RSS

กำหนด Mission พันธกิจ

กำหนด Mission พันธกิจ

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)

เวลาวิเคราะห์ระบบงานให้กับองค์กรต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ทำก่อนก็คือ วิสัยทัศน์ (Vision) แต่สิ่งที่ทำให้คนในองค์กรต่างๆสับสนส่วนใหญ่ก็คือ พันธกิจ หรือ Mission นั่นเอง แค่ภาษาอังกฤษก็ทำให้สับสนแล้ว มาเจอภาษาไทยที่หรูหรา บางคนก็สับสนไปเลยก็มี

Mission ไม่ได้มากจาก Miss ที่แปลว่าผิดพลาด หรือ ผู้หญิงโสด แต่มันเป็นคำเฉพาะ แปลว่า หน้าที่การงาน คณะทูต หรือ การเผยแผ่ศาสนา แต่แปลเป็นไทยว่า พันธกิจ

พันธกิจ มาจาก พันธะ หรือ ความผูกพัน กับคำว่า กิจ แปลว่า หน้าที่การงาน รวมแล้วก็น่าจะหมายถึง งานที่มีความผูกพันต่อเนื่องกับวิสัยทัศน์ ในเชิงการบริหารจัดการมากกว่า โดยทั่วไปแล้ว พันธกิจ จะบอกถึงสิ่งที่องค์กรกำลังทำอยู่ในปัจจุบันมากกว่า ช่วยทำให้เรารู้ว่าเราคือใคร (Who we are?) และกำลังทำอะไร (What we do?)

บางคนก็เข้าใจว่า พันธกิจ หรือหน้าที่ของเขา คือ ทำกำไร ซึ่งก็จริงอย่างที่เขาพูด ทั้งนี้ สิ่งที่จะเป็นพันธกิจขององค์กรถึงแม้นจะไม่ใช่การทำกำไรโดยตรง แต่หากทำแล้วองค์กรก็จะมีกำไรตามมา แต่บางองค์กรไม่ใช่องค์กรแสวงหากำไร แล้วพันธกิจของเขาคืออะไร??? อันนี้ก็น่าคิดเหมือนกัน

พันธกิจถ้าจะเขียนให้ดี ต้องรู้ว่า ลูกค้าจริงๆของเราเป็นใคร ความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างไร รู้ว่าเราเป็นอย่างไร และ จะทำอย่างไรเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทำอย่างไรถึงจะสามารถสนับสนุนการขาย ทำอย่างไรถึงจะให้คู่แข่งตามไม่ทัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของทั้งองค์กรของทุกคน

จริงๆแล้ว กฎการเขียนก็คงไม่ตายตัวสักเท่าไหร่ แต่เวลาหาข้อมูลไปลึกๆเข้าก็จะพบว่า “Peter Drucker” ปรมาจารย์ด้านการจัดการของโลก เคยระบุไว้ว่า โดยส่วนใหญ่แล้วพันธกิจขององค์กรๆ หนึ่งมักจะประกอบไปด้วยองค์ประกอบด้วย 9 ประการ คือ

1. ลูกค้า
เป็นการแจกแจงว่า ลูกค้าของเราเป็นใคร ซึ่งก็จะมีทั้งแนวทางการหาลูกค้า ในกรณีลูกค้าไม่ประจำ หรือ องค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นหลัก ก็จะพูดถึงความพึงพอใจของลูกค้า

2. สินค้าและบริการ
เป็นการดูว่า สินค้า และ บริการ ของเราเป็นสินค้าประเภทใด ซึ่งก็มุ่งประเด็นไปตรงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือ ชูประเด็นให้เห็นถึงมุมมองของสินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรจริงๆ

3. ตลาด (ตามภูมิศาสตร์แล้ว องค์กรเข้าไปดำเนินการแข่งขันในบริเวณใดบ้าง?)
นอกจาก ตลาดจะอยู่ที่ใดตามภูมิศาสตร์แล้ว องค์กรยังมีการตลาด แนวทางการตลาด วิธีที่ใช้ในการตลาด ไม่ว่า จะเป็นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ กลวิธีที่จะส่งผลอย่างไรเพื่อให้วิสัยทัศน์ได้บรรลุเป้าหมายได้จริง

4. เทคโนโลยี
องค์กรใช้เทคโนโลยี อย่างไร หรือมี นวัตกรรมอะไรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหรือสร้างสรรงานใหม่ๆ หรือ องค์กรมุ่งเน้นทางด้านนวัตกรรมมากน้อยเพียงใด

5. การคำนึงถึงการอยู่รอด เติบโต และผลกำไร
ซึ่งเรื่องนี้แทบจะต้องมีในทุกๆองค์กรเลยก็ว่าได้ เพราะว่าเป็นหัวใจของธุรกิจเลยว่า ต้องอยู่รอดได้ ต้องมีกำไร ต้องเติบโต ให้ทันกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

6. ปรัชญา
ปรัชญาจะบ่งบอกถึง ความเชื่อ ความเป็นองค์กร วัฒนธรรมองค์กร คุณธรรม จริยธรรมขององค์กร รวมไปถึง ค่านิยมขององค์กรว่า ภาพรวมขององค์กรที่สำคัญๆ และส่งผลให้ วิสัยทัศน์ ฉายแววแห่งความสำเร็จนั้น มีพื้นฐานต่างๆอย่างไร

7. ความแตกต่าง
การสร้างความแตกต่างก็เพื่อให้องค์กรมีจุดยืนพิเศษ เพื่อให้เหนือคู่แข่งขัน หรือ ให้มีความแตกต่าง เป็นจุดเด่น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความสนใจในตัวองค์กรขึ้น ทั้งนี้เราจะต้องเลือกเฉพาะความแตกต่างที่สร้างสรรที่จะนำพาให้องค์กรประสบความสำเร็จเป็นเกณฑ์เท่านั้น

8. การคำนึงถึงสังคม
บางองค์กร บางหน่วยงาน ให้ การคำนึงถึงสังคม ต่อชุมชน หรือ ต่อสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชูโรงว่า ตนนั้นทำเพื่อสังคม ทำเพื่อประชาชน เพื่อให้ภาพลักษณ์ดูดี เป็นการทำ PR อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ต้องมั่นใจ หรือ ทิศทางที่ชัดเจนจริงๆ ถึงจะใช้ในลักษณะนี้ การใช้แค่สร้างภาพเพียงอย่างเดียวอาจจะทำให้ คนทำงานสับสนกับองค์กรได้

9. การคำนึงถึงบุคลากร
องค์กรที่คำนึงถึงบุคลากรเป็นหลัก เมื่อลงข้อนี้พนักงานจะมีความเชื่อมั่นในองค์กรมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ความจริงใจ การพัฒนาบุคลากรอย่างเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้ ผลงานที่ได้รับออกมาดี แต่ในความเป็นจริงแล้ว เฉพาะองค์กรที่มีจำนวนพนักงานมากๆเท่านั้น ถึงจะกล่าวในจุดนี้ เพื่อดึงใจพนักงานให้สูงขึ้น แต่หากไม่ดำเนินตามที่เขียนไว้ บางทีก็จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เช่นกัน



ส่วนตัวผม ผมก็จะเพิ่มหัวข้อเหล่านี้เข้าไปด้วยในกรณีบางองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ไม่ใช่เก่งกว่า Perter Drucker แต่เพราะว่ามันใช้งานจริง จึงเห็นสิ่งที่ควรจะเพิ่มก็เท่านั้น

10. เป้าหมายการดำเนินงาน
เพื่อให้การทำงานเด่นชัดมากขึ้น การดำเนินงานจึงต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน รู้ว่าทำไปแล้วได้อะไร เพื่ออะไร แล้วจะส่งผลอย่างไรกับองค์กร

11. ทีมงาน และ สายสัมพันธ์
เพื่อมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นทีมเล็ก ทีมใหญ่ หรือ ทีมทั้งหมดที่เป็นองค์กร ทั้งนี้ เมื่อระบุในพันธกิจ ก็จะหมายถึง การสร้างนโยบายในเชิง ทีมงาน เป็นหลักด้วย

ทั้งหมดเป็นเพียงแนวทางการเขียน Mission หลักๆเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว ไม่มีหลักการตายตัวในการเขียน เพียงแต่เมื่อเขียนแล้วขอให้สามารถสื่อสารคนภายในองค์กรได้จริง มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้บรรลุ วิสัยทัศน์ ที่ได้ตั้งขึ้นมา

--------
แนวคิดเชิงกลยุทธ์ - อาชีพและธุรกิจในอนาคต

โดย วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)



หนึ่งในแนวคิดเชิงกลยุทธ์ คือ การสร้างให้มีวิสัยทัศน์ โดยใช้แนวความคิดไปข้างหน้า (Forward Thinking) แต่การสร้างให้มีการมองไปยังอนาคต (Future Thinking) ก็เป็นแนวคิดเชิง Forward Thinking อย่างหนึ่ง ทั้งนี้ การมองเห็นภาพในอนาคตได้ก่อน จะทำให้องค์กรหรือตนเอง สามารถวางแผนการปรับตัวเองให้เหมาะสมกับอนาคตกำหนดพันธกิจ (Mission) เพื่อเป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันให้เหมาะกับอนาคต อีกด้วย

แต่ เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่ายจำเป็นต้องมีข้อมูลตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน และ คาดการณ์ไปถึงอนาคตว่าจะเป็นเช่นใด ดังนั้น ทักษะแนวความคิด จึงต้องสร้างจากประสบการณ์ส่วนหนึ่ง สร้างจากการสังเกตุส่วนหนึ่ง สร้างจากจินตนาการส่วนหนึ่ง ทั้งนี้ในแต่ละเรื่องแต่ละเหตุการณ์จะต้องมีข้อมูลเพื่อสนับสนุนในแต่ละมุม มองว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นอย่างไร

เพื่อให้กระทู้นี้เป็น ประโยชน์กับคนที่ต้องการสร้างธุรกิจของผู้เข้ามาอ่าน รวมไปถึงประโยชน์ในการวางแผนงานของตนให้เหมาะสมและสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต จึงขอยกตัวอย่าง อาชีพในอนาคต ว่า จะมีอาชีพใด มีธุรกิจใดได้บ้าง ทั้งนี้ ผมจะพยายามคิดให้ได้มากที่สุดเท่าที่ความสามารถอันเล็กน้อยที่มีจะคิดได้ จึงอยากให้เพื่อนๆ ช่วยกันคิดครับว่า มีอาชีพและธุรกิจใดบ้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อว่าอาจจะมีใครสักคนนำเอาแนวความคิดที่เขียนไว้ไปปฏิบัติจริงและประสบ ความสำเร็จในอนาคต...



องค์กรในอนาคต


ถ้ายัง ไม่นับการบริหารจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการบริหารจัดการไปมากมาย เราพบว่า องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในองค์กร ทั้งนี้ การเก็บรวบรวมข้อมูล การพิมพ์ การคำนวน ต่างๆสดวกสบายมากขึ้น และ รวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ เมื่อประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์มีความเร็วมากขึ้น มีการเชื่อมโยงผ่านอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ก็จะยิ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในองค์กรมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ในปัจจุบัน เราสามารถจับหน้าจอที่ทำงานในแต่ละเครื่องได้ผ่านอินเทอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถมีกล้องติดกับเครื่องเพื่อถ่ายภาพอีกฝั่งหนึ่ง และ อินเทอร์เน็ตก็เริ่มมีความเร็วมากขึ้น

องค์กรในอนาคต จะใช้เครื่องมือเหล่านี้มาประยุกต์เข้ากับการทำงานมากขึ้น ทั้งนี้ การที่เราจะทำงานที่บ้านก็ไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป ทั้งนี้ ระบบการตรวจสอบการดำเนินงานมีให้พร้อมสรรพ ไม่ว่า การติดต่อสื่อสารทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต การโทรศัพท์ผ่านเน็ต VOIP การจับหน้าจอภาพว่ากำลังทำงานอยู่หรือไม่ หรือ การมองผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในเครื่องไว้ ทั้งนี้ การรวมความสามารถของเครื่องมือต่างๆ เพื่อสร้างให้เป็นระบบการทำงานขึ้นมา จึงเป็นแนวความคิดต่อไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

องค์กรไม่ใช่ มีเพียงเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป แต่การบริหารองค์กรจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย การบริหารควบคุมองค์กรจะมีความกระชับมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการใช้ KPI ในการกำหนดงานหลักให้ทำ ก็จะกลายมาเป็นการตรวจวัดการทำงานเป็นหน่วยๆเพื่อควบคุมปริมาณต่อเวลาในการ ดำเนินงาน ทั้งนี้ เพื่อให้รองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ รูปแบบการทำงานที่บ้าน ดังนั้น การควบคุมการทำงานจึงต้องควบคุมจากปริมาณงานที่ทำ โดยงานต่างๆจะถูกบันทึกการทำงาน และ ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าศูนย์ข้อมูล และ ประมวลผลออกมาในแต่ละชั่วโมง หรือ ตามแต่กำหนด เพื่อได้ผลของการทำงานในแต่ละวันออกมาเป็นสถิติได้เสร็จสมบูรณ์

การ บริหารจัดการองค์กร จะมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น องค์กรจะมีคนทำงานที่แตกต่างทั้งภาษา วัฒนธรรม แต่จะทำงานร่วมกัน และ กระจายงานกันทำได้อย่างลงตัวมากขึ้น ทั้งนี้ การสื่อสารโดยคอมพิวเตอร์จะมีมากขึ้น แม้นแต่คนพูดภาษาไม่ได้ แต่เขียนและอ่านได้ อย่างคนไทยทั่วไปที่เรียนภาษามาแต่พูดไม่ได้ ก็สามารถทำงานร่วมกับต่างประเทศได้ด้วยการพิมพ์เพื่อสื่อสารกัน

งาน ที่กระจายจากศูนย์กลาง จะกลายมาเป็นงานเฉพาะในแต่ละเรื่อง และงานจะยากเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจาก งานหลายๆงานได้ถูกจัดเก็บเป็นระบบในฐานข้อมูลไว้ ดังนั้น งานสร้างสรรอย่างโปรแกรมเมอร์จึงมีแต่งานที่ยากขึ้น ระบบงานทั่วไปมีขายเกลื่อนตลาด องค์กรที่ยังไม่มีฐานข้อมูลจะเกิดยาก มีธุรกิจการขายข้อมูล และ ฐานข้อมูลเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ องค์กร ที่ยังคงใช้ระบบเดิม ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะงานที่ยังต้องใช้แรงงานคน หรือ เพื่อการติดต่อสื่อสาร แต่ถึงกระนั้น การเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานก็จะมีมากขึ้นตาม การเดินทางไปหาลูกค้าจะมีน้อยลง การประชุมผ่านอินเทอร์เน็ตจะมีมากขึ้น การอบรมผ่านอินเทอร์เน็ตมีมากขึ้น

เมื่อมีข้อดีก็มีข้อเสีย เราจะพบว่าในอนาคต การขโมยข้อมูลจะมีมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการขึ้นไปใช้งานในระบบอินเทอร์เน็ตกันเป็นส่วนใหญ่ จึงมีการเข้ารหัส ยุ่งยากซับซ้อนกันมากขึ้น ซึ่งอาจจะต้องเข้ารหัสด้วย 128-256 หลักกันเลยทีเดียว เพื่อความปลอดภัยขององค์กร



การซื้อขายอัตโนมัติ


ปัจจุบัน การซื้อขายบางส่วนในองค์กรขนาดใหญ่ เริ่มมีการสั่งซื้อสินค้าผ่านเน็ต เพื่อลดขั้นตอนการทำงานต่างๆที่ยังใช้คนอยู่ และ เรามีตัวอย่าง Just in Time ของบริษัทฯรถญี่ปุ่นให้เห็น ซึ่งผลคือประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ต้องมีระบบต่างๆที่รองรับด้วย

การซื้อขายระหว่าง C2C ในอนาคตจะเริ่มต้น ณ จุดนี้ และ พัฒนาไปถึงการซื้อขายผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีคนเพียงไม่กี่คนที่จะตรวจสอบ ระบบจะทำการตรวจสอบยอดสินค้าคงเหลือ และ สั่งสินค้าเพื่อนำมาจัดเก็บในสต๊อกได้น้อยมาก ทั้งนี้การสั่งซื้อจะดำเนินการทั้งสองฝ่ายผ่านคอมพิวเตอร์อย่างเป็นระบบมาก ขึ้น

ที่เหลือคือการส่งสินค้าที่ยังต้องใช้แรงงานแต่ ก็จะถูกจัดระบบระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับการสั่งงานของคอมพิวเตอร์มากขึ้น เพื่อให้งานต่างๆดำเนินไปอย่างสอดคล้อง

แต่ระบบ่ต่างๆเหล่านี้คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-20 ปี สำหรับเมืองไทยอาจจะนานกว่านั้น



ความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้ามีมากขึ้น


เรา จะพบว่า การตลาดของเรา เริ่มต้องการสร้างความแตกต่างเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของแต่ละคน ดังนั้น สินค้าต่างๆ จึงพยายามสร้างเอกลักษณ์สำหรับแต่ละบุคคล โดยจะเริ่มจากสินค้าราคาแพง และ ลามมาถึงสินค้าทั่วไป ทั้งนี้ การทำ Just in Time ของบริษัทรถญี่ปุ่นได้จุดชนวนแนวความคิดต่างๆให้กลายมาเป็นความจริงมากขึ้น

ใน อนาคต รถยนต์ที่เราใช้จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เราสามารถกำหนดได้ว่า รถยนต์ของเรา ต้องการเครื่องกี่แรงม้า สีอะไร ด้านหน้าแบบใด ด้านหลังแบบใด ประตูแบบใด ที่นั่งแบบใด ล้อแบบใด สินค้าต่างๆต้องการยี่ห้ออะไร อุปกรณ์และระบบต่างๆสามารถเลือกได้ตามความต้องการ พร้อมทั้งจะทราบว่า ราคาที่เลือกนั้นเราสามารถชำระได้หรือไม่ ธนาคารให้เครดิตเท่าไหร่ และ จะสามารถรับรถได้วันใด

ทั้งนี้เกิดจากระบบคอมพิวเตอร์ในการสั่งการ และ ออบแบบมีการพัฒนาตัวมากขึ้น พร้อมทั้งการสั่งการระหว่างคอมพิวเตอร์และเครื่องจักรกล มีความง่ายเพิ่มมากขึ้น ทำให้ความฝันในเรื่องนี้ไม่ไกลเกินฝัน ซึ่งเราอาจจะเห็นได้ในเร็ววัน

นอกจากธุรกิจรถยนต์ที่จะเริ่มมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด บางสิ่งในปัจจุบันที่คิดว่า สินค้าไม่น่าจะมีความแตกต่างได้ ก็จะมีความแตกต่างเกิดขึ้น ธุรกิจอื่นๆ ก็จะเริ่มสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการเพิ่มมาก ขึ้น ทั้งนี้ เราจะพบว่า แม้นแต่สบู่ เราก็สามารถเลือกกลิ่น เลือกสี เลือกขนาด และ ส่วนผสมเองได้ หรือแม้นแต่เครื่องแต่งกาย เราก็จะสามารถเลือกผ้า ลาย ลักษณะต่างๆ องค์ประกอบต่างๆ พร้อมกันนั้น ก็สามารถเห็นภาพ 3 มิติได้ก่อนเลยว่า ถ้าสวมใส่แล้วจะมีลักษณะเช่นใด



ปริญญาตามงานที่ทำ


เราพบว่า การเรียนการศึกษาของเรานั้น ส่วนใหญ่ เป็นการเรียนแบบรวมๆ ไม่เจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนเราได้นำเอาสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้งาน แต่เราพบว่า การศึกษาลักษณะนี้ ไม่ได้ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริง เช่น จบบริหารจัดการมา แต่ต้องบริหารองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

การรับสมัครงานในอนาคต จะรับสมัครคนเข้าทำงานก่อนการเรียน ปริญญาตรี ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสร้างคนเหล่านั้นให้ได้ตามความต้องการของระบบงาน นอกจากนั้น ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ก็จะมีความยืดหยุ่นขึ้นกับงานที่ได้ทำไปแล้วด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ องค์กรการศึกษา จะปรับเปลี่ยนแนวทางการให้บริการเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรองรับกับงานที่หลากหลายมากขึ้น และ สร้างคนให้เหมาะสมกับงานในตำแหน่งนั้นๆ ทั้งนี้ การเลือกเรียนจะเหมาะกับงานที่จะไปทำ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ จะแยกออกไปอย่างเด่นชัด เช่น การออกแบบเสื้อผ้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบลายผ้า การออกแบบถ้วยชาม ฯลฯ ทั้งนี้ แต่ละวิชา แต่ละสาขาก็จะมีการเรียนการสอนในแต่ละเรื่อง แต่ละวิชา ที่แตกต่างกันออกไปเฉพาะด้านมากขึ้น

ทั้งนี้ การเรียนการสอนจะแยกแยะแบบเจาะจง การเรียนการสอนก็จะอยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ มีการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ผู้ชำนาญการพิเศษในแต่ละเรื่อง ในแต่ละสาขามาสอนเฉพาะเจาะจงลงไป ทั้งนี้นักศึกษาก็ไม่จำเป็นต้องเข้าไปยังมหาลัย ก็สามารถได้ปริญญาได้ เราจะพบว่า คนจบจากมหาลัยต่างประเทศ แต่ไม่เคยได้ไปประเทศนั้นมีมากขึ้น เคยเจออาจารย์ที่ปรึกษาเพียงครั้งเดียวก็จะมีมากขึ้น

ส่วนอาจาร์ยก็ จะได้ค่าลิขสิทธิ์ในการสอนแต่ละครั้ง และ เวลาส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปทางด้านวิจัยเพื่อหาความรู้เฉพาะด้านมากขึ้น เพื่อนำมาทำบทเรียนที่เหมาะในแต่ละสาขาอาชีพมากขึ้น

มหาลัยจะใช้ วิทยานิพนธ์เป็นวิชาสำหรับการเรียนการสอนมากขึ้น และ จะกระจายรายได้ไปสู่นิสิต นักศึกษาของผู้เขียนวิทยานิพนธ์นั้นๆ ทำให้การศึกษาของแต่ละคนจะมีปริญญาหลายใบเพื่อต้องการทำวิทยานิพนธ์สำหรับ การเรียนการสอนมากขึ้นกลายมาเป็นอาชีพใหม่ไปในที่สุด



พนักงาน IT ทั่วไปจะลดลง IT เฉพาะทางจะมากขึ้น


เนื่อง จากการเปลี่ยนแปลง และ องค์ความรู้มีมากมาย ซึ่ง พนักงาน IT ที่แต่เดิมพยายามกุมความลับต่างๆไม่ให้คนอื่นรับรู้ ความรู้ต่างๆก็จะเปิดเผยขึ้น ทั้งนี้ ผู้มีความรู้เพียงเล็กน้อยไม่สามารถทำงานทางด้าน IT ได้ในอนาคต แต่ IT จะมีความรู้เฉพาะทางและ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ มากกว่าการแก้ปัญหาการใช้ Word Excel

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ความต้องการพนักงาน IT ทางด้านการพัฒนาโปรแกรมภายในมีอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่พนักงาน IT จะไปอยู่กับองค์กรพัฒนาระบบกลางๆ ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาโปรแกรมให้สอดคล้องในแต่ละองค์กรที่มีส่วน เกี่ยวข้อง มีการรวบศูนย์ฐานข้อมูลต่างๆมากขึ้น และ พนักงานภายในนั้นก็จะสามารถทำงานทั้งที่บ้าน หรือ เข้ามายังที่ทำงานก็ได้

พนักงาน IT ที่จะเหลือมากที่สุดคือกลุ่มคนที่เป็นโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถทั้งการ ดูแลระบบเครื่อง และ Software ต่างๆ แบบเบ็ดเสร็จภายในคนๆเดียว ทั้งนี้ จำนวนคนดูแลจะมีน้อยลงและไม่จำเป็นต้องเข้าองค์กร แต่ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาได้จากคอมพิวเตอร์มือถือ และ หากเกิดปัญหากับเครื่อง หรือระบบ ในระบบส่วนกลางจะส่งปัญหาต่างๆผ่านทางมือถืออัตโนมัติ เพื่อแจ้งให้ทาง IT รับทราบเพื่อแก้ไขระบบงานได้ทันท่วงที



หนังสือที่หลากหลาย


จะพบว่า คอมพิวเตอร์ ณ ปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ได้เปลี่ยนแปลงการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด มาเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ Laser ที่มีความคมชัด และ ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ก็จะกลายมาเป็นเครื่องจัดเรียงพิมพ์ราคาถูก และ สามารถพิมพ์หนังสือที่ต้องการออกมาได้ตามความปราถนาของนักเขียน ซึ่ง นักเขียนก็จะแยกวิธีการขายหนังสือได้ออกเป็น 2 แนวคือ การขายแบบเป็นอิเล็กทรอนิกส์ และ การขายแบบเป็นหนังสือโดยใช้กระดาษ

ความ ยุ่งยากในการจัดเรียงพิมพ์จะหมดไป ทั้งนี้ ไม่ว่าลักษณะการจัดวางรูปเล่ม เนื้อหาให้น่าสนใจ หรือแม้นแต่ภาพประกอบในแต่ละเรื่อง ก็สามารถซื้อหาสำเร็จรูปได้ทั่วไป ง่ายและสดวกมากกว่าเดิม ใช้คนน้อยกว่าเดิม อีกทั้งยังสามารถปรับเปลียนแก้ไขแต่ละเล่มได้อีกด้วย

ทั้ง นี้การผลิตจะผลิตเพื่อส่งให้ลูกค้าเฉพาะรายๆ ไป หรือแม้นแต่การผลิตเพื่อจำหน่ายก็จะมีเพิ่มมากขึ้น แต่ใช้คนเพียงคนเดียวในการดำเนินการมากขึ้น

พฤติกรรมการอ่านของคนจะ เปลี่ยนแปลงจากการอ่านหนังสือ มาเป็นการอ่านในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จนมีเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบโดยใช้คอมพิวเตอร์อ่านหนังสือให้เราฟังโดยไม่ ต้องเสียสายตาจากการอ่านในเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อไป



อาชีพที่ไม่จริงใจจะตายจาก


ใน ภาวะปัจจุบันข่าวสารต่างๆสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ไม่ว่าข่าวดีหรือข่าวร้าย แต่เนื่องจากคนไทยชอบฟังข่าวร้ายๆมากกว่าข่าวดี และ ตื่นข่าว แบบไม่วิเคราะห์ว่าเป็นเรื่องจริงหรือเรื่องเท็จ ทั้งนี้ จึงกลายมาเป็นเครื่องมือให้กับนักสร้างกระแสที่ต้องการหวังผลประโยชน์เข้าตน

จาก ภาวะเช่นนี้ กลุ่มนักสร้างกระแส จะใช้จุดอ่อนเหล่านี้ปลุกกระแสให้เกิดขึ้น มีการสร้างภาพให้เกิดขึ้นเสมือนหนึ่งเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งๆที่การแสวงหาผลประโยชน์ยังคงมีเพื่อกลุ่มชนเพียงเล็กน้อย หรือ ต้องการแก้แค้นในเรื่องผลประโยชน์ทั้งสิ้น การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การออกอากาศเกินจริง สิ่งเหล่านี้จะโน้มน้าวคนให้เกิดภาวะตามกระแสเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

เมื่อ เวลาผ่านไป ความจริงจึงจะปรากฎขึ้นให้เห็นถึงภาวะความเป็นจริงของสิ่งที่ได้รับว่า เป็นเรื่องที่พยายามบอกกล่าวให้ผู้รับสารเข้าใจผิด อย่างบริสุทธิ์ใจ เพราะคิดว่า สิ่งที่ผู้รับสารต้องการฟังคืออะไร ก็จะให้ในสิ่งเหล่านั้น แต่เมื่อความจริงปรากฎว่า ไม่ได้ตรงตามสิ่งที่กล่าวมา ก็จะเริ่มเป็นจุดที่จะทำให้เกิดแนวความใหม่เพื่อแยกตัวออกมา

อีกทั้ง การตรวจสอบของประชาชน จะเริ่มมีมากขึ้น ผู้คนที่โดนเอาเปรียบจะเริ่มมีปากเสียงมากขึ้น ทำให้การดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงเสียงของผู้บริโภคมากขึ้น รวมไปถึงการสำรวมระวังในสิ่งที่เสนอออกไปว่าเกินความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด

องค์กรที่ไม่ปรับตัวและหวังผลระยะสั้น ก็ยังคงมีปรากฎให้เห็น แต่จะไม่สามารถทำธุรกิจในระยะยาวได้

องค์กร ที่สามารถอยู่ได้ยาวนาน จะปรับตัวค่อนข้างมาก และ บ่อย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ พร้อมกันนั้น ยังต้องสร้างพันธมิตร และ สร้างสินค้าอื่นๆ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ความยึดมั่นถือมั่นในชื่อสินค้าจะลดน้อยลง การเชื่อโฆษณาต่างๆลดลง มีการแข่งขันทางด้านสินค้าสูงมากขึ้น จากสินค้าเฉพาะกลุ่ม หรือ สินค้าที่ไม่น่าจะเป็นคู่แข่งขันก็จะกลายมาเป็นสินค้าที่เข้าสู่การแข่งขัน กันมากขึ้น



ข้อมูลข่าวสารมากเกินความจำเป็น


ใน ยุคปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารมีมาก มากถึงขนาดทำให้ผู้ติดตามข่าวสารเกิดโรค IOKO = Information Overflow, Knowledge Overload ขึ้นทั้งนี้ โรคนี้คือการเสพเอาแต่ข้อมูลข่าวสารที่มีจำนวนมากเข้าไป แต่ไม่ได้ทำการย่อยหรือวิเคราะห์ให้เห็นสภาพความเป็นจริง มากขึ้น ทั้งนี้ ธุรกิจทางด้านข่าวสาร จะบูมต่อไปอีก 5-10 ปี พร้อมกันนั้น การเรียนรู้ต่างๆสามารถทำได้ง่ายขึ้น เด็กๆประถม จะสามารถเข้าใจสิ่งที่เรียนรู้กันในมหาวิทยาลัย จนการเรียนรู้ในมหาลัยต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการสอนใหม่หมดโดยมุ่งเน้นทาง ด้านความรู้ใหม่ๆมากขึ้น

เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป คนจะเริ่มสนใจไปในทางข้อมูลสรุปที่ตรงประเด็น การรายงานข่าวจะกลายมาเป็นการย่อยข่าว โดยมีนักวิเคราะห์ย่อยข่าวให้เห็นถึงสภาพความเป็นจริง ทั้งทางด้านบวก และ ลบ ทั้งนี้ข่าวในเชิงปริมาณก็ยังมีมาก แต่คนก็จะเริ่มย้ายฐานการรับฟังข่าวทางด้านวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเบื่อการวิเคราะห์ข่าวเหล่านั้น และ จะกลับมายังข่าวพื้นฐานที่มีคุณภาพมากขึ้น

ในเชิงการเรียนรู้ ก็จะมีการเรียนรู้มากขึ้น นักเรียนประถมจบมหาลัยต่างชาติ นักเรียนมัธยมจบหลักสูตรการตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้ การเรียนรู้จะกลายมาเป็นแนวทางการใช้งานมากกว่าเรียนเพื่อรู้สำหรับ เด็กวัยรุ่น และ ใช้กลยุทธ์ต่างๆมากมายมาเป็นแนวคิดเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง



ช่วงของคนแต่ละยุค มีความแคบเข้า


ใน ปัจจุบัน คนแต่ละยุค แต่ละสมัย จะใช้เวลาห่างกันประมาณ 30-40 ปี แต่เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการรับข้อมูลข่าวสาร และ การดำเนินไปของการตลาด จะทำให้ยุคของคนในแต่ละยุคมีความสั้นเข้าไป

เด็ก วัยรุ่น เมื่อผ่านวัยรุ่นมา 10 ปีก็จะกลายเป็นคนอีกรุ่นหนึ่งไปทันที เพลงที่ฟังจะล้าสมัยอย่างมาก โบราณ การปรับเปลี่ยนของกลุ่มคนจะสามารถมองเห็นได้จากหน้ามือเป็นหลังมือเลยที เดียว ทั้งนี้ สภาพแวดล้อมเช่นนี้ จะทำให้เกิดการแข่งขันทางด้านสินค้าใหม่ๆ Intrend มากขึ้น สินค้ามีอายุสั้นลง แต่ราคาจะสูงขึ้น เหมาะกับกลุ่มคนมากขึ้น สินค้าทั่วไปก็ยังคงมี แต่ทำรายได้ไม่มากเท่ากับ สินค้าเฉพาะเจาะจง



กลุ่มคนใหม่


ความเปลี่ยนแปลง ทางการตลาด และ ภาวะถดถอยของระบบทุนนิยม จะทำให้เกิดภาวะย้อนกลับ จะมีกลุ่มคนที่กีดกันการตลาดมากขึ้น มีการประนาม และ ไม่ยอมรับการตลาดใดๆที่ทำการตลาด ทั้งนี้ กลุ่มคนนี้จะสร้างสภาวะโลกใหม่ ที่ทำให้ตนเอง พออยู่ พอกิน ไม่ฟุ้งเฟ้อตามกระแสสังคม ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง จะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตอย่างแน่นหนาของชนกลุ่มนี้ และ เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง กลุ่มคนกลุ่มใหม่นี้จะยังคงสามารถรักษาเศรษฐกิจภายในกลุ่มได้อย่างเหนียวแน น่ มีผลกระทบน้อยมาก แต่เศรษฐกิจของกลุ่มก็ไม่ได้ก้าวหน้าไปมากนักเช่นกัน

ธุรกิจ ในกลุ่มจึงมีความสำคัญอย่างมาก สินค้าจากภายนอกกลุ่มจะมีเพียงสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่ สินค้าที่ออกมาจากกลุ่ม กลับเป็นสินค้าในเชิงฟุ่มเฟือยเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมภายนอก



ประชากรมีอัตราการเพิ่มน้อยลง


เนื่อง จากภาวะสังคมสร้างสมให้มีแนวคิดในเชิงการเรียนรู้จะนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ ดีขึ้น ดังนั้น สังคมไทยจะเพิ่มจำนวนคนที่มีการศึกษาอย่างมาก ซึ่งคนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับ ปริญญาโท ขึ้นไป จนถึงระดับ ด๊อกเตอร์ โดยเฉพาะคนเมืองหลวง

แต่ในระดับสังคมชนบท ก็จะมีคนที่มีความรู้เข้าไปอยู่เพิ่มมากขึ้น เริ่มมีการกอบโกยจากผู้มีความรู้ เอาเปรียบประชาชนโดยทั่วไป ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงมากกว่าที่เป็นอยู่

การศึกษาที่ เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น จึงเป็นทางนำมาสำหรับการสืบทอดทายาท ซึ่งจะมีการควบคุมจำนวนประชากรที่มีคุณภาพให้ลดน้อยลง เนื่องจาก พ่อแม่ไม่ต้องการมีบุตร หรือ มีบุตรเพียง 1-2 คนเท่านั้น เพื่อต้องการสร้างบุคคลที่มีคุณภาพจริงๆ

ในทางกลับกัน รัฐบาลจะเห็นถึงความสำคัญของสัดส่วนที่แตกต่างระหว่างผู้สูงอายุที่จะเกษียร และ เด็ก จะอยู่ในอัตราส่วนที่ไม่สมดุลย์ จึงเร่งรณรงค์ให้เพิ่มจำนวนประชากร ทั้งนี้ กลุ่มบุคคลที่เพิ่มขึนมากลับเป็นกลุ่มบุคคลชนชั้นกลางล่างลงไป ซึ่งไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมีคุณภาพเท่าคนในเมือง ดังนั้น จึงเกิดความเหลื่อมล้ำทางความคิด และ พฤติกรรมอย่างมากในสังคม จนจะทำให้เกิดความขัดแย้งและจะนำไปสู่การแบ่งชนชั้นอย่างเห็นได้ชัดเจนมาก ขึ้นกว่าปัจจุบัน



ธุรกิจสำหรับผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น


สภาวะ ความเป็นอยู่ของเรานั้นมุ่นเน้นการดำรงชีวิตให้ยาวนานมากที่สุด ประกอบกับจำนวนประชากรของคนไทยจะมีการเพิ่มน้อยลงอย่างมาก คนแก่อายุยืนมากขึ้น ธุรกิจสำหรับคนชราจึงเป็นธุรกิจที่ส่งให้บูมขึ้น ทั้งนี้ อายุของธุรกิจประเภทนี้ จะมีอายุเพียง 10-20 ปีหลังจากนั้นองค์กรที่มีการบริการที่ดี พร้อมทั้งระบบงานที่ดีเท่านั้น ที่จะสามารถดำรงต่อไปได้อย่างถาวร ช่วงนี้เป็นช่วงฟื้นฟูของแพทย์และพยาบาล แต่ไม่โดดเด่นเหมือนเดิมที่ผ่านมา



อาชีพและธุรกิจในอนาคต


จาก สภาวะเหตุการณ์ต่างๆ ที่คาดคะเนจากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และ สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เราสามารถนำมาแยกแยะหาจุดที่จะสามารถทำอาชีพ และ ธุรกิจในอนาคตได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อย่าเชื่อในสิ่งที่ผมเขียนทั้งหมด แต่จงใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองให้ถ้วนถี่ก่อนจะดำเนินการใดๆว่า ท่านมีศักยภาพในการทำอาชีพ หรือ ธุรกิจในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด และ สภาพแวดล้อมของท่านเหมาะกับการดำเนินธุรกิจเช่นนั้นหรือไม่เพียงใด ด้วย

- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมควบคุมการดำเนินงานที่บ้าน
- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมตรวจวัดผลงานทางไกล
- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมตรวจวัดและควบคุมผลงานทั้งองค์กร
- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร
- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมการเข้ารหัสเฉพาะ
- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมส่งภาพหลอก Video
- งาน IT ทำงานจากที่บ้าน
- ตำรวจเทคโนโลยีธุรกิจ
- ยามอิเล็กโทรนิกส์
- บริษัท บริหารจัดการบุคคลากรและประเมินในอนาคต
- บริษัท บริหารจัดการขนส่งสินค้า และ wherehouse
- บริษัทฯ ตัวกลางรับออเดอร์อิเล็กทรอนิกส์
- ธุรกิจจำหน่ายและพัฒนาโปรแกรมรวมทั้งอุปกรณ์เลเซอร์สำหรับสร้างภาพ 3D
- มหาวิทยาลัย Teller Made
- มหาวิทยาลัย เฉพาะทาง
- อาชีพสร้างหลักสูตรเฉพาะทาง
- หนังสือตามสั่ง
- Virtual Professor
- บริษัทฯ รับดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศฯ
- อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายไฟฟ้า
- บริษัทฯ หาพนักงานทดแทนผู้บริหารระดับสูง
- บริษัทฯตรวจวัดและ จัดอันดับควาทน่าเชื่อถือทางธุรกิจ
- องค์กรบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร
- รายการโทรทัศน์ทางด้านการวิเคราะห์ข่าวสาร ประยุกต์ทฤษฎี
- รับจ้างเรียนกับมหาลัยต่างชาติ
- เครื่องผลิตโมลฯ สินค้าอัตโนมัติ
- เครื่องฉีดพลาสติกขนาดเล็ก ที่มีการสร้างโมลฯ จาก 3D

คิด ไม่ออกละ ยิ่งคิดยิ่งเลอะเทอะ เอาเป็นว่า จากสิ่งที่เขียนมาทั้งหมด ผมแค่ยกตัวอย่างให้เห็นถึงสภาพอนาคต และ สินค้าที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ มันอาจจะไม่ตรงประเด็นสำหรับท่าน แต่อย่างน้อยก็เป็นแนวทาง หรือ ถ้าต้องการมุมมองในเชิงการดำเนินการของท่านก็เมล์มาคุยครับ ยินดี...
---------
การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน

พลตรี เอนก แสงสุก

วิเคราะห์ศัพท์

การพัฒนา -- การทำให้ดีขึ้น เจริญขึ้น ทันสมัยขึ้น ก้าวหน้าขึ้น

ทักษะความคิด -- ความชำนาญในการคิด

การปรับปรุงงาน -- การทำให้งานดีขึ้น รวดเร็วขึ้น เรียบร้อยขึ้น


สรุปเป็น “การทำให้เกิดความชำนาญในการคิดเพื่อการปรับปรุงงาน”


๑. วัตถุประสงค์ในการปรับปรุงงาน

๑.๑ ทำไมบุคลากรภาคเอกชนจึงคิดปรับปรุงงานอยู่เสมอ ?

- เพราะเป็นการแข่งขันกันนำเสนอสิ่งที่ดีกว่า

- เพราะผู้บริโภคชอบอะไรใหม่ ๆ เสมอ

- เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้น

- พนักงานทุกคนได้รับแบ่งปันผลกำไรในรูปโบนัส

- ถ้าไม่ปรับปรุงงานอยู่เสมอ อาจถูกเชิญออก ให้ออก ไล่ออก

- ขั้นตอนการทำงานน้อย

- ผู้ตัดสินใจน้อย

- ค่าตอบแทนสูง

- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น





๑.๒ ทำไมบุคลากรภาครัฐจึงคิดปรับปรุงงาน หรือดำเนินการปรับปรุงงานได้น้อยกว่าภาคเอกชน ?

- เพราะเป็นงานบริการ ไม่ใช่ธุรกิจหากำไร ไม่มีการแข่งขัน

- เพราะผลที่ได้รับจากการพัฒนาเป็นเพียง “ความพอใจ” ของผู้ใช้บริการ ไม่ใช่ “ผลกำไร”

- บุคลากรภาครัฐกินเงินเดือน ไม่ได้รับเงินเพิ่มจากผลกำไร

- ถ้าไม่ปรับปรุงงาน ก็ไม่มีการเชิญออก ให้ออก ไล่ออก เว้นแต่กระทำผิดวินัยร้ายแรง

- งานบางงานต้องใช้งบประมาณราชการ ถ้าได้น้อยก็ปรับปรุงได้น้อย

- มีระบบพวกพ้อง

- เป็นองค์กรขนาดใหญ่

- มีสายการบังคับบัญชา และขั้นตอนการตัดสินใจมาก

- ความรู้ความสามารถของบุคลากรบางส่วนสู้ภาคเอกชนไม่ได้

- หัวหน้างานบางคนไม่รับฟังความคิดเห็นลูกน้อง

- ถูกปลูกฝังความคิด หรือรูปแบบการทำงาน โดยคนรุ่นก่อน

- มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มาก

- เปลี่ยนนโยบายตามผู้บริหารอยู่เสมอ

- มีการโกงกิน

- กลัวว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เพิ่มงาน เพิ่มภาระ


๑.๓ ทำไมจึงต้องปรับปรุงงาน ?

- เพื่อให้งานดีขึ้น เร็วขึ้น สะดวกขึ้น มากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- เพื่อให้ได้ผลงานมากขึ้น ได้ผลกำไรมากขึ้น

- เพื่อให้ได้รับความสนใจ ความพอใจจากผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการมากขึ้น

- เพื่อลดต้นทุน ลดขั้นตอน

- เพื่อช่วยพัฒนาองค์กร และประเทศชาติโดยรวม



๒. การพัฒนาความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน

- ต้องพัฒนาทั้งความคิดของ ๑. ตัวเอง ๒. หัวหน้าหน่วยรองหรือลูกน้อง

๒.๑ การพัฒนาความคิดของตัวเอง

- จะปรับปรุงงานต้องปรับปรุงตัวเองก่อน เพราะจะไม่ได้รับ “ความร่วมมือ - ร่วมใจ”
หรืออาจได้รับแต่ “ความร่วมมือ” ไม่ได้รับ “ความร่วมใจ”

- ต้องเริ่มที่ใจ
-- ตั้งใจที่จะคิด ที่จะริเริ่ม

-- ตั้งใจว่าจะไม่ทำงานแบบตั้งรับ

-- ตั้งใจว่าจะทำงานเชิงรุก

-- ตั้งใจว่าจะริเริ่มพัฒนาไม่หยุดนิ่ง

-- ตั้งใจว่าจะสู้ไม่ถอย

-- ตั้งใจว่าจะเป็น “คนแก่ความรู้ ใช่อยู่นาน”

-- ตั้งใจว่าจะไม่ทำงานแบบ “ทำอาหารตามสั่ง”

-- ตั้งใจที่จะยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น


- ปรับทัศนคติตัวเองและลูกน้อง

-- ไม่ควรคิดว่ายิ่งริเริ่มยิ่งเพิ่มงาน ยิ่งเหนื่อย

-- เลิกคิด เลิกพูดว่า “เรื่องที่แล้ว ครั้งที่แล้ว ปีที่แล้ว เขาก็ทำกันมายังงี้”

-- ไม่คิดว่า จะเกษียณแล้ว ใครอยากทำอะไรก็ทำไป

-- ไม่คิดว่า ทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่ได้หวังสองขั้น ใครอยากได้ก็ทำไป

-- เปิดใจรับความคิดใหม่ของคนใหม่ ไม่คิดว่าตัวเองอยู่มาก่อน

-- คิดว่าทุกคนมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ปล่อยให้หัวหน้าคิดคนเดียว

-- คิดว่าการปรับปรุงงานจะทำให้ช่วยทหารผ่านศึกได้ดีขึ้น เร็วขึ้น มากขึ้น

-- คิดว่าการปรับปรุงงานอาจทำให้ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ลดขั้นตอน ได้



- เมื่อ “ทำใจ” และ “ปรับทัศนคติ” ได้แล้ว จึงเริ่มพัฒนาความคิดที่จะปรับปรุงงานต่อไป

- วิธีที่ ๑ โดยการตั้งใจว่า

-- จะทำวันนี้ให้ดีกว่าวันก่อน

-- จะทำงานนี้ให้ดีกว่างานที่แล้ว

-- จะทำเรื่องนี้ให้ดีกว่าเรื่องที่แล้ว

- วิธีที่ ๒ โดยการถามตัวเองอยู่เสมอว่า

๑. งานในหน้าที่ ทำครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ไม่บกพร่องแล้วหรือยัง

๒. วิธีทำให้เร็ว ให้มาก ให้สะดวก ให้สมบูรณ์ กว่านี้ มีหรือไม่

๓. จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือทหารผ่านศึก ได้มาก ได้สะดวก ได้รวดเร็วกว่านี้อีก

๔. หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา เขาทำอย่างไร


- วิธีที่ ๓ โดยการใช้หลักอริยสัจสี่พิจารณาทุกเรื่อง (หรือหัวข้อการเขียนข้อพิจารณาของ
ฝ่ายอำนวยการ)

๑. ทุกข์ - ปัญหา (มีข้อขัดข้องอะไรในการทำงาน)

๒.เหตุให้เกิดทุกข์ - ข้อเท็จจริง (ข้อขัดข้องนั้นเกิดจากอะไร)

๓.ทางสู่ความดับทุกข์ - ข้อพิจารณา (มีทางแก้ข้อขัดข้องอย่างไรบ้าง)

๔.วิธีการพ้นทุกข์ - ข้อเสนอ (ทางแก้ข้อขัดข้องที่ดีที่สุดคืออะไร)

- สำรวจตัวเองหรือหน่วยงานว่า ทำงานเต็มที่ เต็มเวลา แล้วหรือยัง ทำไมจึงถูกตำหนิว่า
ไม่เรียบร้อย ว่าช้า --- ดูที่ คน + เครื่องมือ ในเรื่อง ความพอเพียง ประสิทธิภาพ แล้วแก้ให้ตรงจุด

-- คนไม่พอขอเพิ่ม บรรจุ จ้างเพิ่ม

-- คนไม่มีประสิทธิภาพ -- ว่ากล่าวตักเตือน ฝึกสอน สับเปลี่ยนหน้าที่ ย้าย
ส่งคืน

-- เครื่องมือ -- ไม่พอ - ขอเพิ่ม เก่า - ขอใหม่ ใช้เครื่องมือแทนคน

- ดูตัวอย่างความคิดที่ดีของ คนอื่น หน่วยงานอื่น ของ ผู้บังคับบัญชา นำมาประยุกต์ใช้

- ประสานงาน พูดคุย ขอดูงาน หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกัน แล้วนำมาพิจารณาใช้

- พยายามคิดเสมอว่า งานที่ทำอยู่ จะนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่นเข้ามาช่วยได้หรือไม่
อย่างไร

- สังเกตการคิดของผู้บังคับบัญชา ฝ่ายอำนวยการ หรือบุคคลสำคัญ เป็นตัวอย่าง

- ไม่ยึดติดกับระเบียบข้อบังคับหรือตัวอักษรเกินไป เพราะระเบียบเหล่านั้นก็เกิดจากความคิดของคนในยุคก่อน ๆ หากเรามีความคิดดีกว่าก็อาจเสนอแก้ไขได้ ให้เหมาะกับยุคสมัย

- ใช้การระดมความคิดภายในหน่วยงาน เพื่อร่วมกันหาวิธีที่ดีที่สุด

- คิดทำงานเชิงรุก เหมือนการรบในสนาม จุดไหนอ่อนต้องจัดกำลังเสริม ใครอ่อนล้าต้อง
เปลี่ยนตัว สับเปลี่ยนหน้าที่กันบ้าง

- คิดวาดมโนภาพลำดับงานแต่ละงาน ตั้งแต่ต้นจนจบ ว่าจะเกิดปัญหาข้อขัดข้องอะไรบ้าง
แล้วหาทางป้องกันไว้ล่วงหน้า ไม่รอให้เกิดปัญหาก่อน

๒.๒ การพัฒนาความคิดของหัวหน้าหน่วยรองหรือลูกน้อง

- เป็นหัวหน้าต้องพัฒนาความคิด ทั้งของตัวเอง และของหัวหน้าระดับถัดลงไป โดยการ
ถามความเห็น เรียกมาหารือ สั่งให้ไปคิดมาคุยกัน หรือคิดมาเสนอในที่ประชุม

- สั่งงานแบบมอบภารกิจ ไม่ต้องสั่งวิธีปฏิบัติ (ถึงแม้เราจะรู้วิธีปฏิบัติในเรื่องนี้มาก่อน)

- มอบให้เขารับผิดชอบ เพื่อฝึกให้คิด ไม่ใช่โยนความรับผิดชอบ ให้ลูกน้องทำการแทน (เรื่องที่อาจถูกนายตำหนิ) โดยอ้างว่า “เพื่อฝึกความคิดลูกน้อง”

- เป็นหัวหน้าอย่าแย่งหัวหน้าหน่วยรองคิดเสียทั้งหมด ฝึกให้เขาคิดเองบ้าง

- เป็นหัวหน้าอย่ารอฟังแต่ความคิดของนาย เราก็ต้องเตรียมคิดไว้เสนอ

- เปิดโอกาสให้ลูกน้อง แสดงความคิดเห็น เสนอแนะในการปรับปรุงงานได้ ทั้งอย่างเป็น
ทางการและไม่เป็นทางการ

- เมื่อลูกน้องเสนอความคิด ต้องสนใจให้ความสำคัญ กล่าวชมให้กำลังใจไว้ก่อน รับฟังไว้ก่อน ถ้าเราเห็นจุดอ่อน ก็ถกแถลงกันด้วยเหตุผล ไม่พูดให้เขาเสียกำลังใจ

๓. การสร้างนิสัยหรือวิธีฝึกให้เป็นคนช่างคิด

๑. ฝึกคิดจากเรื่องส่วนตัวในชีวิตประจำวัน หาทางใหม่ วิธีใหม่ -- การขับรถ

๒.ดูทีวี หนังสือพิมพ์ แล้วคิดตาม ทั้งข่าว ทั้งโฆษณา

๓. พบเห็นใครทำอะไร ลองคิดในใจว่า เรื่องนี้งานนี้ถ้าเป็นเราจะทำยังไง อย่าคิดว่า
“ธุระไม่ใช่”

๔. ลองแสดงความคิดเห็นในอินเตอร์เน็ตดูบ้าง แต่ให้มีสาระในลักษณะ “เสนอแนะเพื่อสร้างสรรค์” ไม่ใช่ “ตั้งกระทู้เพื่อระบายอารมณ์”



๔. เทคนิควิธีที่จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงงาน

- สอบถาม ปัญหา ข้อขัดข้อง และคำแนะนำ จากผู้ที่เคยทำงานนั้น ๆ มาก่อน หรือดำรง
ตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ มาก่อนเรา

- ศึกษาเรื่องลักษณะเดียวกัน ที่เคยทำมาก่อนแล้ว นำปัญหาข้อขัดข้องมาแก้ไขไม่ให้เกิดซ้ำ
คิดปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ไม่คิดว่า “เอาเหมือนเดิม” ไปเสียทุกเรื่อง (แต่ถ้าของเดิมดีแล้วก็ใช้ได้)

- งานสำคัญ เมื่อจบภารกิจแล้ว ควรมีการรายงานสรุปผลการดำเนินงาน และปัญหา
ข้อขัดข้อง กับข้อเสนอแนะในการแก้ไขในครั้งต่อไป (ต้องเปลี่ยนทัศนะคติว่า หากรายงานว่าหน่วยเรา

หรืองานที่เรารับผิดชอบมีปัญหาข้อขัดข้อง จะถูกผู้บังคับบัญชามองไม่ดี)

- เมื่อถึงครั้งต่อไปหรือปีต่อไปจะทำงานนั้นอีก ก็ควรนำรายงานนั้นมาพิจารณา หรือกำหนดเป็นหัวข้อหรือระเบียบวาระการประชุม ก่อนแบ่งมอบงานครั้งใหม่

- ทำแฟ้มบันทึกหรือถ่ายเอกสาร เรื่องที่เคยถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ ทั้งของเราและหน่วยอื่น และหาทางแก้ไขไม่ให้ผิดซ้ำ ไม่ปล่อยให้ลืมเลือนไปตามกาลเวลา

- ทำแฟ้มบันทึกคำพูดของผู้บังคับบัญชาที่เป็นลักษณะ “นโยบายหรือความคิด” แล้วหาทาง
ทำให้ได้ตามนโยบายหรือความคิดนั้น

- การ “เตรียมการ” และ “การซักซ้อม” ที่ดี จะทำให้เห็น “ปัญหาข้อขัดข้อง” ก่อนถึงวันจริง ซึ่งสามารถนำมา “ปรับแผน” หรือ “ปรับปรุงงาน” ได้



๕. การปรับปรุงงาน

๕.๑ หลักการ

- ลดขั้นตอน

- รวมงานลักษณะเดียวกัน

- บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One stop service)

- กระจายการบริการให้เพียงพอ

- ระดมทรัพยากร

- ใช้สายการบังคับบัญชา

- ใช้เทคโนโลยี

- ทำงานได้โดยต่อเนื่อง

- จัดระบบจัดระเบียบ

- รับฟังความคิดเห็น

๕.๒ วิธีการ

- ลดขั้นตอน ได้แก่ ลดขั้นตอนเอกสาร มอบอำนาจการอนุมัติและลงนาม ฯลฯ

- รวมงานลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน เช่น งานกำลังพล งานกรรมวิธีข้อมูล ของสองหน่วย

- บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ เช่น ใช้เจ้าหน้าที่จำนวนน้อยให้บริการได้ทุกเรื่อง ฯลฯ

- กระจายการบริการให้เพียงพอ เช่น ตำบลจ่ายยาของโรงพยาบาล ห้องสมุดของสถานศึกษาขนาดใหญ่ ตู้เอทีเอ็ม โต๊ะเขียนคำร้องพร้อมตัวอย่าง ฯลฯ

- ระดมทรัพยากร เช่น บางสถานการณ์หรือบางภารกิจ อาจต้องทำงานแบบ “รวมการ”
โดยการระดมเจ้าหน้าที่หรือเครื่องมือของทุกหน่วยช่วยกันทำงานนั้น

- ใช้สายการบังคับบัญชา บางงานต้องยึดถือสายการบังคับบัญชา ไม่ก้าวก่าย ไม่ข้ามขั้นตอน

- ใช้เทคโนโลยี เช่น บันทึกข้อมูลลงคอมพิวเตอร์แทนการจดบันทึกด้วยมือลงเอกสาร
การออกใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ

- ทำงานได้โดยต่อเนื่อง ได้แก่ มอบงานหนึ่ง ๆ ให้มีผู้รับผิดชอบอย่างน้อยสองคนเพื่อให้
ทำงานแทนกันได้เมื่ออีกคนหนึ่งไม่อยู่ การให้บริการโดยไม่มีการพักเที่ยง เตรียมการทำงานบางเรื่อง
เมื่อไฟฟ้าดับโดยใช้กระดาษ ปากกา เครื่องพิมพ์ดีด

- จัดระบบจัดระเบียบ ได้แก่ จัดระบบงานให้สั้น สะดวก รวดเร็ว แก่ผู้มาติดต่อ จัดระบบการเดินเอกสาร จัดระเบียบการเก็บข้อมูลและเอกสารให้ค้นหาง่าย ให้เป็นส่วนกลางไม่เก็บตามโต๊ะหรือตู้ส่วนตัว

- รับฟังความคิดเห็นของทั้ง ผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้มาติดต่อ เช่น ติดตั้งตู้รับความคิดเห็น ฯลฯ แล้วนำมาพิจารณาปรับปรุง พัฒนางาน ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้น









๖. สรุป

- การพัฒนาทักษะความคิดเพื่อการปรับปรุงงาน ต้องเริ่มที่ใจ ทำใจ เปิดใจ ตั้งใจ

- ต้องปรับทัศนคติทั้งของตัวเองและลูกน้องให้สนใจที่จะคิดเพื่อปรับปรุงงาน

- ต้องพัฒนาทักษะความคิดทั้งของตัวเองและลูกน้อง

- โดยการถามตัวเองอยู่เสมอว่า

๑. งานในหน้าที่ ทำครบถ้วน ถูกต้อง รวดเร็ว ไม่ผิดพลาด ไม่บกพร่อง
แล้วหรือยัง

๒. วิธีทำให้เร็ว ให้มาก ให้สะดวก ให้สมบูรณ์ กว่านี้ มีหรือไม่

๓. จะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้คลายทุกข์กายทุกข์ใจ ได้มาก ได้สะดวก ได้รวดเร็ว กว่านี้อีก

๔. หน่วยงานอื่นที่ทำงานลักษณะเดียวกับเรา เขาทำอย่างไร

- แนวทางการปรับปรุงงาน ได้แก่

๑. ลดขั้นตอน ๖. ใช้สายการบังคับบัญชา

๒. รวมงานลักษณะเดียวกัน ๗. ใช้เทคโนโลยี

๓. บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ ๘. ทำงานได้โดยต่อเนื่อง

๔. กระจายการบริการให้เพียงพอ ๙. จัดระบบจัดระเบียบ

๕. ระดมทรัพยากร ๑๐. รับฟังความคิดเห็น
----------

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS