RSS

ความหมายของนโยบายสาธารณะ ต่อ

ความหมายนโยบายสาธารณะของพิทยา บวรวัฒนา และ ศุภชัย ยาวะประภาษ

นโยบายสาธารณะ เป็นวิชาที่พยายามศึกษาว่ารัฐบาลเลือกทำ และไม่ทำอะไร เพราะเหตุใด รัฐบาลมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร และการกระทำของรัฐบาลก่อให้เกิดผลอะไรบ้าง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การศึกษานโยบายสาธารณะ เป็นไปเพื่อทราบเหตุและผลของนโยบาย เหตุของนโยบายมีอะไรบ้าง ปัจจัยอะไรบ้างเป็น ตัวกำหนดนโยบาย ผลของนโยบายสารธารณะมีอะไรบ้าง นโยบายของรัฐบาลสามารถแก้ไขบรรเทาป้ญหาในสังคมมากน้อยแค่ไหนอย่างไร (พิทยา บวรวัฒนา, 2529)
นโยบายสาธารณะ หมายถึงกิจกรรมทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นระดับใด ในหน่วยงานใด ล้วนมีกำเนิดมาจากความคิดอันเป็นกรอบนำทางว่า ควรจะทำอะไร ที่ไหน และอย่างไร หากปราศจากความคิดที่ชัดเจน การกระทำที่ตามมาคงปราศจากทิศทางที่ แน่นอน ชัดเจน ในการดำเนินกิจการของรัฐบาล ความคิด หรือเจตนารมณ์ ก็เกิดขึ้นก่อน เช่นเดียวกัน จากนั้นค่อยๆ พัฒนาชัดเจนขึ้น กลายเป็นกรอบกำหนดทิศทาง และแนวดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาล ซึ่งในความหมายกว้างๆ ก็คือ นโยบายของรัฐบาล หรือนโยบายสาธารณะนั่นเอง(ศุภชัย ยาวะประภาษ,2530)

สำหรับนักวิชาการต่างประเทศ ก็ได้ให้ความหมายของคำว่า "นโยบายสาธารณะ" ดังนี้ สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำ หรือไม่กระทำ (Dye, 1984)
นโยบายสาธารณะหมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาล หรือองค์กรของรัฐจัดทำขึ้น อาทิ การจัดบริการสาธารณะ การออกกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายต่างๆ และ การจัดพิธีกรรมอันถือเป็นสัญลักษณ์ของสังคมเป็นต้น (Scharkansky, 1970)


บรรณานุกรม

พิทยา บวรวัฒนา. (2529). รัฐประศาสนศาสตร์: ทฤษฎี และแนวการศึกษา (ค.ศ. 1970-1980). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2530). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์.

Dye, T. R. (1984). Understanding public policy (5th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Scharkansky, I. (1970). Policy analysis in political science. Chicago: Markham.

พร รณิลัย นิติโรจน์. (2551). การนำนโยบายการจัดระเบียบหาบเร่แผงลอยกรุงเทพมหานครไปปฏิบัติ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ความหมายนโยบายสาธารณะ

Dye (1984, pp. 1-3)ได้ ให้ความหมายของคำว่า นโยบายสาธารณะไว้ว่า เป็นกิจกรรมที่รัฐบาลสามารถเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้ สำหรับส่วนที่รัฐเลือก ที่จะกระทำนั้นจะครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหมดของรัฐบาลทั้งกิจกรรมที่เป็นกิจวัตร และที่เกิดขึ้นในบางโอกาส ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้กิจกรรมที่รัฐบาลเลือกที่จะกระทำบรรลุเป้าหมายด้วยดี ในการให้การบริการแก่สมาชิกในสังคมในส่วนที่รัฐบาลเลือกที่จะไม่กระทำก็ถือ ว่าเป็นสาระสำคัญของนโยบาย และยังได้กล่าวถึงคุณสมบัติ เป้าหมายของ นโยบายสาธารณะเพิ่มเติมอีก ดังนี้

1. สามารถทำการประเมินผลกระทบต้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อนโยบายได้
2. สามารถวิเคราะห์ถึงปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนโยบายโดยขบวนการทางการเมือง
3. สามารถตรวจสอบผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดจากนโยบายที่เป็นผลมาจากระบบการเมือง
4. สามารถทำการประเมินผลกระทบจากนโยบายที่มีต่อสังคมทั้งในเชิงที่คาคคิค ประมาณการไว้แล้วและผลที่จะเกิดโดยไม่ได้คาคคิด

Friedrich (1963, p. 70) ได้ให้ความเห็นว่า นโยบายสาธารณะ คือ ชุดของข้อเสนอ ที่เกี่ยวกับการกระทำของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือรัฐบาลภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ประกอบไปด้วย ปัญหาอุปสรรคและโอกาส ซึ่งนโยบายจะถูกนำเสนอเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของประชาชน การกำหนดนโยบายนั้นมิได้เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันด่วน แต่นโยบายส่วนใหญ่จะต้องผ่านการพิจารณาเป็นขั้นตอน ซึ่งจะมีฝ่ายบริหารเข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญกับฝ่ายการเมืองในการกำหนดนโยบาย

Eyestone (1971, p. 18) ได้ให้ความหมายว่า นโยบายสาธารณะ คือ ความสัมพันธ์ ระหว่างองค์การของรัฐกับสิ่งแวดล้อมขององค์การ ซึ่งเป็นความหมายที่ค่อนข้างกว้างและยากที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริง เพราะสิ่งแวดล้อมขององค์การอาจหมายถึง สิ่งแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ส่วนองค์การของรัฐ อาจมีความหมายครอบคลุมองค์การ ทั้งหมดของรัฐ ส่วนลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การของรัฐกับสิ่งแวดล้อมของ องค์การก็อาจมีหลายลักษณะ

Lasswell and Kaplan (1970, p. 71) ให้ความหมายไว้ว่านโยบายสาธารณะหมายถึง การกำหนดเป้าประสงค์ (goals) ค่านิยม (values) และการปฏิบัติ (practices) ของโครงการของรัฐ เป็นการระบุอย่างชัดเจนว่า กิจกรรมที่เป็นแผนงานหรือโครงการของรัฐที่เรียกว่า นโยบายสาธารณะนั้น จะต้องสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม รวมถึงแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย แนวความคิดของ Lasswell and Kaplan จึงให้ความชัดเจนเกี่ยวกับ สาระสำคัญของนโยบายสาธารณะพอสมควร

Easton (1953, p. 129) ให้ทัศนะว่านโยบายสาธารณะหมายถึง อำนาจในการจัดสรร คำนิยมของสังคมทั้งหมดและผู้ที่มีอำนาจในการจัดสรร ก็คือ รัฐบาลและสิ่งที่รัฐบาล ตัดสินใจที่จะกระทำหรือไม่กระทำเป็นผลมาจากการจัดสรรค่านิยมของสังคม


บรรณานุกรม

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dye, T. R. (1984). Understanding public policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Easton, D. (1957). An approach to the analysis of political system. World Politics, 9(4), 383-400.

Eyestone, R. (1971). The threads of public policy: A study of policy leadership.New York: Bobbs-Merrill.

Friedrich, c. J. (1963). Man and his government. New York: McGraw-Hill.

Lasswell, H. D., & Kaplan, A. (1970). Power and society. New Haven, CT: Yale University Press.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS