RSS

ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย

ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตย

ในสถานการณ์การเมืองไทยที่ยังฝุ่นตลบอยู่ในขณะนี้ หลายท่านอาจเคยได้ยิน ทฤษฎีสองนคราประชาธิปไตยวันนี้ผมจะมาขยายความให้ฟังกันครับ

ทฤษฎี สองนคราประชาธิปไตยเป็นบทสรุปจากงานวิจัยของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยเขาได้ตั้งข้อสังเกตถึงความแตกต่างของสองพฤติกรรม สองความคิด สองความต้องการของชาวนาชาวไร่ภาคชนบทและชนชั้นกลางชาวเมืองว่า
เป็นเพราะเกษตรกรชาวนาชาวไร่ในภาคชนบทเป็นได้เพียง ฐานเสียงและเป็นผู้ตั้งรัฐบาลโดยอาศัยคะแนนเสียงอันท่วมท้นในการเลือกตั้ง ขณะที่ชนชั้นกลางเป็น ฐานนโยบายและมักจะเป็น ผู้ล้มรัฐบาล โดยการวิพากษ์วิจารณ์ และก่อกระแสกดดัน ประท้วงขับไล่รัฐบาล

กอปร กับการประสานสอดรับกับการกระหน่ำโจมตีรัฐบาลของสื่อมวลชน ตลอดจนการกดดันของคณะทหาร เปรียบเสมือนสองนคราประชาธิปไตยที่ขัดแย้งกันอยู่ 

ประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่ ดร.อเนก เสนอเพื่อแก้ไขปัญหาสองนครา ก็คือประเด็นที่ว่า

(1)
ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เพียงแต่ ล้มรัฐบาลได้ หากแต่สามารถ ตั้งรัฐบาลได้ด้วย

(2)
ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เพียงแต่ ตั้งรัฐบาลได้ หากสามารถ ควบคุมและ ถอดถอนรัฐบาลนั้นได้เช่นกัน

(3)
ทำอย่างไรชนชั้นกลางจึงไม่เป็นเพียง ฐานนโยบายหากเป็น ฐานเสียงของพรรคการเมืองได้ด้วย

(4)
ทำอย่างไรเกษตรกรชาวนาชาวไร่จึงไม่เป็นเพียง ฐานเสียงหากเป็นฐานนโยบายได้เช่นกัน และโดยส่วนตัวผมเองนั้น อยากจะเสนออีกสักข้อหนึ่ง เป็นข้อที่

(5)
คือ ทำอย่างไรให้การเมืองของนักการเมืองหรือที่เรียกขานกันว่าระบอบประชาธิปไตย แบบตัวแทน (representative democracy) เปลี่ยนไปสู่การเมืองภาคประชาชน (participatory democracy) ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในระดับที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับเงื่อนไขที่สำคัญสองประการ คือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง 
เนื่องจากกว่าตาม หลักการของการเมืองไทยปัจจุบัน แม้ว่าจะมีนัยเป็นแบบตะวันตก แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ยังแฝงไว้ด้วยกลิ่นอายแบบไทยๆ ที่ยังคงไว้ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า โดยเสียงส่วนใหญ่ตัดสินได้แค่ความต้องการ แต่ไม่สามารถตัดสินความถูกต้องได้ เพราะคุณภาพของการตัดสินใจยังไม่สูงพอ วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์

ตราบใดที่ยังแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ ประชาธิปไตยไทยก็เป็นสองนคราอย่างนี้ต่อไปตราบนานเท่านาน อย่างไม่มีที่สิ้นสุดในสังคมไทย
(อ้างอิงที่มาจาก http://share.psu.ac.th/blog/pisan-surat/2681)

"จากแนวคิดข้างต้นทั้งหมดสะท้อนความเป็นจริง ของสังคมไทยว่า "จริง ๆ เรายังไม่เป็นประชาธิปไตย" เพราะในระบบการเมืองการปกครองของเรายังไม่มีการยอมรับในความเท่าเทียมของ ความเป็นมนุษย์ ความเท่าเทียมของความเป็นมนษย์ก็คือการมีความเชื่อมั่นตามแนวคิดปรัชญามนุษย นิยม (Humanism) ที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันหมดเสมอภาคกันหมด ไม่เว้นเชื้อชาติ ศาสนา ไม่เว้นยากดีมีจน ..แต่ถ้าเมื่อใดสังคมยังมองว่าคนชั้นล่างหรือชาวไร่ชาวนาเป็นคนที่มีความคิด การกระทำที่มีมาตรฐานไม่เท่าเทียมกันคนชั้นอื่น..มันสะท้อนว่าคนเราไม่เท่า เทียมกัน ดังนั้นการยอมรับการกระทำหรือพฤติกรรมของชนชั้นต่ำจึงไม่เกิดขึ้น กลับมองว่าคนชั้นต่ำทำอะไรก็ผิดไม่ถูกต้องไม่เหมาะสม..นั่นคือความขัดแย้ง ทางชนชั้นอย่างชัดเจน สังคมไทยในปัจจุบันมันติดขัดอยู่ตรงนี้ประชาธิปไตยจึงเดินไปไม่ได้ องค์การ ฮิวแมนไรท์วอทช์ จึงได้จัดอันดับความเป็นประชาธิปไตยของไทยไว้ว่าเป็นประเทศที่ยังไม่เป็น ประชาธิปไตย แต่อยู่ในกลุ่มกำลังพัฒนาประชาธิปไตยเท่านั้น.." (Berzatoo 2553)

 สืบค้นเมื่อ 8 มีนามคม 2555


  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS