RSS

ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดขั้นสูง (Creative Thinking & High-order thinking skills)

ความคิดสร้างสรรค์และทักษะการคิดขั้นสูง
(Creative Thinking & High-order thinking skills)

โดย Ms. Jareerat Meesupanan.

ไอ สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญมากกว่าความรู้” จิตนาการเกิดจากความคิดที่สร้างสรรค์ ซึ่งจะนำพาให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่ช่วยให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง โดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีที่มีอยู่เป็นเครื่องมือเพื่อให้บรรลุผลตาม

จินตนาการ ที่สร้างขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าในองค์กรที่สนับสนุนให้บุคลากรในองค์กรมีความคิดที่ นอกกรอบ นอกกฎระเบียบที่วางไว้ หรือสนับสนุนส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ส่งเสริมให้มีการฝึกคิดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีระบบ ทำให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกับองค์กรอื่นๆ ได้อย่างคาดไม่ถึง และได้เปรียบในเชิงธุรกิจ

แต่สิ่งที่น่าสงสัย นั้นคือ องค์กรเหล่านั้นมีวิธีการอย่างไรเพื่อให้บุคลากรในองค์กรเกิดการพัฒนาความ คิดสร้างสรรค์ของตนเองอยู่เสมอๆ ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกองค์กรจะสามารถปฏิบัติได้เหมือนกัน

แม้ ว่าจะมีแนวทางหรือนโยบายออกมาโดยการที่ส่งบุคลากรไปอบรมเพื่อให้ได้รับ ความรู้เพิ่มเติมขึ้นแต่ความรู้ที่ได้รับนั้นอาจไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการ พัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นการสูญเสียเงินงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ โดยก่อนที่จะกล่าวถึงวิธีการในการสร้างความคิดเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากรใน องค์กร เราจะมาดูกันว่าระดับขั้นตอนการคิดและการเรียนรู้ของคนที่เกิดขึ้นนั้นมีที่ มาอย่างไร ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างน่าอัศจรรย์

มี ทฤษฎีของ เบนจามิน บลูม อาจารย์มหาวิทยาลัยชิคาโก ได้นำเสนอ “Taxonomy of Educational Objectives” ที่ต่อมา ได้เป็นที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ Bloom’s Taxonomy ได้แยกระดับทักษะของกระบวนการคิดของคนไว้ 6 ระดับ มีการแสดงโดยแบบจำลองที่มีลักษณะรูปพีระมิดดังต่อไปนี้

ระดับทักษะของกระบวนการคิดของคน

จาก รูปเราจะเห็นได้ว่าทักษะกระบวนการคิดในระดับล่างสุดคือ ระดับความรู้/ ความจำ ซึ่งถือเป็นทักษะการคิดที่ต่ำที่สุด หมายถึง มีเพียงแต่ความรู้ซึ่งสามารถค้นหาได้จากหนังสือ ตำรา เอกสาร หรือแหล่งความรู้ทางอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่อย่างมหาศาล จดจำและนำมาใช้ได้ชั่วคราวแต่ไม่สามารถนำความคิดนี้ไปใช้ประโยชน์ได้ เพียงแค่เกิดความรู้ และสามารถหายไปจากความทรงจำได้เมื่อระยะเวลาผ่านไป

ทักษะ การคิดที่สูงขึ้นคือ ระดับความเข้าใจ หมายถึง เข้าใจว่าความรู้นั้นมีประโยชน์อย่างไร ลำดับขั้นตอนการทำงาน หรือสามารถอธิบายสาเหตุของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้

ทักษะการคิดที่ สูงขึ้นกว่าระดับนี้คือ ระดับการประยุกต์ใช้ หมายถึง สามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่รู้มามาใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ ในสถานการณ์ใหม่ได้อย่างมีเหตุผล จากระดับทักษะการคิดของคนใน 3 ระดับที่ผ่านมานั้นยังไม่ถือว่าทักษะการคิดขั้นสูง และเป็นที่น่าสังเกตว่าระบบการศึกษาในขณะนี้ รวมไปถึงการเรียนรู้ในการทำงานตามองค์กรโดยส่วนใหญ่จะหยุดอยู่ในทักษะการคิด 3 ระดับนี้เท่านั้น คือ รู้ เข้าใจ ทำได้ และหยุดอยู่ที่การทำได้คือการทำงานซ้ำๆ แบบเดิมทุกวัน หากมีปัญหาก็ใช้ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการไม่พัฒนาหรือการสร้างนวัตกรรมของสินค้า หรือบริการแบบใหม่

ต่อไปเราจะมาดูทักษะการคิดในขั้นสูง ซึ่งอยู่ใน 3 ระดับบนของยอดพีระมิด ได้แก่ ระดับการวิเคราะห์ หมายถึง การบอกรายละเอียดและมีความสามารถในการจำแนกและบอกความแตกต่างของส่วนที่เป็น องค์ประกอบของสถานการณ์หรือข้อมูล สามารถบอกสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุผล โดยใช้วิจารณญาณในการตัดสิน บอกถึงผลดี ผลเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

ระดับ การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการตัดสินคุณค่าหรือการใช้ข้อมูลโดยการใช้เกณฑ์ที่เหมาะสม (สนับสนุนการตัดสินใจด้วยเหตุผล) สามารถบอกได้ว่าสิ่งใดดีกว่ากัน สิ่งใดแย่กว่ากัน สิ่งใดคือความถูกต้อง และสิ่งใดไม่ถูกต้องโดยมีเหตุผลสนับสนุน

และทักษะการคิดของคนที่สูง ที่สุดคือ ระดับสังเคราะห์ / ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการรวบรวมส่วนย่อยเข้าด้วยกันเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมด เช่นการพัฒนาสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ การออกแบบปรับปรุงระบบงานให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น สะดวกขึ้น ลดค่าใช้จ่าย โดยอาศัยพื้นฐานจากความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ทฤษฎี การวิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ และข้อเสีย และการประเมินค่า จากทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า การที่จะสร้างสรรค์จินตนาการนั้นต้องอาศัยพื้นฐานจากความรู้ ความเข้าใจ และฝึกการคิดอยู่ตลอดเวลา

ขอส่งท้ายด้วยคำพูดของไอสไตน์อีกครั้ง หนึ่ง “ Logic can move from A to B , but Imagination can move around the earth” ซึ่งถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราควรจะหมั่นฝึกฝนการคิดในเชิงสร้างสรรค์เพื่อ ให้เกิดการพัฒนาองค์กรมากว่าการคิดร้ายและคอยกลั่นแกล้งกันเองเพื่อให้ตน เองอยู่รอด

ที่มา
http://catadmin.cattelecom.com/km/blog/jareerat/2007/08/29/creative-thinking-high-order-thinking-skills/

http://leadership.exteen.com/20090913/creative-thinking-high-order-thinking-skills

สืบค้นวันที่ 30 กันยายน 2553

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS