RSS

ความหมายของการคลังสาธารณะ (fiscal policy)

ความหมายของการคลังสาธารณะ (fiscal policy)

การคลังสาธารณะ (fiscal policy) คือ การกำหนดนโยบายทางการคลังเพื่อดำเนินงานการคลังด้านรายได้และรายจ่ายของรัฐ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนควบคุมประเภทการใช้จ่ายของรัฐบาล หรือการก่อหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบต่อระบบสังคมเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศผ่านกลไกนโยบายรัฐ ทั้งด้านการผลิต การบริโภค การแจกจ่าย การแลกเปลี่ยนสินค้า สร้างสินค้าสาธารณะ และการบริการสังคม โดยนโยบายการคลังนับเป็นการแสวงหา และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลที่มีวัตถุประสงค์ หรือเป้ าหมายที่แน่นอนในระยะสั้น ซึ่งการจัดสรรทรัพยากร
(allocation of resource) เป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเภทหนึ่งโดยรัฐบาลควรเข้าแทรกแซงตลาดด้วยการจัด สรรทรัพยากรสนองตอบความต้องการทางสังคม ได้แก่ ตลาดมีการผูกขาด การจัดสินค้าบริการสาธารณะสินค้าที่มีผลกระทบต่อภายนอก สินค้าที่ผูกขาดโดยธรรมชาติ เพื่อจัดดุลยภาพด้านบริการสาธารณะ (สมรักษ์ รักษาทรัพย์ และถวิล นิลใบ, 2543, หน้า 29-35)

ดังนั้น ภาระหน้าที่ของรัฐบาลทางเศรษฐกิจจะผูกพันกับนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง เพื่อการจัดสรรคุณค่า ทรัพยากร และงบประมาณสู่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ (1) การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคมที่มีอยู่จำกัดให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์ สูงสุด (2) การกระจายรายได้และสร้างความเป็นธรรมในสังคม ซึ่งรัฐบาลต้องทำหน้าที่ในการจัดระบบ และกำหนดวิธีการในการกระจายรายได้เพื่อให้ประชาชนสามารถบริโภคสินค้า หรือบริการที่ต้องการหรือจำเป็นได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยใช้การจัดสรรงบประมาณ หรือมาตรการทางด้านภาษีเป็นเครื่องมือดำเนินการ (3) การรักษาเสถียรภาพ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือในการรักษาระดับราคาสินค้า และบริการ หรือจัดสรรงบประมาณ หรือลดภาษีอากรเพื่อกระตุ้นการผลิตสินค้า หรือบริการบางประเภทให้สูงยิ่งขึ้น


การบริหารการคลังสาธารณะกับการเมือง

การบริหารการคลังสาธารณะเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ เรียกว่า เศรษฐศาสตร์การเมือง เพราะนโยบายการคลังเป็นการกำหนดแหล่งรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายการดำเนินงานของ รัฐบาลให้เป็นไปตามนโยบาย และการกำหนดนโยบายสาธารณะควรจะเป็นไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น การสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ผลประโยชน์ของการดำเนินการทางการคลังจึงควรเน้นที่ประโยชน์สาธารณะ (public interest)

ระบบการเมืองเป็นเรื่องของการแบ่งสรรค่านิยม และประโยชน์ของทรัพยากรที่มีอยู่ในสังคม ดังนั้น นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงจึงเป็นกลุ่มชนชั้นนำ (elite group) ที่เป็นผู้ตัดสินใจกำหนดว่าผลประโยชน์ และทรัพยากรจะแบ่งสันปันส่วนร่วมกันอย่างไร เท่าไร และเมื่อใด อันเป็นผลจากการต่อรอง และเจรจาประนีประนอมระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ทางการเมือง งบประมาณแผ่นดินจึงเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญในการบริหารการคลังสาธารณะ นับได้ว่าเป็นผลผลิตของการขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองเพราะงบประมาณแผ่น ดิน คือหัวใจของกระบวนการทางการเมือง


บรรณานุกรม

สุภัทร จำปาทอง. (2553, หน้า 41-42). การนำนโยบายเงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไปปฏิบัติ. ดุษฎีนิพนธ์, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมรักษ์ รักษาทรัพย์ และถวิล นิลใบ. (2543). วิเคราะห์เศรษฐกิจประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS