RSS

ความหมายของนโยบายสาธารณะนั้น

ความหมายของนโยบายสาธารณะนั้น มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ ความหมายไว้หลายความหมายด้วยกัน ดังต่อไปนี้

โทมัส อาร์ ดาย (Dye, 1984, p. 1 อ้างถึงใน ปียะนุช เงินคล้าย ม.ป.ป., หน้า 4) ได้ให้ ความหมายนโยบายสาธารณะว่า หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่รัฐบาลเลือกทึ่จะกระทำหรือไม่กระทำ

เจมส์อีแอนเดอสัน (Anderson, 1975, p. 3 อ้างถึงใน ปียะนุช เงินคล้าย, ม.ป.ป., หน้า 5) กล่าวไว้ว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรมที่รัฐกระทำเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยเจตนาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น ความยากจน การผูกขาด เป็นด้น

นอกจากจะมีความหมายเกี่ยวกับนโยบายของนักวิชาการต่างประเทศ ดังกล่าว ข้างต้นแล้ว นักวิชาการไทยก็ได้ให้คำนิยามหรือความหมายของนโยบายสาธารณะไว้ได้ อย่างน่าสนใจหลายท่านด้วยกัน ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

กวี รักษ์ชน (2541, หน้า 3) กล่าวว่า นโยบายมีความหมาย 2 ลักษณะที่มี ความสัมพันธ์กัน ลักษณะที่หนึ่งมีความหมายถึงกิจกรรม (activities) ส่วนอีกลักษณะ หนึ่งจะมีความหมายในฐานะที่เป็นศาสตร์ (science) ซึ่ง 2 ลักษณะจะมีดวามสัมพันธ์ กัน กล่าวคือ นโยบายสาธารณะในฐานะที่เป็นศาสตร์จะทำการศึกษาจากนโยบายสาธารณะที่เป็น กิจกรรมแล้วนำมาสะสมกันเป็นความรู้หรือเป็นวิชา (subject) เพื่อประโยชน์ในการศึกษาที่จะได้ทำให้การกำหนดนโยบายในฐานะที่เป็นกิจกรรม บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์(ม.ป.ป., หน้า 2) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะจะต้องเป็นกิจกรรม ที่กระทำโดยรัฐบาล การตัดสินใจเลือกที่จะกระทำของรัฐบาลตองคำนึงถึงคุณค่าของสังคมเป็นเกณฑ์โดย ม่งที่จะตอบสนองความด้องการของประชาชนเป็นหลัก

ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์ (2536, หน้า 2) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างแก้ปัญหาในปัจจุบัน ป้องกันปัญหาในอนาคตก่อให้เกิดผลที่พึงปรารถนา

กระมล ทองธรรมชาติ (2538, หน้า 32 อ้างถึงใน กุลธน ธนาพงศธร ม.ป.ป., หน้า 58) ได้ กล่าวถึงนโยบายว่า คือ แนวทางที่แต่ละประเทศได้เลือกปฏิบัติไปเพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่งที่กำหนดไว้อันเป็นวัตถุประสงด์ที่เชื่อกันว่าถ้าทำได้สำเร็จก็จะ เป็นผลดีต่อประเทศของตน โดยทั่วไปนั้นรัฐบาลของประเทศจะตัดสินใจเลือกปฏิบัตินโยบายที่มีการเสี่ยง ภัยน้อยที่สุดปฏิบัติได้ง่ายที่สุดและเป็นประโยชน์ต่อชาติ มากที่สุด

กุลธน ธนาพงศธร (ม.ป.ป., หน้า 59) ได้แสดงทัศนะของนโยบายว่า ไม่ว่าจะเป็นการ พิจารณาให้ดวามหมายในแง่มุมใดก็ตาม นโยบายของรัฐก็่คือ แนวทางกว้าง ๆ ที่รัฐบาล ของประเทศหนึ่ง ๆ ได้กำหนดขึ้นเป็นโครงการ แผนการ หรือหมายกำหนดการเอาไว้ ล่วงหน้า เพึ่อเป็นหนทางชี้นำให้การปฏิบัติต่าง ๆ ตามมา ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ดลอดจนเพื่อธำรงรักษาหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งผล ประโยชน์ ของชาตินั้น ๆ

ทินพันธ์ นาคะตะ (ม.ป.ป., หน้า 45 อ้างถึงใน วรเดช จันทรศร และณัฐฐา วินิจนัยภาค, 2539, หน้า 152) ได้กล่าวไว้ว่า นโยบายของรัฐ หมายถึง สิ่งสำคัญสองประการ ประการแรก คือ แนวทางในการปฏิบัติของรัฐบาล ประการที่สอง คือ โครงการที่สำคัญ ๆ ซึ่งรัฐบาล จะต้องจัดให้มีขึ้น ด้วยการกำหนดเป้าหมายและวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุสิ่งดังกล่าวนั้น

ปิยะนุช เงินคล้าย (ม.ป.ป., หน้า 6) กล่าวว่า นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางหรือ กิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำ ภายใต้อำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบโดยกำหนดเป็นหลักการ แผนงานหรือโครงการ เพื่อก่อประโยชน์แก่สังคมและส่วนรวม

จาก คำนิยาม หรือความหมายดังกล่าวข้างต้น สามารถผนวกรวมเอาแนวคิดของ นักวิชาการทั้งหมดเข้าด้วยกัน พอสรุปได้ว่านโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางปฏิบัติ อย่างกว้าง ๆ ที่รัฐบาลประกาศหรือตัดสินใจเลิอกว่าจะกระทำ หรือไม่กระทำอันจะเป็น เครื่องชี้แนวทางปฏิบัติทึ่จะทำให้บรรลุผลงานตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ ที่วางไว้ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงการสนองตอบความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นหลัก


บรรณานุกรม

1. กวี รักษ์ชน. ม.ป.ป. การเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยทางรัฐศาสฅร์.เอกสารหมายเลข 20 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารทางวิชาการคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
2541. การสัมมนาการบริหารรัฐกิจ: การประเมินผลนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

2. ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์. (2536). นโยบายสาธารณะและการวางแผน + นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

3. ทินพันธ์ นาดะตะ. (2539). นโยบาย การพัฒนา และวิชาการ. 4 ทศวรรษ รัฐประศาสนศาสตร์, บรรณาธิการโดย วรเดช จันทรศร และณัฐฐา วินิจนัยภาค หน้า 152. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำราคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบรหารศาสตร์.

4. ปิยะนุช เงินคล้าย. ม.ป.ป. นโยบายสาธารณะ. เอกสารหมายเลข 161 กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารทางวิชาการ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. นโยบายสาธารณะ. เอกสารหมายเลข 162 กรุงเทพฯ: ศูนย์เอกสารทางวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

5. วีณา ทองรัตน์. (2546). การนำนโยบายกองทุนหมู่บ้านไปฏิบัติ: กรณีศึกษา ตำบลสทิงพระ อำเภอสิงหนคร จังวัดสงขลา.

6. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. ม.ป.ป. การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. เอกสารการศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ อันดับที่ 56. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS