RSS

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายสาธารณะ

ทฤษฎีชนชั้นผู้นำ (elite theory)

เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายถึง การกำหนดนโยบาย จากความปรารถนาและความต้องการของชนชั้นผู้นำประเทศเนื่องจากประเทศถูกปกครอง ด้วยระบอบอำนาจนิยมเป็นของผู้ปกครองประเทศแต่ผู้เดียว ซึ่งผู้นำในระบอบนี้ใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จหรือแบบเผด็จการ หรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ฯลฯ เพราะหลักการของตัวแบบชนชั้นผู้นำที่ใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดนโยบาย สาธารณะ จะให้ความสำคัญกับบทบาทหรืออิทธิพลของชนชั้นผู้นำหรือชนชั้นผู้ปกครอง ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ นโยบายสาธารณะอย่างเด็ดขาด โดยชนชั้นปกครองเหล่านี้จะยึดถือความพึงพอใจ (preference) หรือค่านิยม (values) ของตนเอง
และพวกพ้องที่ใกล้ชิดเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจนโยบาย ด้วยเหตุนี้นโยบายจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความพอใจหรือค่านิยม ส่วนตัวของชนชั้นผู้นำโดยตรง ข้าราชการเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่นำนโยบายที่กำหนดโดย ชนชั้นผู้นำไปสู่ประชาชนเท่านั้น ทิศทางของการกำหนดนโยบายจึงเป็นทิศทางแบบ แนวดิ่ง (vertical) จากชนชั้นผู้ปกครองลงมาสู่ประชาชน

บรรณานุกรม

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทฤษฎีเกี่ยวกับกลุ่ม (group theory)

ทฤษฎีเกี่ยวกับกลุ่ม (group theory)



บรรณานุกรม

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2544). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

17 มกราคม 2554


ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายการกำหนด นโยบายสาธารณะที่มาจากระบอบการเมือง ที่ประกอบไปด้วย กลุ่มผลประโยชน์ที่ต่างช่วงชิงอำนาจและผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (2544, หน์า 20) ได้อธิบายแนวคิดนี้ไว้ว่า เปรียบเสมือนระบอบที่มีแรงผลักดันและแรงกดดันที่กระทำปฎิสัมพันธ์ต่อกันในการกำหนดนโยบายสาธารณะ

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ (2544, หน้า 208-209) กล่าวว่า แนวคิดสำคัญของตัวแบบ ดุลยภาพระหว่างกลุ่ม ถือว่านโยบายสาธารณะ คือ ผลของความสมดุลของการต่อสู้ระหว่างกลุ่ม ความสมดุลเหล่านี้เกิดขึ้นจากอิทธิพลระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ที่ตกลง ประนีประนอมกับการเปลี่ยนแปลง อิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ใดที่คาดหมายได้ว่า จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้อง และนโยบายจะถูกเปลี่ยนทิศทาง ไปสู่กลุ่มที่มีอิทธิพลมากกว่า ส่วนกลุ่มที่มีอิทธิพลน้อยกว่าจะเป็นผู้สูญเสิยผลประโยชน์
ตัวแบบดุลยภาพระหว่างกลุ่มจะให้คำอธิบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับกิจกรรมทางการ เมืองในรูปแบบของการต่อสู้ระหว่างกลุ่มโดยผู้กำหนดนโยบายจะถูกพิจารณาว่า เป็น ผู้ที่ตอบสนองต่อความกดดันของกลุ่ม ได้แก่ การต่อรอง (bargaining) การประนีประนอม (compromising) การพยายามที่จะก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเสียงข้างมาก เพื่อให้การประนีประนอมประสบผลสำเร็จโดยง่าย โดยนัยนี้นักการเมืองที่เป็นตัวแบบของกลุ่มที่มีรากฐานกว้างขวางกว่าจะได้ เปรียบกลุ่มที่มีรากฐานที่เล็กกว่า ซึ่งสามารถแสดงภาพการต่อรองระหว่างกลุ่มดังปรากฎในภาพ

ทฤษฎีเชิงระบบ (system theory)


บรรณานุกรม

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Easton, D. (1953). The political system. New York: Knopf.

Easton, D. (1965). A system analysis of political life. New York: Wiley.

18 มกราคม 2554


ทฤษฎีเชิงระบบ (system theory) ทฤษฎีนี้เป็นการอธิบายให้เห็นถึงนโยบาย สาธารณะที่มาจากกรอบความคิดเชิงฐานคติเป็นระบบที่คำนึงถึงระบบของสิ่งมี ชีวิต ซึ่งจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดย Easton (1953, pp. 383-400) ได้นำมาประยุกต์ในการอธิบายการเมืองว่า การเมืองดำรงอยู่เสมือนชีวิตการเมือง (political life) ดังนั้น ชีวิตการเมืองจึงต้องดำรงอยู่อย่างเป็นระบบ ซึ่งประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างระบบการเมือง และสิ่งแวดล้อม (environment) ที่อยู่ล้อมรอบระบบการเมือง พลังของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อระบบการเมือง เรียกว่า ปัจจัยนำเข้า (input) ซึ่งเป็นเงื่อนไขหรือสถานการณ์สำคัญประกอบไปด้วยความต้องการ การเรียกร้องและการสนับสนุนของประชาชนและสังคม ส่วนระบบการเมืองเปรียบเสมือนกล่องดำ (black box) คือ กลุ่มของโครงสร้าง มีกิจกรรมทางการเมืองและการบริหารที่สัมพันธ์กัน ส่วนการใช้อำนาจในการบริหารตามค่านิยมของสังคม ประเพณี และกฎ ระเบียบต่างๆ (conversion process) เมื่อปัจจัยนำเข้าได้เข้ามาสู่กระบวนการของกล่องดำ ก็จะผลิตผลลัพธ์หรือผลผลิตออกมาเรียกว่า ปัจจัยนำออก (out put) ของระบบการเมือง หรือผลผลิตของระบบการเมือง และผลผลิตของระบบการเมืองนี้เองก็จะทำหน้าที่ส่งย้อนกลับเข้าสู่สิ่งแวดล้อม ในรูปของผลสะท้อนกลับหรือผลกระทบ (feed back) เพื่อสนองตอบความต้องการของสังคมและการสนับสนุนของประชาชนอันเป็นองค์ประกอบ สำคัญในการสร้างแรงผลักดันของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อระบบการเมือง เกิดความสัมพันธ์ แบบพลวัตร (dynamic system) โดยจะมีการปรับตัวเพื่อสร้างระบบให้มีความสมดุลพื่อให้ ชีวิตการเมืองดำรงอยู่ได้ตลอดไป (Easton, 1965, p. 112)



ทฤษฎีเกี่ยวกับสถาบัน (institutional theory)


           
ทฤษฎีเกี่ยวกับสถาบัน (institutional theory) แสดงให้เห็นถึงนโยบายสาธารณะ ในฐานะที่เป็นผลผลิตของสถาบันทางการเมือง โดยโครงสร้างของสถาบันทางการเมือง การจัดระเบียบในสถาบัน และขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ของสถาบันทางการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องต่อการกำหนดนโยบายและเนื้อหาสาระของนโยบายสาธารณะ (Anderson, 1994, pp. 31-32)ทฤษฎี สถาบันการเมืองเปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีเชิงระบบ ทั้งนี้ เพราะว่ากิจกรรมทางการเมืองโดยทั่วไป ล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันทางการเมืองทั้งสิ้น สถาบันทางการเมืองที่สำคัญเหล่านี้ ได้แก่ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ สถาบันการปกครองท้องถิ่น และสถาบันพรรคการเมือง เป็นต้น ซึ่งนโยบาย สาธารณะจะถูกกำหนดไปปฏิบัติและใช้บังคับโดยสถาบันเหล่านี้(สมบัติ ธำรงธัญวงศ์, 2544, หน้า 224)  ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายสาธารณะและสถาบันราชการจะดำเนินไปอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ นโยบายจะไม่มีผลเป็นนโยบายสาธารณะจนกว่านโยบายนั้นจะได้รับ ความเห็นชอบ ถูกนำไปปฏิบัติและใช้บังคับโดยสถาบันราชการที่รับผิดชอบหรือสถาบันราชการที่ มีบทบาทในการกำหนดคุณลักษณะของนโยบายสาธารณะ เพราะสถาบันราชการ เป็นผู้รับรองความชอบธรรม (legitimacy) ของนโยบาย เนื่องจากจะมีผลเป็นข้อผูกพัน ทางกฎหมายที่ประชาชนต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ยังต้องมีลักษณะของความครอบคลุม ทั้งสังคม (universality) และรัฐบาลเท่านั้นที่เป็นผู้ผูกขาดอำนาจการบังคับใช้ (coercion) กล่าวคือ มีแต่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถลงโทษผู้ฝ่าฝืนนโยบายหรือกฎหมายของรัฐได้ (Dye, 1984, pp. 20-21)
       
นอกจากทฤษฎีสถาบันทางการเมืองนี้แล้ว Lester and Stewart (2000) ได้ให้ ความสำคัญกับระบบราชการและตัวข้าราชการที่มีมุมมองที่เรียกว่า Subgovernment Perspective มีส่วนสำคัญและมีอิทธิพลยิ่งต่อการกำหนดนโยบายอีกด้วย โดยให้เหตุผลว่า การทำงานของ Subgovernment ประกอบไปด้วย บุคลากรที่มีการเชื่อมโยงกับนักการเมือง ผู้เชี่ยวชาญระบบสภาในการแก้ปัญหาสาธารณะ และระบบการทำงานของราชการและ นักวิชาการในการแก้ปัญหาสาธารณะ โดยนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งตัวเชื่อมโยงทั้ง 3 ส่วน คือ ตัวข้าราชการและองค์การที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีอิทธิพลต่อการดำเนินงานในนโยบายสาธารณะ (Lester & Stewart, 2000, pp. 74-75) อันเป็นส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องใกล้เคียงกับตัวแปรอีกตัวหนึ่ง ต่อการกำหนดนโยบาย

บรรณานุกรม

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2544). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Anderson, J. E. (1994). Public policy-making: An introduction (2nd ed.).
New York: Houghton.

Dye, T. R. (1984). Understanding public policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Lester, J. P., & Stewart, J. (2000). Public policy: An evolutionary approach (2nd ed.). Belmont, CA: Wadsworth.
ตัวแบบกระบวนการ (process model)

บรรณานุกรม

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dye, T. R. (1984). Understanding public policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

20
มกราคม 2554

         
ตัวแบบกระบวนการ (process model) เนื่องจากนโยบายสาธารณะ คือ ผลลัพธ์ ของกิจกรรมทางการเมือง โดยถือว่ากระบวนการและพฤติกรรมทางการเมือง คือ ศูนย์กลางของการศึกษานโยบายสาธารณะ การศึกษากิจกรรมทางการเมืองจึงมุ่งเน้นเกี่ยวกับ พฤติกรรมศาสตร์สมัยใหม่ เช่น ศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งกลุ่มผลประโยชน์ นักการเมือง ข้าราชการฝ่ายบริหาร และผู้พิพากษา มีวัตถุประสงค์สำคัญของการศึกษา เพื่อต้องการจำแนกรูปแบบของกิจกรรม (activities) หรือกระบวนการ (process) โดยพยายามที่จะจัดกลุ่มของกิจกรรมและพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทาง การเมือง กับนโยบายสาธารณะ ด้วยการกำหนดชุดของกระบวนการนโยบายสาธารณะไว้เป็นขั้นตอน (Dye, 1984, pp. 23-24) เช่น การจำแนกลักษณะของปัญหา (problem identification) การจัดทำทางเลือกนโยบาย (policy alternative) หรือข้อเสนอนโยบาย (policy proposals) การให้ความเห็นชอบนโยบาย (policy adoption or approvals) การนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementations) และการประเมินผลนโยบาย (policy evaluation) ) ความสัมพันธ์ของกระบวนการนโยบายสาธารณะดังกล่าวข้างต้น สามารถแสดงให้เห็นได้ดังปรากฎในภาพ


ตัวแบบเชิงเหตุผล (rational model)

หลักทฤษฎีตัวแบบเชิงเหตุผล(rational model) ในการศึกษา นโยบายสาธารณะดังที่ Dye (1978, pp. 142-148) ได้กล่าวไว้ว่า ในความเข้าใจของการตัดสินใจด้วยเหตุผล เป็นตัวแบบที่มุ่งเน้นคุณค่าของนโยบายสาธารณะที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์สูง สุดทางสังคม โดยใช้หลักของการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์เป็นสำคัญ คือ จะไม่มีการใช้นโยบายที่มีต้นทุนสูงกว่าค่าผลประโยชน์ และผู้ตัดสินในการเลือก นโยบายนั้นจะเลือกทางเลือกที่ให้ประโยชน์ตอบแทนต่อต้นทุนหรือการลงทุนของภาค รัฐที่สูงสุด เพื่อการนำนโยบายไปใช้ในการแก้ปัญหาของสังคมและประเทศชาติ ตลอดจน การปฏิบัติ โดยอาศัยการใช้ปัจจัยสำคัญในการเลือกนโยบายจาก ทฤษฎีการเลือกอย่างมี เหตุผล (rational-choice theory) ผสมผสานกับหลักของเหตุผลด้วย กล่าวคือ ทฤษฎีการเลือกอย่างมีเหตุผล เป็นการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลของผู้ตัดสินใจเพื่อบรรลุความพึงพอใจ สูงสุดของตนเอง โดยใช้หลักของเศรษฐศาสตร์จุลภาค (Downs, 1957) ปัจจัยที่สำคัญ อาจเป็นอิทธิพลที่สูงสุด ในการเปลี่ยนแปลงของนโยบายหรือการดำเนินการตามนโยบาย นั้นๆ ให้เหมาะสมกับสภาพของสิ่งแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภายใต้กรอบความคิดของตัวแบบ หลักเหตุผล นโยบายสาธารณะจะมีลักษณะของหลักการ เหตุผลก็ต่อเมื่อ ความแตกต่างระหว่างคุณค่าที่บรรลุและคุณค่าที่ต้องสูญเสียไปมีค่าเป็นบวก และมีค่ามากกว่าทางเลือกนโยบายอื่น ซึ่งค่าดังกล่าวมีความหมายถึง การคำนวณค่า คุณค่าทั้งทางการเงิน เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทั้งหมด (Dye, 1984, pp. 30-34)

ในการเลือกนโยบาย โดยยึดหลักเหตุผลนั้น ผู้พิจารณาเลือกนโยบายควร มีหลักต้องคำนึงถึง 5 ประการ คือ (1) ผู้พิจารณาต้องเข้าใจถึงคุณคำที่พึงปรารถนาของสังคมทั้งหมด และการให้นํ้าหนักความสำคัญของคุณค่าเหล่านั้น (2) ผู้พิจารณาต้องเข้าใจ ทางเลือกนโยบายที่เป็นไปได้ทั้งหมด (3) ผู้พิจารณาต้องเข้าใจผลสัพธ์และการคาดหวังทั้งหมดของแต่ละทางเลือก (4) ผู้พิจารณาต้องสามารถคำนวณสัดส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุนของทางเลือก นโยบายนั้นๆ ได้ชัดเจน และ (5) การตัดสินใจผู้พิจารณาจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบทางเลือกนโยบายอื่นๆ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ผลลัพธ์ของนโยบายที่ผ่านกระบวนการพิจารณาดังกล่าว ถือว่าเป็นการเลือก นโยบายโดยยึดหลักเหตุผลที่แท้จริง โดยทฤษฎีนี้ถือว่าเป็นรากฐานต่อทฤษฎีหลักการและเหตุผลของการตัดสินใจเลือก นโยบาย (the rational-comprehensive theory)

บรรณานุกรม

อา ณัฐชัย รัตตกุล. (2551). นโยบายการขนส่งมวลชนของประเทศไทย: กรณีศึกษาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสาธารณะ. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dye, T. R. (1978). Policy analysis (2nd ed.). Tuscaloosa: The University of Alabama Press.

Dye, T. R. (1984). Understanding public policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS