลงานจากความหลากหลายของสินค้า) ซึ่ง ฝ่ายขายที่ดีจะต้องทำการสำรวจคู่แข่งว่ามีสินค้าอะไรที่เราไม่มี และทำการจดมาบอกฝ่ายจัดซื้อ ให้หามาให้หน่อย เพื่อที่จะได้มีสินค้าไม่แพ้คู่แข่ง ในขณะเดียวกัน ฝ่ายจัดซื้อ แทนที่จะสำรวจสินค้าในตลาด เพื่อที่จะหาสินค้ามาทำให้ร้านของเรา ได้เปรียบคู่แข่ง แต่พวกเขาอาจทำแบบไม่จริงจัง เผอิญฝ่ายขายขยัน เพราะตัวเองรายได้ส่วนหนึ่งมาจากการกิน Commission จึงทำการสำรวจสินค้ามาให้ ก็เลยทำให้ฝ่ายจัดซื้อสบาย ไม่ต้องทำอะไรก็บรรลุเป้าหมายได้ ซึ่งหากจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้นั้น ควรมีการตั้งเป้าหมายร่วมกันทั้งสองฝ่าย เช่น ให้กำหนดเป้ายอดขาย ให้ฝ่ายจัดซื้อด้วย แต่กำหนดให้ได้รับอิทธิพลจากเป้านี้สัก 50% แต่กำหนดให้ได้รับอิทธิพลจากเป้า จำนวนสินค้าเป็น 100% ในขณะเดียวกัน ฝ่ายขาย ก็ตรงข้ามกัน


3. กำหนดน้ำหนัก ของข้อที่ทำได้ยาก ให้มีน้ำหนัก น้อยๆ เนื่องจากในแต่ละฝ่าย หรือ แต่ละตำแหน่ง ล้วนมีตัวชี้วัดผลงานหลายตัว ดังนั้น การซิกแซก เพื่อให้ตัวเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด คือ การกำหนดน้ำหนักของข้อยากให้มีน้ำหนักน้อยที่สุด ก็จะทำให้ Performance โดยรวมเราดีขึ้นได้ ซึ่งหากจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้นั้น ผู้เป็น Big boss จะต้องทำการกำหนดน้ำหนักความสำคัญของแต่ละ Core competency ไว้ตั้งแต่ต้น ไม่เพียงแต่จะถ่ายทอดเป้าหมายของงานเท่านั้น แต่ยังต้องถ่ายทอดระดับความสำคัญของงานด้วย

4. เลือกตัวชี้วัดที่ทำได้ง่าย โดยไม่สนใจผลลัพธ์ เนื่องจากงานแต่ละงานนั้น เกิดจาก Input หรือ Process หลายตัว ดังนั้นการตั้ง KPI มักจะใช้ KPI ประเภท Leading Indicator ดังนั้น จุดนี้เอง ที่ทำให้มีการซิกแซก เลือก KPI ที่ทำได้ง่าย เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ถูกตั้งเป้า เรื่องความหลากหลายของสินค้า ฝ่ายจัดซื้อเลือก KPI คือ จำนวนสินค้า ดังนั้น ฝ่ายจัดซื้อจึงถล่มสินค้าเข้ามาในร้านอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่สนใจว่าสินค้าเหล่านั้นขายได้หรือขายไม่ได้ มีพื้นที่วางพอหรือไม่ ตรงกลุ่มลูกค้าหรือไม่ แต่ฝ่ายจัดซื้อได้รับการประเมินผล ดีเยี่ยมไปแล้ว ที่เหลือ มันหน้าที่ฝ่ายขาย ที่จะต้องขายสินค้าเหล่านั้นให้ได้ ซึ่งหากจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้นั้น หากเกี่ยวกับฝ่ายอื่นให้ตั้งเป้าหมายร่วมระหว่างฝ่าย แต่หากเป็นงานฝ่ายเดียวกัน ให้ผูกผลงานกับเป้าหมายฝ่าย อย่างละ 50% (เป้าหมายฝ่าย = Output น่ะเอง หากเข้าใจว่าเป็น Output ก็จะสามารถ Apply หลักนี้สู่ระดับหน่วยย่อยลงไปได้) หรือ การกำหนด ตัวชี้วัดประเภท Quality เพิ่มเข้ามาประกบด้วยก็ได้ แต่ให้ระวังเรื่องน้ำหนักของแต่ละข้อด้วย

5. มั่วตัวเลข หลังจากที่พนักงานไม่สามารถเลี่ยงบาลีได้แล้ว พนักงานจะเริ่มมกเม็ด มั่วตัวเลข เพื่อให้ผลงานตัวเองดี ซึ่งจุดที่สามารถมั่วตัวเลขได้นั้น มักจะเป็นพวกที่วัดเป็นเชิงปริมาณได้ยาก หรือ พวกที่ตรวจสอบตัวเลขได้ยาก เพราะปริมาณมันเยอะ มาก ซึ่งไม่คุ้มค่าที่จะมาสุ่มตรวจสอบ ซึ่งหากจะป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ได้นั้น เราควรวัดในสิ่งที่อยู่ในฐานข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้ให้ฝ่าย IT เป็นคนกลางในการให้ข้อมูลผลงานของตัวชี้วัดเหล่านั้น ซึ่งข้อมูลจะน่าเชื่อถือฯ้hได้มากขึ้น และหากไม่สามารถทำได้ ต้องมีทีม Audit ตรวจสอบทุกจุด ทุกฝ่าย โดยระยะห่างของเวลาไม่เท่ากัน งานสำคัญก็ Audit บ่อยๆ เป็นต้น

จากทั้งหมดนี้ คือ ตัวอย่างของการซิกแซกเรื่องการประเมินผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังไม่รวมผลของการ ฮั๊ว การร่วมมือกันระหว่างพนักงานเพื่อทุจริตข้อมูล ฯลฯ ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าเกี่ยวกับผลประโยชน์แล้ว มนุษย์นี่ ซับซ้อนจริง เห็นแล้วเหนื่อยใจ

(จากเมล์ที่ได้รับ)
------
รอยตำหนิ... แค่ 2 ที จะมีผลอะไร...?

ผมว่าเพื่อนๆเรียนคณิตศาสตร์กันมา ผมจะขอเอาคณิตศาสตร์ของเด็กประถม มาคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคน ว่า มันค่อนข้างใกล้เคียงกันมากๆ...

สมมุติว่า ธุรกิจสักธุรกิจ กำลังเดินไปได้อย่างสวยงาม แล้วจู่ๆ เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ ธุรกิจนั้น มีความเสี่อมเสีย สัก 2 เหตุการณ์ (เหมือนชาเขียวเลยงะ..) มันเกิดอะไรขึ้นกับความรู้สึกของคน... แน่นอน มันย่อมทำให้ความเชื่อถือในธุรกิจนั้น เกิดการนับใหม่ในใจ โดยปกติคนเราจะไม่นับความดีที่ทำมามากมายหรอก แต่หากเริ่มเกิดข้อบกพร่อง ก็จะนับแต่ความบกพร่องเริ่มขึ้นไป...

การบกพร่องครั้งแรก เกิดขึ้น ทำให้คนเราเกิดความระแวงสงสัย ความรู้สึกดีๆที่เคยมี กลับหายไปหมด... เริ่มมีการคุยในทิศทางที่ไม่ดีเกิดขึ้น... นั่นหมายถึง ต้องเริ่มมีการแก้เกมส์ทางธุรกิจเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดอีก...

แต่หากเกิดความบกพร่องซ้ำสอง แน่นอน ในใจของคนส่วนใหญ่ จะมองว่า มันมีเหตุที่ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น แล้ว ความรู้สึกของคน ก็จะเปลี่ยนไปเป็นลบในทันที... แต่ดีที่ความรู้สึกทางลบของเรา ส่วนใหญ่จะไม่แสดงให้เห็น มันยังคงตราตรึงว่า เกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติถึง 2 ครั้งแล้วนะ...

ด้าน PR และ การตลาด ก็ต้องเริ่มช่วยกันแล้วหละว่า จะกอบกู้สถานการณ์อย่างไรดี ไม่ว่าทำดีอย่างไร ก็มีคนมาตำหนิ ไม่ว่าใช้การตลาดอย่างไรก็จะมีคนบางกลุ่มบอกว่าไม่ดี และยังระลึกได้อยู่เสมอ...

ถ้าคุณนับวันของความผิดพลาด เพื่อให้คนโดยทั่วไปลืม กับ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก 2 วัน นั้น คุณต้องใช้กี่วัน มันถึงเต็ม 100% ความหมายของผมคือ ความผิดพลาด 2 วันที่เกิดขึ้น พอวันที่ 3 ความผิดพลาดของธุรกิจ ก็อาจจะอยู่ที่ 66.7% พอวันที่ 4 ความผิดพลาดของธุรกิจ 50.0% แล้วคุณว่า จะต้องใช้กี่วัน เพื่อให้ธุรกิจของคุณ ผิดพลาด 0.0%

คุณจะไม่อยากเชื่อเลยนะครับว่า มันต้องใช้เวลามากกว่า 4000 วัน คุณถึงจะสามารถทำให้ความรู้สึกที่ผิดพลาดไป 2 วันนั้น กลายเป็น 0.0% แต่ถ้านับถึงตัวเลขที่ไม่มีทศนิยม คุณก็ต้องใช้อย่างน้อยก็ต้องมากกว่า 400 วัน มันขึ้นอยู่กับว่า เรื่องปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มันละเอียดอ่อนมากน้อยเพียงใด ยิ่งละเอียดอ่อนมาก ก็ต้องใช้เวลามากขึ้นเป็น สิบเท่า...

แน่นอน ปัญหาของธุรกิจ ก็ต้องแก้ไขกันไป รอยตำหนิ ที่พยายามลบ ก็ต้องใช้เวลา และ สร้างคุณความดีกันต่อไป... แต่ถ้าใครคิดว่า คนไทยลืมง่าย ก็ขอให้คิดเอาไว้ว่า ดูภายนอกดูเหมือนว่า จะลืมง่ายนะครับ แต่ความเป็นจริง ก็ยังมีความเคลือบแคลงที่หลงเหลืออยู่...

ในสภาวะการณ์ของลูกน้องที่ต่อว่าผู้บริหาร หรือ ต่อว่าบริษัทฯ ตนเองก็เช่นกัน มันก็เกิดรอยตำหนิในใจของเจ้านาย หรือ เจ้าของบริษัทฯ ขึ้น ซึ่งรอยตำหนินี้ ถ้าละเอียดอ่อนหน่อย ก็จะใช้เวลานาน ถ้าไม่ละเอียดอ่อน ก็ใช้เวลาอันสั้น

ผมว่าเพื่อนๆไม่เชื่อหรอกว่าจะใช้เวลามากกว่า 400 หรือ 4000 ในการลดทอนแค่ 2 ให้เป็น 0% เป็นผมผมก็ไม่อยากเชื่อ แต่นี่เป็นเรื่องจริงของตัวเลข ของความละเอียดอ่อนที่เกิดขึ้นครับ...

2/400*100 = 0.5%
2/4000*100 = 0.05%


ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็เพียงแต่อยากให้เพื่อนๆ มองให้เห็นถึงการสร้างภาพลักษณ์ และ การสูญเสียไปของภาพลักษณ์ ว่ามันใช้เวลาในการสูญเสีย และ สร้างให้กลับมาดังเดิมนั้น ไม่คุ้มกัน ดังนั้น จึงไม่ควรแสดงจุดเสีย หรือ ภาพลักษณ์ที่ผิดพลาดออกมา ทั้ง ตั้งใจ หรือ ไม่ตั้งใจ ก็ตาม... อย่างสร้างรอยตำหนิแม้นแต่น้อยเลยจะดีเสียกว่า ภาพลักษณ์ที่สร้างมาจะได้ไม่มีรอยด่างพร้อยครับ...
-----
เปอร์เซ็นต์ (%)

จากการสำรวจพบว่า มีคนมากกว่า 70% ชอบใช้สินค้า A

การใช้งาน เปอร์เซ็นต์ ในการให้ข้อมูล หรือ อ้างอิงนั้น เป็นสิ่งที่นักการตลาด หรือ นักประชาสัมพันธ์ ชอบใช้ เพราะ สร้างความรู้สึกน่าเชื่อถือ กับข้อมูลที่ให้เสมอๆ อันเนื่องจาก การทำเปอร์เซ็นต์ เป็นการเปรียบเทียบเหมือนสัดส่วน ซึ่งความรุ้สึกของคนเรา มักจะเปรียบเทียบกับ 100 หรือ จำนวนคนทั้งหมด อย่างเช่น หากคนที่เขาไปสำรวจเป็นจำนวนสัก 100 คน แสดงว่า มากกว่า 70 คนที่ชอบสินค้าของคุณ ไม่ว่าใครก็ตามมักจะคิดอย่างนี้.... เพราะ คำว่า เปอร์เซ็นต์ มันมาจากการเทียบอัตราส่วน โดยฐานอยู่ที่ 100 มันฝังเข้าไปในความรู้สึกของคนทั่วไปอยู่แล้ว จึงทำให้เมื่อกล่าวถึง เปอร์เซ็นต์ เราจึงนึกถึงอัตราส่วนที่เทียบกับของทั้งหมด หรือ 100 ....

แต่ถ้า...

ตัวเลขนี้เกิดจากการสัมภาษณ์คน 10 คน มีคนตอบ 7-8 คนที่ชอบ นั่นหมายถึง ตัวเลขที่ให้ข้างบนเป็นจริงเช่นกัน แต่ตัวอย่างที่ตอบสัมภาษณ์นั้น มันเพียงพอหรือไม่ หรือ มีการเลือกคนที่คิดว่าชอบใช้สินค้าของคุณ....

และ ยิ่งไปกว่านั้น หากตัวเลขนี้ เกิดจากการสอบถามคน 4 คน และ 3 คนบอกว่า ชอบสินค้าคุณ นั่นหมายถึง 75% ที่ชอบสินค้าคุณ มันก็เป็นการสื่อที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้บอกเลยว่า คนส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนี้หรือไม่

ดังนั้น เมื่อรู้ตัวเลข ก็ควรจะรู้แหล่งที่มา จำนวนที่เปรียบเทียบ เพื่อหาว่า ความแม่นยำถูกต้องมากน้อยเพียงใด ทางสถิติจริงๆ จึงต้องกำหนด จำนวนตัวอย่างเพื่อให้ภาพที่ได้รับมองได้เห็นค่อนข้างชัดเจน

คุณต้องเข้าใจว่า ธุรกิจ ไม่ได้หลอกลวง แต่เพียงบอกไม่หมด ดังนั้น ตัวเลขที่คุณเห็นเป็นเปอร์เซ็นต์ในปัจจุบัน มีกี่ตัวเลขที่บอกว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมากจากการสอบถามกี่คน ส่วนใหญ่อ้างอิง และ ยกขึ้นมาลอยๆทั้งนั้น...

ถ้าคุณทำการตลาดหรือประชาสัมพันธ์ ก็คงถนัดในการใช้อยู่แล้ว แต่คนที่ใช้ข้อมูลควรศึกษาและเปรียบเทียบให้ดีก่อนเชื่อในสิ่งที่เขาบอก... เขาพูดจริง และ มีข้อมูลที่เชื่อถือได้มากน้อยเท่าใด ก็เท่านั้น...



ข้อดีของ เปอร์เซ็นต์ หากอยู่ในฐานเดียวกัน หรือ กลุ่มเดียวกัน คือ การแบ่งให้เห็นสัดส่วนทั้งหมด มันมีสัดส่วนแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงเป็นกราฟ วงกลม...

อย่างเช่น :- ค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้า A จำนวน 1 หน่วย ประกอบด้วย จะเป็นค่าวัตถุดิบ 20% ค่าสึกหรอของเครื่องจักร 10% ค่าจ้างแรงงาน 40% และ ค่าดำเนินการ 30%

จะเห็นว่า เปรียบเทียบในหน่วยเดียวกัน คือ จำนวนเงิน ที่ใช้จ่ายไปในการผลิตสินค้า และ ตัวเลขจะบ่งบอกถึงอัตราส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้น ซึ่งเมื่อรวบรวมตัวเลขแล้ว จะครบ 100% พอดี



เปอร์เซ้นต์ บ่งบอกปริมาณที่เป็นอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น หรือ ลดลงได้ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ สินค้าต่างชนิด ต่างกลุ่ม หรือแม้นกระทั่ง สินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีสิ่งที่ต่างกันก็ได้

อย่างเช่น :- สินค้า A ขายได้กำไร 50% ส่วนสินค้า B ขายได้กำไร 100%

จะพบว่า ถ้าขายสินค้า A และ B ได้ ในจำนวนเงินเท่ากัน จะพบว่า เราจะได้กำไรจากสินค้า B มากกว่า A แต่ในความเป็นจริง สินค้าที่กำไรมากๆ จะขายได้ยากกว่า สินค้าที่กำไรต่ำ พูดอีกอย่างคือ สินค้าที่ขายได้ปริมาณมากๆ มักจะได้กำไร น้อยกว่า สินค้าที่ขายได้ปริมาณน้อยๆ ในเวลาเท่ากัน

ดังนั้น การใช้ตัวเลขเพียงตัวเดียว ไม่สามารถบอกอะไรได้มากนัก กับการใช้งานจริงๆ ยังต้องอาศัยตัวเลขอื่นๆมาประกอบอีกมากเพื่อให้เราเข้าใจความเป็นไปอย่างแท้จริง ตามจริง และ มีเหตุมีผลมากขึ้น...
-------

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS