RSS

การเมืองเรื่องน้ำมัน และนโยบายการทำให้ทันสมัยของเมดเวเดฟ

การเมืองเรื่องน้ำมัน และนโยบายการทำให้ทันสมัยของเมดเวเดฟ

โดย อนุช อาภาภิรม คอลัมน์ วิกฤติศตวรรษที่ 21
ในมติชนสุดสัปดาห์ ออนไลน์ ฉบับวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ปีที่ 31 ฉบับที่ 1591 หน้า 46


นํ้ามันและรวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติอื่น ช่วยทำให้โซเวียตเป็นอภิมหาอำนาจ และก็มีส่วนทำให้มันล่มสลาย
และที่แปลกขึ้นไปอีกก็คือ การฟื้นการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมันที่สูงขึ้นช่วยให้รัสเซียฟื้นตัวเป็นมหาอำนาจอย่างน้อยในภูมิภาค แต่ความเข้มแข็งนั้นเปราะบางและไม่ยั่งยืน

รัสเซียไม่สามารถรักษาบทบาทที่ทรงอิทธิพลบนเวทีโลกได้นานด้วยการเป็นรัฐน้ำมัน (Petrostate)
รัสเซียจะต้องมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และประสิทธิภาพในการผลิตทัดเทียมกับประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้ว มีเทคโนโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรมเพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งหมดได้นำเสนอในนโยบายการทำให้ทันสมัยของเมดเวเดฟ แต่การปฏิบัติจะทำได้เพียงใดเป็นอีกเรื่องหนึ่งมีผู้ชี้ว่า รัสเซียไม่สามารถดำรงอยู่ได้ ถ้าหากยุโรปเลิกซื้อน้ำมัน และในสมัยสหภาพโซเวียตของเบรซเนฟได้ส่งน้ำมันและทรัพยากรธรรมชาติมูลค่าร้อยละ 50 ของจีดีพี แต่ในปัจจุบันเพิ่มเป็นร้อยละ 75 (ดูบทวิจารณ์เรื่อง Modernization is not Perestroika ใน The Moscow Times 151010)

ดังนั้น เรื่องอุตสาหกรรมน้ำมันในรัสเซียจึงยังคงมีความสำคัญต่อไปเป็น 10 ปี มีผลต่อการเมืองทั้งในประเทศและนโยบายต่างประเทศ ถ้าพูดถึงรัสเซียก็ต้องพูดถึงน้ำมันของรัสเซียพร้อมกันไป



นโยบายการทำให้ทันสมัยของเมดเวเดฟ

หลังจากที่ได้ขึ้นดำรงตำแห่งประธานาธิบดีในกลางปี 2008 ดมิทรีย์ เมดเวเดฟ ก็ได้ประกาศนโยบายสำคัญได้แก่การทำประเทศให้ทันสมัยในบทความเดือนกันยายนปี 2009 ชื่อ "เดินหน้า รัสเซีย" (Go Russia!)
เขาได้ชี้ว่ารัสเซียล้าหลังกว่าประเทศพัฒนาแล้วทั้งทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ สาเหตุมาจากคอร์รัปชั่น เศรษฐกิจที่มีฐานจากการส่งออกวัตถุดิบซึ่งที่สำคัญคือน้ำมันและแก๊ส และจิตใจของชาวรัสเซียที่ถือว่าธุระไม่ใช่

เขาได้นำเสนอเรื่องนี้อีกครั้ง ในสมัชชานโยบายโลก (World Policy Forum) ครั้งที่ 2 จัดที่เมืองยาโรสลาโวล (Yaroslavl) ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน

2010 มีแกนเรื่องว่า "รัฐสมัยใหม่" (Modern State : Standards of Democracy and Efficiency)
การทำให้ทันสมัยหรือการเป็นรัฐสมัยใหม่มีองค์ประกอบ 2 ประการคือการเป็นประชาธิปไตยและความมีประสิทธิภาพเมดเวเดฟเห็นว่า "การทำให้ทันสมัยจะทำให้สำเร็จได้โดยประชาชนที่เสรีเท่านั้น" มันหมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่ใช่เป็นเรื่องของพรรคการเมืองเท่านั้น

ในด้านประชาธิปไตย เขาเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นเงื่อนไขสำคัญของการพัฒนาของรัสเซีย แต่เขาไม่เห็นด้วยกับประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาที่กำลังปฏิบัติในคีร์กีสถาน ว่าจะนำความหายนะมาให้รัสเซียควรทำในระบบกึ่งประธานาธิบดีอย่างที่ปฏิบัติอยู่และความยากจนเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อประชาธิปไตย ทางแก้ก็คือ การสร้างความมีประสิทธิภาพขึ้น ซึ่งจะต้องมีมาตรฐานที่ยอมรับกันได้ทั่วไป ทั้งหมดก็เพื่อให้รัสเซียก้าวพ้นจากการพึ่งพาการส่งออกวัตถุดิบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" (ดูบทความชื่อ Medvedev"s Modernization Program on Show ใน New Europe, 120910)

การทำให้ทันสมัยยังหมายถึงการที่รัสเซียสร้างความสัมพันธ์อย่างทั่วด้านทั้ง สหรัฐ ยุโรปตะวันตก และประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างเช่น จีน เป็นต้น

ในทางปฏิบัติอาจกล่าวได้ว่านโยบายทำให้ทันสมัยนี้มีเนื้อหาสำคัญอยู่ 3 ประการคือ

ก) รัฐบาลที่ไม่เหินห่างประชาชน ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทันกาล

ข) รัฐบาลที่มีมิตรทั่วโลก ไม่โดดเดี่ยวเหมือนสมัยโซเวียต และ

ค) พ้นจากการพึ่งพิงการส่งออกวัตถุดิบ ซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด


บริษัทและตัวเลขสำคัญ

เพื่อให้เห็นภาพกว้างเกี่ยวกับอุตสาหกรรมน้ำมัน (รวมแก๊สธรรมชาติ ในที่อื่นเมื่อกล่าวถึงท่อส่งน้ำมันก็รวมถึงท่อส่งแก๊สด้วย) ของรัสเซีย ควรจะได้รู้จักกับบริษัทที่ผูกขาดกิจการด้านนี้ซึ่งมีอยู่ไม่มาก แต่มีบริษัทลูกและการร่วมลงทุนที่ซับซ้อน ที่ลึกไปกว่าตัวบริษัทก็คือผู้บริหารระดับสูงใน

บริษัทและรวมทั้งในภาครัฐบาล ส่วนตัวเลขสำคัญมีส่วนชี้ให้เห็นทิศทางการผลิตและการส่งออก

1) บริษัททรานสเนฟท์ (Transneft) เป็นรัฐวิสาหกิจก่อตั้งปี 1993 ผูกขาดระบบท่อส่งน้ำมันทั้งประเทศที่ยาวราว 5 หมื่นกิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุดในโลก

เป็นผู้ลำเลียงน้ำมันราวร้อยละ 93 ที่ผลิตได้ในรัสเซีย พยายามรักษาการผูกขาดนี้ไว้ด้วยวิธีการต่างๆ คู่แข่งสำคัญกลายเป็นบริษัทผูกขาดค้าแก๊ส

และน้ำมันของรัฐ เช่น แก๊สพรอม

2) บริษัทแก๊สพรอม (Gazprom) เป็นรัฐวิสาหกิจก่อตั้งปี 1989 เป็นผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติใหญ่ที่สุดของโลก ราวร้อยละ 17 ของการผลิตของโลก และ

เป็นบรรษัทใหญ่ที่สุดของรัสเซีย และรัสเซียเองก็มีแหล่งสำรองแก๊สธรรมชาติสูงสุดของโลกด้วย

บริษัทนี้ปรากฏเป็นข่าวบ่อยจากการพิพาทกับประเทศที่เคยร่วมสหภาพโซเวียต เช่นยูเครน การซื้อกิจการบริษัทแก๊สอื่นรายสำคัญในปี 2005 ได้แก่

ซิปเนฟต์ (Sibneft) ทำกิจการซื้อแก๊สที่ผลิตได้ในประเทศเพื่อนบ้าน มีบริษัทลูกอีกนับร้อย และร่วมมือกับต่างประเทศในการวางท่อส่งแก๊สไปยัง

ยุโรปตะวันตก

3) บริษัทรอสเนฟต์ (Rosneft) เป็นรัฐวิสาหกิจน้ำมันของรัฐ (รัฐบาลมีหุ้นกว่าร้อยละ 75) ก่อตั้งปี 1993 ผ่านการล้มลุกคลุกคลาน ต่อมาฟื้นตัวจาก

การปรับการบริหารและการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้ทยานขึ้นเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของรัสเซียเมื่อซื้อกิจการของบริษัทน้ำมันยูโกส (Yukos)

ในปี 2007 พร้อมกับขยายการผลิตขึ้นโดยลำดับ และในปี 2011 ได้เป็นข่าวใหญ่ในการไขว้หุ้น (swap)กับบริษัทน้ำมันใหญ่บีพีของอังกฤษ โดยรอ

สเนฟต์เข้าไปถือหุ้นร้อยละ 5 ของบีพี และบีพีเข้ามาถือหุ้นร้อยละ 9.5 ของรอสเนฟต์ และมีแผนจะลงทุนสำรวจขุดเจาะน้ำมันร่วมกันในทะเล

อาร์กติกด้วย

นอกจากนี้ ยังร่วมลงทุนสำรวจขุดเจาะน้ำมันในทะเลดำกับบริษัทน้ำมันใหญ่ของสหรัฐคือเอกซอนโมบิล

ปัจจุบันข่าวบางกระแสระบุว่า รอสเนฟต์ได้กลายเป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุดของรัสเซีย โดยในปี 2009 ผลิตน้ำมันได้ 2.18 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น

5 เท่าในรอบ 5 ปี และกำไรปี 2010 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67

4) บริษัทลุกออยล์ (Lukoil) เคยถือว่าเป็นบริษัทน้ำมันใหญ่ที่สุดของรัสเซีย เกิดขึ้นจากการรวมตัว 3 บริษัทน้ำมันเข้าด้วยกันในปี 1991 ในปี 1994

ได้ขายหุ้นเป็นบริษัทมหาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผลิตและกลั่นน้ำมันได้ร้อยละ 19 ของที่ผลิตได้ในประเทศ เป็นผู้เสียภาษีรายใหญ่

ที่สุดของประเทศ ปี 2009 ตก 21.5 พันล้านดอลลาร์

ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทน้ำมันใหญ่ของตะวันตก และลงทุนในกิจการน้ำมันและด้านอื่นๆ ในหลายประเทศ มีความสัมพันธ์ไม่สู้ดีนักกับรัฐบาล ในปี

2006 ถูกคุกคามว่าจะยกเลิกสัมปทาน 19 แปลง จากที่ได้กว่า 400 แปลง

สำหรับตัวเลขการผลิตนั้นพบว่าตั้งแต่1998 เริ่มฟื้นตัวทางการผลิต ขยับสูงจนใกล้กับที่เคยสูงสุด เมื่อถึงปี 2009 ได้กลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่

ที่สุดของโลก ในเดือนมกราคม 2011 รัสเซียผลิตน้ำมันได้ 10.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่การส่งออกน้ำมันลดลงเหลือ 5.15 ล้านบาร์เรลต่อวันลดลง

ร้อยละ 2.4

ลูกค้าสำคัญได้แก่ประเทศในยุโรปตะวันตก ยุโรปตะวันออก และประเทศที่เคยร่วมเป็นสหภาพโซเวียต และปัจจุบันกำลังขยายมาสู่เอเชียตะวัน

ออกเฉียงเหนือ



การเมืองเรื่องน้ำมันในรัสเซีย

การเมืองเรื่องน้ำมันในรัสเซียมีความลึกลับซับซ้อน เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์มหาศาล มีเรื่องราวใหญ่หลายเรื่อง จะยกตัวอย่างใน 4 กรณีได้แก่

ปัญหาเศรษฐีน้ำมันกับรัฐบาล กรณียูเครน ท่อส่งน้ำมันใต้น้ำเหนือและใต้ ท่อส่งน้ำมันไซบีเรียตะวันออก-แปซิฟิก

ก) เศรษฐีน้ำมันกับรัฐบาล เศรษฐีน้ำมันที่มีปัญหาพิพาทกับรัฐบาลที่สำคัญได้แก่ มิกาอิล โคดอร์กอฟสกี (Mikhail Khodorkovsky)

เศรษฐีที่รวยที่สุดในรัสเซีย เจ้าของบริษัทน้ำมันยูโกส (Yukos) โดยได้หุ้นราคาถูกสมัยแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เขามีความทะเยอทะยานทางการเมือง ใน

เดือนเมษายน 2003 ประกาศแผนรวมกับบริษัทน้ำมันเอกชนอีกแห่งคือ ซิบเนฟต์ (Sibneft) ทั้งจะร่วมลงทุนกันแอกซอนโมบิล และเชรอฟ-เท็กซาโก

บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ หวังจะผูกขาดกิจการน้ำมัน และจะเข้าครองอำนาจรัฐ

ต่อมาในเดือนกรกฎาคมถูกจับในข้อหาฉ้อโกงซื้อหุ้นราคาถูกและโกงภาษี ถูกพิพากษาจำคุก บริษัทยูโกสถูกขายทอดตลาด อีกผู้หนึ่งได้แก่ บอริส

เบเรซอฟสกี (Boris Berezovsky) เจ้าของบริษัทน้ำมันซิบเนฟต์ (Sibneft) ทั้งยังเป็นเจ้าพ่อทางสื่อมวลชนอีกด้วย

เมื่อเผชิญหน้ากับรัฐบาลเขาเลือกที่จะลี้ภัยไปอังกฤษจนถึงปัจจุบัน ต่อมาบริษัทแก๊สพรอมมาซื้อกิจการไปในปี 2006

ข) กรณีพิพาทกับยูเครนและเบลารุส รัฐทั้งสองเคยอยู่ร่วมในสหภาพโซเวียตและเป็นทางผ่านลำเลียงน้ำมันจากรัสเซียไปยังยุโรป ยูเครนยังมีประวัติ

เป็นที่เริ่มต้นของอุตสาหกรรมแก๊สโซเวียตตั้งแต่ทศวรรษ 1920 ทำให้มีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออุตสาหกรรมนี้เป็นอันมาก

ยูเครนเองใช้แก๊สสูง ขณะที่แก๊สที่ผลิตได้ในยูเครนน้อยลง จำต้องพึ่งแก๊สจากรัสเซียมากขึ้น

เมื่อยูเครนแยกตัวเป็นอิสระในปี 1991 รัสเซียก็ยังคงส่งแก๊สให้อย่างสม่ำเสมอ แต่รัสเซียก็เริ่มเจรจาที่จะขายแก๊สให้ในราคาตลาด ซึ่งก็ดูไม่ได้ผลมาก

เนื่องจากยูเครนเห็นว่ารัสเซียต้องอาศัยยูเครนเป็นทางผ่านส่งออกแก๊สถึงร้อยละ 80

เมื่อเกิดการปฏิวัติส้มในปี 2004 ยูเครนได้หันไปหาตะวันตกและนาโตมากขึ้น กรณีพิพาทได้ปะทุถึงขั้นรัสเซียหยุดการส่งแก๊สผ่านยูเครนในเดือน

มกราคม 2006 จนกว่ายูเครนจะยอมชำระหนี้ค่าแก๊สที่ค้างอยู่

อียูคิดจะให้เงินกู้แก่ยูเครนเพื่อที่จะสร้างระบบท่อส่งแต่ไม่สำเร็จ เพราะแก๊สเป็นของรัสเซีย ต่อมารัสเซียได้หยุดส่งแก๊สไปยูเครนอีก

เมื่อนายยานูโกวิชที่เป็นมิตรกับรัสเซียมากกว่าได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ยูเครนในปี 2010 คาดหมายว่ากรณีพิพาทน่าจะคลี่คลายไปในทางดีขึ้น

ทั้งนี้ โดยที่ยูเครนต้องชำระหนี้และซื้อแก๊สในราคาตลาด


สำหรับกรณีเบลารุส รัสเซียมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างดี แต่รัสเซียต้องการจะขายแก๊สให้แก่เบลารุสในราคาตลาดโลก ไม่ใช่ราคาที่ขายให้แก่

ประชาชนรัสเซีย รวมทั้งความไม่พอใจเรื่องอื่น ได้หยุดส่งน้ำมันไปยังโปแลนด์และเยอรมนี โดยผ่านเบลารุสในเดือนมกราคม 2007 รัสเซียส่ง

ออกน้ำมันราว 1 ใน 5 ผ่านเบลารุส

ผลจากการพิพาทนี้ทำให้รัสเซียประกาศแผนวางท่อน้ำมันใหม่มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ระยะทางยาว 1 พันกิโลเมตรโดยไม่ผ่านเบลารุสไปยังทะเล

บอลติก เรียกว่าระบบท่อบอลติก 2 (Baltic Pipeline System 2) จะส่งน้ำมันราวร้อยละ 6 ของที่ผลิตได้ในรัสเซีย

ต่อมารัสเซีย ยังพิพาทกับกับเบลารุสอีก ครั้งนี้เกี่ยวกับแก๊สในปี 2010 สะท้อนว่าเรื่องของน้ำมันและแก๊สนั้นไม่ใช่สิ่งล้อเล่น แม้จะมีความสัมพันธ์

กันอย่างดีแล้วก็ตาม

อนึ่ง ในเดือนมกราคมหน้าหนาวปี 2006 ได้เกิดเหตุระเบิดท่อส่งแก๊สไปจอร์เจียและอาร์เมเนีย ทางการรัสเซียปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง และช่วงสง

ครามรัสเซีย-จอร์เจียปี 2008 ก็มีการทิ้งระเบิดท่อส่งน้ำมันผ่านจอร์เจียไปยังยุโรป

ค) กรณีท่อส่งน้ำมันใต้น้ำตอนใต้และตอนเหนือ ทั้ง 2 กรณีแสดงถึงความพยายามของรัฐบาลรัสเซียที่จะผูกขาดและไม่ยอมเป็นเบี้ยล่างตะวันตกใน

การขนส่งน้ำมัน กล่าวคือ ตะวันตกต้องการให้วางท่อผ่านตุรกีที่อยู่ในองค์การNATO และเป็นชุมทางผ่านของแก๊สรัสเซียไปสู่ยุโรปอยู่แล้ว แต่รัส

เซียสามารถไปตกลงกับบัลแกเรีย สร้างระบบท่อส่งแก๊สธรรมชาติสายใต้ (South Stream) มูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์ ลอดทะเลดำผ่านบัลแกเรียไป

ยังยุโรปโดยตรง ไม่ผ่านตุรกี ที่รัสเซียทำเช่นนี้ได้เพราะว่าได้เป็นผู้ผูกขาดตลาดพลังงานในบัลแกเรียไว้ทั้งระบบ

สำหรับเส้นทางนอร์ดสตรีม (Nord Stream) ซึ่งเป็นท่อส่งแก๊สใต้น้ำที่ยาวที่สุดในโลก ระยะทาง 1.2 พันกิโลเมตรผ่านทะเลดำจากวีเบิร์ก (Vyborg)

เมืองชายแดนติดกับฟินแลนด์ใกล้เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กไปยังเยอรมนีโดยตรง ไม่ผ่านยูเครนที่หันไปผูกมิตรกับสหรัฐและNATOมากเกินไป

ง) การเปิดท่อไซบีเรียตะวันออก-แปซิฟิก (East Siberia- Pacific Ocean - ESPO Pipeline) ในเดือนมกราคม 2011 นับเป็นการนำน้ำมันสู่ตะวันออก

ครั้งสำคัญ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ-การเมืองโลก


การเมืองเรื่องน้ำมันของรัสเซีย สรุปก็คือ เป็นความพยายามผูกขาดกิจการน้ำมันโดยรัฐ การวางตัวเป็นมหาอำนาจพลังงานนอกกลุ่มโอเปกและ

นอกการควบคุมของตะวันตก และการเปิดตลาดใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับปัญหาความยุ่งยากไม่น้อย

เมื่อถึงปี 2008 กล่าวได้ว่า รัสเซียบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และจะก้าวต่อไปในกระบวนการทำให้ทันสมัยที่ยากกว่า

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS