RSS

การปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ


การปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ
Spiritual Revolution shift the consciousness transformation the world 

                กันต์ สาระทิศ
Kanta Sarathit
นิสิตปริญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
----------------------------

บทคัดย่อ

                   บทความนี้เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ ชีวิต กิเลส และความทุกข์ จึงเป็นชิ้นส่วนของภาพมนุษย์ในคำสอนของพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมีชีวิต กิเลสก็ยังคงอยู่ ตราบใดที่ยังมีกิเลสความทุกข์ก็ยังคงอยู่ความทุกข์เสมือนอาการของโรคกิเลส โรคคือกิเลสมีชีวิตเป็นที่อาศัย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่า โรคคือกิเลสนั้น นอกจากจะเป็นที่มาหรืออาการของความทุกข์แล้ว ยังเป็นที่มาของชีวิตด้วย ฉะนั้น ในการแก้ทุกข์หรือการกำจัดโรคของมนุษย์แล้ว พระพุทธศาสนาจึงมิได้สอนให้ทำลายชีวิต[1] หรือทำลายสังขารร่างกายของมนุษย์ แต่สอนให้ทำลายหรือกำจัดกิเลส เพราะชีวิตมิใช่ที่มาของกิเลส แต่ชีวิตเป็นเพียงที่อาศัยของกิเลสเท่านั้น แม้แต่ทุกข์ก็เป็นเพียงอาการหรือผลที่เนื่องมาจากกิเลสเท่านั้น หากไม่มีกิเลสแล้ว ก็ไม่มีทั้งชีวิตและทั้งทุกข์ และยาที่จะกำจัดหรือทำลายโรคคือกิเลสได้ มีอย่างเดียวเท่านั้นคือธรรม หรือธรรมโอสถ เพราะฉะนั้น ธรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนยาสำหรับบำบัดรักษามนุษย์ให้มีชีวิตอยู่อย่างสะอาดปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคทางใจอันเป็นที่มาของโรคทั้งปวง จึงเป็นต้องรีบรักษาให้หายเป็นปกติด้วยธรรมโอสถ

 
Abstracts

This article is to study the Spiritual Revolution and shift the consciousness transformation the world. The life passion and suffering is part of the man in the teachings of Buddhism. As long as you live. Subscribe still. As long as there is passion, they are still suffering as symptoms of passion. The passion of the living organism. The Passion of the disease. In addition to being a source of distress or pain then. It is also the source of life, so to solve it or get rid of the human disease. Buddhism does not teach the people. The human body or mind. It teaches the passion destruction or removal. Life is not a source of passion. But life is the abode of God only. I'm just a symptom or a result of this passion. If your passion. We have no life and suffering. And to eliminate the disease or have a passion. There is only one wrong medicine or wrong, so wrong in Buddhism, it is like a drug for the treatment of human beings to live a clean, free from disease, especially heart disease as the source of all diseases. The need to maintain a full recovery with the Dhamma medicine.

๑. บทนำ

ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองของโลกมีพลวัตสูง ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในกระแสแห่งโลกาภิวัตน์ ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านมนุษย์เข้ายุคสมัยที่มีความเจริญทางเทคโนโลยี หรือเรียกว่า ลัทธิพ้นมนุษย์ เป็นความเชื่อและการปฏิบัติในการพัฒนามนุษย์พันธุ์ใหม่ ที่มีความแข็งแรงสุขภาพดี สติปัญญาสูง ใช้ความคิดอ่าน ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ความรู้สึก มีความสามารถในการทำงานสูงมาก ทุกอย่างเป็นสิ่งง่าย ชีวิตเต็มไปด้วยความสะดวก ทันใจ ปลอดภัย ไม่ต้องทุกข์กายทุกข์ใจเหมือนมนุษย์ในปัจจุบันที่อ่อนแอทั้งร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ[2]
อารยธรรมอุตสาหกรรมที่อยู่ในขั้นโลกาภิวัตน์กำลังซวนเซ เนื่องจากสะดุดขาตนเองบ่อย เกิดวิกฤติเศรษฐกิจถี่และรุนแรงขึ้น วิกฤตินี้ยังสัมพันธ์กับวิกฤติอื่นทั้งทางสิ่งแวดล้อมและการเมือง วิกฤติเศรษฐกิจใหญ่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และความยาวนานในการฟื้นตัว สะท้อนว่าแนวทางมาตรการแก้ไขไม่บังเกิดผลตามคาด เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างสังคมหลังอารยธรรมอุตสาหกรรมกันอย่างกว้างขวางทั้งจากเบื้องล่างและเบื้องบน มีการกล่าวถึงสังคมหลังอุตสาหกรรมตั้งแต่ทศวรรษ ๑๙๖๐ เมื่อโลกก้าวสู่ยุคข่าวสาร เกิดการมองด้านดีว่า ต่อไปนี้อุตสาหกรรมแบบโรงงานจะเปิดทางให้แก่ อุตสาหกรรมทางบริการและการเงิน ที่ใช้ความรู้สูง หรืออุตสาหกรรมโรงงานก็ใช้เครื่องจักรแบบอัตโนมัติมากขึ้น บางทีเรียกว่า สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ แต่การมองแง่ดีนั้นดูจะมีอายุสั้น ที่เรียกว่าเศรษฐกิจฐานความรู้ก็เผชิญกับวิกฤติซ้ำซ้อน และดูจะหนักหน่วงมากกว่าเดิมด้วย เช่น วิกฤติ ดอต.คอม และวิกฤติซับไพรม์หรือสินเชื่อต่ำเกณฑ์ ก็สืบเนื่องจากการใช้การคำนวณขั้นสูงสร้างเครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่าอนุพันธ์ขึ้น[3] ตัวอย่างเชิงประจักที่สะท้อนให้เห็นถึงความอับจนแห่งภูมิปัญญาในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยแบบสุดขีดได้ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอลและคอมพิวเตอร์ นำโลกเข้าสู่ยุคสารสนเทศ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแบบก้าวกระโดดใหญ่ที่เรียกว่า “คลื่นลูกที่สาม” ผลกระทบที่เกิดจาก “คลื่นลูกที่สาม” ดร.ไสว บุญมา ได้แสดงทัศนะไว้ว่า “ในยุคนี้คนส่วนหนึ่งจึงมีสิ่งต่างๆ มากมายเกินความพอเพียง ในขณะที่ยังมีคนอีกจำนวนมาก ที่ขาดแม้กระทั่งปัจจัยในการดำรงชีวิตเบื้องต้น ช่องว่างระหว่างกลุ่มจะยิ่งกว้างขวางขึ้นเมื่อเทคโนโลยีใหม่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวงแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง จนเป็นคลื่นลูกที่ ๔ เทคโนโลยีที่เป็นหัวหอกของคลื่นลูกที่ ๔ ได้แก่เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม อันเกิดจากความสามารถในการถอดรหัสพันธุกรรม ซึ่งมนุษย์ทำได้สำเร็จเมื่อเร็วๆ นี้”[4] ในที่นี้จะกล่าวถึงแนวทางหนึ่งที่เรียกว่ากับการปฏิวัติทางจิตที่รู้ตื่นจะพลิกผันโลก
                   นับแต่วันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และได้ทรงแสดงหลักธรรมแห่งการปฏิวัติทางจิตเป็นครั้งแรกในชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร[5] ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน ประเด็นที่ ๑ ทรงแสดงแนวทางที่ผิด ไร้ประโยชน์ เช่น กามสุขัลลิกานโยค การปฏิบัติที่พัวพันอยู่กับกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติที่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด โดยทรงชี้ว่า วิธีแรกนั้น เป็นของต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนา ไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์ ส่วนวิธีที่ ๒ นั้น เป็นการทรมานตนให้ลำบากเปล่า ไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์เช่นกัน ประเด็นที่ ๒ ทรงประกาศวิธีการใหม่ที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฎิปทา ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๘ ประการที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) เห็นชอบ  (๒) ดำริชอบ (๓) เจรจาชอบ (๔) กระทำชอบ (๕) เลี้ยงชีพชอบ (๖) พยายามชอบ (๗) ระลึกชอบ (๘) ตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งสรุปย่อลงหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา[6] มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเป็นวิธีที่ก่อให้เกิด จักษุ ญาณ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพานเป็นที่สุด ประเด็นที่ ๓ ทรงแสดงการปฏิบัติตามแนวทางของมัชฌิมาเพื่อทำให้รู้แจ้งซึ่งอริยสัจ ๔ นั้นคือ รู้จักทุกข์ รู้สาเหตุให้เกิดทุกข์ รู้อาการความดับทุกข์ และรู้วิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์
                   เพราะฉะนั้น จำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นการเตรียมคนเพื่อให้พร้อมในความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต  หลักสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนานั้น จะต้องใช้แนวทางตามหลักการใน ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร[7] คือ ประเด็นแรก ต้องรู้ชัดว่าอะไรไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์ ประเด็นที่ ๒ การดำเนินชีวิตตามวิธีการใหม่ที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฎิปทา หรือทางสายกลาง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๘ ประการที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งสรุปย่อลงหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา[8] ประเด็นที่ ๓ การปฏิบัติตามแนวทางของมัชฌิมาเพื่อทำให้รู้แจ้งซึ่งอริยสัจ ๔ นั้นคือ (ทุกข์) รู้จักปัญหา (สมุทัย) รู้สาเหตุให้เกิดปัญหา(นิโรธ) รู้สภาพแห่งความดับสิ้นแห่งปัญหา และ(มรรค) วิธีการที่จะนำไปสู่ความดับสิ้นแห่งปัญหา 
จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนานั้น ต้องการให้มนุษย์ทุกคนฝึกฝนพัฒนาตนให้เข้าถึงความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการ  การฝึกอบรมความรู้ที่ทันสมัย รวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป การพัฒนาคนให้มีความรู้ จะต้องฝึกให้มีวินัยในการทำงานควบคู่กันไปด้วย  การพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นการสร้างรากฐานของระดับการดำรงชีวิตของคนให้ดีขึ้น โดยการให้ความรู้ การฝึกฝนด้านคุณธรรม การส่งเสริมสุขภาพอนามัยการประกอบอาชีพ  รวมกันอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข ในประเทศไทยได้มีการสร้างเกณฑ์มาตรฐานของคุณภาพชีวิต  เป้าหมายหลักในการ  พัฒนาคุณภาพชีวิตคือการให้มีความสามารถในการ พึ่งพาตนเอง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ชนิดพิเศษกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่สามารถพัฒนาได้อย่างไม่มีขีดจำกัด โดยสามารถพัฒนาจากความเป็นมนุษย์ธรรมดามาสู่ความมนุษย์ผู้ประเสริฐได้ การพัฒนามนุษย์นั้น ในมุมมองของพระพุทธศาสนาเรียกว่า การฝึกตนจะเห็นจากพระพุทธดำรัสที่ได้ตรัสกับพระอานนท์ตอนหนึ่งที่ว่า “ในหมู่มนุษย์คนที่อดกลั้นถ้อยคำล่วงเกินได้ ชื่อว่าเป็นผู้ฝึกตนได้แล้ว เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ม้าอัสดรม้าอาชาไนยม้าสินธพช้างใหญ่ ที่ได้รับการฝึกหัดแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกตนได้แล้วประเสริฐกว่าสัตว์พาหนะเหล่านั้น”[9]
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว พระพุทธศาสนานั้นให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์ เพราะมนุษย์เราเมื่อได้รับการฝึกฝนพัฒนาตนดีแล้วจะกลายเป็นผู้ประเสริฐสุดยิ่งกว่าเทวดา และพระพรหมเสียอีก ทั้งนี้เนื่องด้วยการพัฒนาทางด้านสติปัญญา จากการศึกษาในศาสตร์สาขาแขนงต่างๆ โดยสามารถพัฒนาทักษะในสรรพวิทยาเหล่านั้น จนก่อเกิดปัญญาความรู้ที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน ท่านเรียกว่า ปริยัติญาณ ปัญญาความรู้ที่เกิดจากการฝึกฝนปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ปฏิบัติญาณ ส่วนปัญญาความรู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งอริยสัจทั้ง ๔ คือ การรู้ทุกข์ รู้สาเหตุแห่งความทุกข์ รู้สภาวะแห่งการดับทุกข์ และรู้วิธีการดำเนินไปสู่การดับทุกข์ ท่านเรียกว่า ปฏิเวธญาณ

๒. แนวคิดการปฏิวัติทางจิต : ประวัติและพัฒนาการ

การปฏิวัติทางจิต ท่านดาไลลามะ เคยกล่าวไว้ว่า ปัญหาของมนุษย์ทุกวันนี้ คือความพร่องจิตวิญญาณ และการแก้ไขปัญหาของมนุษยชาติคือการปฏิวัติทางจิตวิญญาณ (Spiritual Revolution)[10]   
การปฏิวัติทางจิต Spiritual Development ถูกใช้ในภาษาอังกฤษอย่างเป็นธรรมดา ถ้าจะพูดไปแล้ว เรื่องเหล่านี้คือกลุ่มหนังสือที่ขายดีที่สุดในโลก คนที่สนใจเรื่องนี้นอกจากด้านสุขภาพมีมากมาย แม้แต่ในด้านธุรกิจก็เอาไปใช้ในการพัฒนาทำให้กิจการของเขาดีขึ้น ผู้คนดีขึ้น ถ้าเราดูว่า Spiritual ที่ใช้ในภาษาอังกฤษ จะเห็นการเปลี่ยนแปลง มีคำใหม่ๆ ในแง่มุมต่างๆ เกิดขึ้นและมีประโยชน์มาก แต่ในภาษาไทยเราเรียกว่าอะไร คำว่า จิตวิญญาณใช้ทั่วไปในสังคมไทยมาก่อน หมายถึงสิ่งอะไรก็ตามที่มีคุณค่าสูงทางจิตใจ เราจึงนำคำที่ใช้ในสังคมไทยมาใช้ เรียกว่า สุขภาวะทางจิตวิญญาณ[11] ต่อมาได้มีการได้ปรับเปลี่ยนมาใช้คำว่า สุขภาวะทางปัญญาทั้งนี้ คำว่า จิตหมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ในทางพุทธคือเบญจขันธ์ ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตมีลักษณะสมมติ คือ มีความรู้สึกสุขทุกข์ได้ มีความจำได้ มีความคิดปรุงแต่งได้ มีการรับรู้ทางวิญญาณได้ ส่วนคำว่า วิญญาณในทางพุทธศาสนา หมายถึง การรู้เวลามีผัสสะโดยมีอายตนะทั้ง 6 เป็นเครื่องรับ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
การปฏิวัติทางจิต หมายถึง มิติที่เหนือวัตถุ ในทางพุทธเรียก โลกุตตระหรือเหนือโลก สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จงใจไม่ใช้คำนี้ จนกระทั่งท่านอาจารย์พุทธทาสมาฟื้นกลับมาใช้ ซึ่งโลกในที่นี้ หมายถึง เนื้อหนังมังสาในร่างกาย ทั้งนี้ ท่านอาจารย์พุทธทาสฝากปณิธาณไว้ 3 ข้อ คือขอให้ศาสนิกของศาสนาต่างๆ เข้าถึงหัวใจของศาสนาของตน เพราะหัวใจของทุกศาสนาคือ Spiritual หรือ โลกุตตระ ซึ่งไม่รู้จะมีศาสนาไปทำไมถ้ามันเป็นเรื่องพื้นๆในระนาบเดียวกัน แต่ตรงนี้มันเหนือขึ้นไป ทุกศาสนาจะมีเรื่องที่ไม่ใช่หัวใจแล้วจะไปทะเลาะกันที่ตรงนั้น ประการที่สอง ท่านพุทธทาสขอให้มีความร่วมมือกันระหว่างศาสนา และประการสุดท้ายคือขอให้มนุษย์ถอนตัวออกจากวัตถุนิยม[12] ซึ่งก็คือมุ่งไปสู่ระนาบของจิตวิญญาณ หรือ Spiritual หรือ โลกุตตระนั่นเอง  ท่านอาจารย์พุทธทาสใช้ตลอดชีวิตทำโลกุตรโอสถให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน คือทำให้เป็นเรื่องชีวิตประจำวัน เพราะคนไทยพุทธมักถือว่า โลกุตตระเป็นเรื่องห่างไกล แต่จะบอกว่าทางพุทธไม่ได้คิดอย่างนี้ก็คงไม่ได้ เพียงแต่อาจใช้คำอื่น เช่น ความดีงาม กุศล จิตสูง ความเป็นมนุษย์ ทางพุทธศาสนา มีหลักที่เรียกว่า ไตรสิกขาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งคำว่า ปัญญาในทางพุทธมีความหมายพิเศษ เพราะพระพุทธเจ้าถือว่า ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากอวิชชาหรือความไม่รู้ เพราะฉะนั้นปัญญาจะทำให้หมดทุกข์และเกิดสุขตามมา สุขภาวะจึงเกิดจากปัญญา และปัญญาในทางพุทธ หมายถึงการลดความเห็นแก่ตัวลง ที่สุดแล้วเราจะถึง อนัตตา คือความไม่มีตัวตน ดังนั้น ปัญญาที่ใช้ในที่นี้ก็คือ สุขภาวะทางปัญญา พุทธศาสนายังเน้นเรื่องความเมตตากรุณา (Compasstion)  คือ ถ้ามีเมตตากรุณาก็ถือว่ามีปัญญา แต่ถ้าเห็นแก่ตัวก็ไม่ถือว่ามีปัญญา เพราะไม่ถือว่ามีคุณค่าทางจิตวิญญาณ การมีเมตตากรุณาถือว่าเริ่มต้นในทิศทางของจิตวิญญาณ ในพระไตรปิฎกก็บอกว่า ถ้าเผื่อแผ่เมตตาไปทุกทิศทุกทางอย่างไม่มีที่สิ้นสุดก็สามารถบรรลุธรรมได้ ท่านอาจารย์พุทธทาสเองก็เคยกล่าวว่า ทุกคนเคยเจอนิพพานชิมลองมาแล้วทั้งสิ้น ยามใดเราไม่เห็นแก่ตัว เราจะมีความสุขลึกๆ นั่นคือนิพพาน แต่เป็นนิพานชั่วคราวหรือนิพพานชิมลอง ดังนั้นทำอย่างไรให้รู้ ให้มันเกิดบ่อยขึ้น ให้มันอยู่นานขึ้น นั่นเป็นภาคปฏิบัติ นั่นคือ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ[13]
ทั้งนี้ หากหันมาดูการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนโบราณหรือแผนไทยไทยบ้าง เราจะเห็นชัดว่า การแพทย์แผนปัจจุบัน คือการให้ยากับผ่าตัด หรือใช้อยู่ในระนาบของวัตถุ แต่การแพทย์แผนโบราณหรือแผนไทยจะใช้ร้อยแปด ทั้งความเชื่อ น้ำใจ เรื่องศักดิ์สิทธิ์ การช่วยเหลือกัน หรือความเป็นชุมชน เช่น ครั้งหนึ่งมีผู้ป่วยหนักใกล้เสียชีวิต หมอโกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ถามว่า อยากให้ทำอะไร ผู้ป่วยบอกว่า อยากดูรำผีฟ้า หมอจึงไปจัดมาให้ แกก็ลุกขึ้นมานั่งได้เพราะแกเชื่อรำผีฟ้าทำให้มีสุขภาพดี หรือในกรณีหมู่บ้านโรแซสโต้ เพนซีวาเนีย สหรัฐอเมริกา มีหมอคนหนึ่งสังเกตว่า ทำไมคนจากหมู่บ้านนี้ไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจหรือมะเร็งเหมือนที่อื่นและมักมีอายุยืน ทั้งที่เมื่อลงไปดูพื้นที่ คนก็กินเหล้า สูบบุหรี่ เหมือนที่อื่น แต่สิ่งที่แตกต่างคือ ที่หมู่บ้านนี้อบอุ่นมาก คนเป็นกันเองและดูแลกัน นี่เป็นบ่อเกิดของสุขภาพที่สำคัญ เป็นหัวใจของความเข้มแข็ง เป็นเรื่องของความเป็นชุมชน และเป็นสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
การแพทย์แผนปัจจุบันติดอยู่ในการกักขังให้ใช้แต่ทางวัตถุ แต่ขณะนี้เรื่องสุขภาพได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญา เกิดการปฏิรูประบบสุขภาพที่เคลื่อนไหวในสังคมไทย นั่นคือ การปฏิรูปมโนทัศน์  การคิดว่า สุขภาพดีคือการไม่มีโรค นั่นคือ การติดมโนทัศทัศน์ เพราะจะมีแต่หมอเท่านั้นที่เข้าใจเรื่องโรคซึ่งไปจำกัดเรื่องสุขภาพเฉพาะเรื่องของหยูกยาหรือโรงพยาบาล มันจึงถูกกักขังไว้อยู่ในที่แคบ แต่เราได้เปิดทำนบแล้วว่า สุขภาพดี คือการไม่มีโรคนั้นไม่จริง การมีโรคก็สุขภาพดีได้ถ้ามีดุลยภาพ อย่างถ้าเป็นเบาหวานซึ่งมันก็ยังเป็นโรคอยู่ แต่ถ้าทำให้ได้ดุลยภาพก็สุขภาพดีได้ มะเร็งก็เช่นกัน สุขภาพดี คือดุลยภาพทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญา ซึ่งอะไรก็ตามที่ทำให้มีดุลยภาพก็เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นไทเก็ก ศิลปะ ดนตรี การสวดมนต์ หรือโยคะ เราเรียกว่าโอสถประยุกต์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องหมอ หรือหยูกยา อีกต่อไป นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เราจะเห็นเรื่องการแพทย์ทางเลือก โยคะ ไทเก็ก หรือการเจริญสติที่กำลังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ที่มหาวิทยาลัยเมสซาซูเซต เมื่อเปิดหลักสูตรการเจริญสติแบบพุทธก็มีคนมาสมัครถึง ๘๗,๐๐๐ คน เพราะเจริญสติแล้วทุกอย่างดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น การเรียนรู้ดีขึ้น ความสัมพันธ์ก็ดีขึ้น ขณะนี้จึงกำลังแพร่หลายและโลกกำลังจะเปลี่ยน มนุษย์นั้นโหยหามิติทางจิตวิญญาณเพื่อทำให้เกิดความสมบูรณ์ในตัวเอง แต่เมื่อมนุษย์พัฒนาทางวัตถุเท่านั้นก็ขาดความสมบูรณ์ในตัวเอง เมื่อไปหาสิ่งที่มาเติมก็จะหา 3 อย่าง คือ ยาเสพติด ความฟุ่มเฟือย และความรุนแรง ซึ่งเป็นไปทั่วโลก[14]
เดอร์ริก เจนเซน (Derrick Jensen เกิด 1960) นักเขียนและนักเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมชาวอเมริกัน ได้เสนอแนวคิดนี้สรุปในถ้อยคำว่า "เราทุกคนเป็นสมาชิกของชุมชนธรรมชาติที่สัมพันธ์ขึ้นต่อกัน ซึ่งรวมทั้งแม่น้ำ ผู้เยาว์วัยและหินผา ความสัมพันธ์นี้กำหนดตัวเรา รักษาเรา สร้างเรา และทำให้เรามีความสุขสำราญ และเมื่อเราถูกแยกให้อยู่โดดเดี่ยวและแยกออกจากกัน ความไม่สบายก็จะขึ้นสู่ระดับความโศกสลด" เจนเสนย้ำว่าชุมชนธรรมชาติไม่ใช่เป็นเรื่องของระบบนิเวศที่กล่าวกัน เพราะว่าระบบนิเวศเป็นศัพท์ของเครื่องจักร ที่เน้นการนับเป็นจำนวน การทำซ้ำได้ และการมองในมิติของความต้องการ ขาดเลือดเนื้อและชีวิตและความสัมพันธ์ในด้านความทุกข์ความสุข ซึ่งหมายถึงต้องสนองกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วย[15]
                   จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันนี้สังคมตะวันตก (Western Civilization) ซึ่งเป็นวัตถุนิยม บริโภคนิยม กำลังประสบกับปัญหาใหญ่ กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติทางวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ซึ่งไปต่อไม่ได้แล้วและทำให้เกิดวิกฤติในด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย มีทางเดียวที่จะรอดได้ต้องปฏิวัติจิตสำนึก ท่านดาไลลามมะเรียกว่า การปฏิวัติทางจิตวิญญาณ หรือแม้แต่ไอน์สไตน์ก็พูดไว้ว่า มนุษย์จะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้ การพัฒนาจิตกับสุขภาพเป็นเรื่องที่กว้างใหญ่ไพศาลและเป็นการปฏิวัติ น่าดีใจที่กระแสปฏิวัติกำลังเกิดขึ้น แน่นอน ทั้งขยายใหญ่และแรงจูงใจสูงมาก แรงจูงใจนั่นคือความสุข เพราะถ้าทำอะไรแล้วสุขก็จะอยากทำสิ่งนั้นอีก ซึ่งสุขภาวะทางจิตวิญาณหรือการพัฒนาจิต เป็นสิ่งที่นุ่มและปราณีตมาก มันลึกซึ้งและเป็นความสุขที่ราคาถูก เป็นความสุขแท้จริง เป็นความสงบ มีอิสระ เห็นความงามทั้งหมด เกิดความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษยและธรรมชาติทั้งหลาย เพราะฉะนั้นนี่ก็คือการปฏิวัติแล้ว
                   เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ผู้ที่ได้ผ่านการศึกษาเรียนรู้หลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งทั้งหลาย ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องในการดำเนินชีวิต ในการปฏิบัติกิจหน้าที่และดำเนินกิจต่างๆ รู้เข้าใจสิ่งที่ตนจะต้องประพฤติปฏิบัติตามเหตุผล เช่น รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้ชุมชน และรู้บุคคล ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ชี้ว่า คนสมบูรร์แบบ หรือมนุษย์โดยสมบูรณ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสมาชิกที่ดีมีคุณค่าอย่างแท้จริงของมนุษย์ชาติ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคนเต็มคน ผู้สามารถนำหมู่ชนและสังคมไปสู่สันติสุขและความสวัสดี[16] มนุษย์ที่สมบูรณ์แบบดังที่กล่าวมาเรียกว่าอารยชน หรือชนผู้เจริญด้วยอารยธรรม ดังพระพุทธพจน์ในทุติยภาณวารวินัยปิฏกว่า “ความดี คนดีทำง่าย ความดี คนชั่วทำยาก ความชั่ว คนชั่วทำง่าย แต่อารยชน  ทำความชั่วได้ยาก”[17]  

๓. การปฏิวัติทางจิตที่รู้ตื่นสู่ความไพบูลย์ในธรรม
      
คุณลักษณะเด่นของการปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้สู่ความไพบูลย์ในธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้น คือผู้ผ่านการพัฒนาตามกระบวนการแห่งการศึกษาตามลำดับ ดังที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ชี้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษ ซึ่งแตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายอื่น สิ่งที่ทำให้มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษได้แก่ สิกขา หรือการศึกษา คือการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา มนุษย์ที่ฝึก ศึกษา หรือพัฒนาแล้ว ชื่อว่าเป็น “สัตว์ประเสริฐ” เป็นผู้รู้จักดำเนินชีวิตที่ดีงามด้วยตนเอง และช่วยให้สังคมดำรงอยู่ในสันติสุขโดยสวัสดี[18] ในทัศนะตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว ผู้ใดฝึกฝนตนเองและมากไปด้วยความเพียรทั้งทางโลกและทางธรรมผู้นั้นย่อมเข้าถึงความไพบูลย์ในธรรมได้ ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฎฎสงสารทั้งหลาย ผู้ที่เห็นภัยในวัฎฎสงสารประกอบด้วยคุณธรรม ๖ ประการ ย่อมเข้าถึงความไพบูลย์อันยิ่งใหญ่ในธรรม ต่อกาลไม่นานเลย”[19] คุณธรรม ๖ ประการนั้น คือ (๑) เป็นผู้มากด้วยแสงสว่างแห่งญาณคือปัญญา (๒) เป็นผู้มากด้วยความเพียร (๓) เป็นผู้มากด้วยปิติปราโมทย์ (๔) เป็นผู้มากด้วยความไม่พอไม่หยุด (๕)  เป็นผู้ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม (๖) เป็นผู้พยายามก้าวหน้าต่อไปไม่ถอยหลัง
๑.เป็นผู้มากด้วยแสงสว่างแห่งญาณคือปัญญา หมายถึง การเป็นผู้มีญาณมาก มีความรู้มาก มีปัญญามาก โดยสามารถจำแนกลงในหลักธรรมเหล่านี้ คือ ปริยัติญาณ มีปัญญาที่เกิดจากการฟังมากและศึกษามาก ทรงจำไว้ได้อย่างแม่นยำ ปฏิปัตติญาณ มีปัญญาที่เกิดจากการฝึกฝนปฏิบัติตามหลักสติปัฎฐาน ๔[20] ปฏิเวธญาณ มีปัญญารู้แจ้งแทงตลอด ซึ่งอริยสัจทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค รู้แจ้งแทงตลอดวิสุทธิ ๗ รู้แจ้งแทงตลอดลำดับญาณ ๑๖ จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
๒. เป็นผู้มากด้วยความเพียร หมายถึง ความเพียรทางโลก คือ พยายามทำการงานที่ประกอบนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ตามวัตถประสงค์หรือเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ ส่วนความเพียรในทางธรรมนั้นจำแนกออกเป็น ๔ ขั้นตอน คือ
                                ขั้นตอนที่ ๑ เพียรระวังบาป คือ โลภ ความโกรธ และความหลงไม่ให้เกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ทางใจ ด้วยการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เช่น เวลาเราประกอบหน้าที่การงาน หรือปฏิบัติธรรม ก็ให้ตั้งจิตอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันนั้น เป็นต้น สติกับจิตไม่เผลอจากอารมณ์ปัจจุบันนั้น แม้เวลาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ สติกับจิตก็ให้อยู่กับอาการท้องพองท้องยุบ เป็นต้น ไม่เผลอจากรูปจากนาม ชื่อว่า ได้ปัจจุบันธรรม ในขณะนั้นบาป คือความโลภ ความโกรธ ความหลง จะไม่เกิดขึ้นได้เลย เพราะว่าบาปคือความชั่วนั้น จะเกิดได้ก็ต้องอาศัยทั้งอารมณ์อดีต ทั้งอารมณ์อนาคต ดังข้อความในอรรถกถาภัทเทกรัตตสูตรว่า “ท่านทั้งหลายอย่านึกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว อย่ามุ่งหวังอารมณ์อนาคต คือที่ยังไม่มาถึง เพราะว่าสิ่งใดที่เป็นอดีต สิ่งนั้นก็ล่วงเลยไปแล้ว สิ่งใดเป็นอนาคต สิ่งนั้นก็ยังมาไม่ถึง ผู้ใดได้ปัจจุบันธรรม ผู้นั้นจึงจะสามารถเห็นแจ้งในที่นั้นๆ ได้”[21] ความเพียรที่เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติในทางธรรมอย่างนี้ เรียกว่าเพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในขันธสันดานของตน
                                ขั้นตอนที่ ๒ เพียรละความชั่ว ที่เกิดขึ้นให้เสื่อมไป ด้วยการบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เช่น เวลาเราประกอบหน้าที่การงาน หรือเวลาปฏิบัติธรรมอยู่ สติกับจิตจับอยู่ที่ปัจจุบันธรรม เห็นรูป เห็นนาม เห็นพระไตรลักษณ์ ขณะนั้นกิเลสต่างๆ จักสงบระงับดับไปโดยตทังคปหาน คือละกิเลส ได้ด้วยองค์พระกรรมฐานและสงบระงับไปด้วยวิขัมภนปหาน คือการละกิเลสโดยการข่มได้ด้วยอำนาจแห่งศีล สมาธิ และปัญญา อย่างนี้เรียกว่า เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ให้เสื่อมสิ้นไป ทำให้กิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง ระงับไปได้ในขั้นต่ำและขั้นกลาง ส่วนในขั้นสูงนั้น คือการเพียรละโดยเด็ดขาด ไม่กลับเกิดขึ้นอีกต่อไป ด้วยการบำเพ็ญพระวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุถึงมรรคญาณ ผลญาณนั่นเอง
                                ขั้นตอนที่ ๓  เพียรบำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้นในตน คือเพียรพยายามให้ศีลกุศล สมาธิกุศล ปัญญากุศล เกิดขึ้นในตนให้มากๆ จนสามารถตัดกิเลสได้เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน ได้แก่ผู้เจริญพระวิปัสสนาจนได้บรรลุมรรคผลนิพพานนั่นเอง
                                ขั้นตอนที่ ๔ เพียรรักษากาย วาจา ใจ ให้อยู่กับศีล สมาธิ ปัญญา และเพียรรักษาศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และให้เจริญยิ่งๆ ขึ้น โดยลำดับๆ จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์คือการสิ้นอาสวะกิเลสทั้งปวง ผู้ใดประกอบไปด้วยความเพียรดังกล่าวมานี้ เรียกว่า เป็นผู้มากไปด้วยความเพียรในทางธรรม เพื่อเข้าถึงความไพบูลย์ในธรรม เพราะผู้ใดมากไปด้วยความเพียร ทั้งทางโลกและธรรม ผู้นั้นย่อมได้รับประโยชน์สุขในภพนี้และประโยชน์ในภพหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งกล่าวคือพระนิพพาน
                ๓. เป็นผู้มากไปด้วยความเป็นผู้มากไปด้วยปีติปราโมทย์ หมายความว่า มีความอิ่มใจต่อผลงาน ต่อความดีต่างๆ ที่ตนได้ทำมาได้ปฏิบัติมา ทั้งทางโลกและทางธรรม ความอิ่มใจทางโลก ได้แก่ เมื่องานที่ตนทำหรือสิ่งที่ตนประกอบทุกอย่างสำเร็จสมประสงค์ ส่วนความอิ่มใจทางธรรมนั้นแบ่งออกเป็น ๓ ขั้น ดังนี้  
                                                ขั้นที่ ๑ ความอิ่มใจในขั้นต่ำ เกิดขึ้นเพราะการเรียนรู้ปฏิบัติตามภูมิตามระดับชั้นของตน แล้วเมื่อเวลาเราสอบได้ หรือเวลาเราทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ย่อมภาคภูมิใจและสุขใจเมื่องานนั้นๆ สำเร็จไปได้
                                                ขั้นที่ ๒ ความอิ่มใจขั้นกลาง เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติธรรม เช่นเจริญสมถกรรมฐาน หรือเจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผลการปฏิบัติของเราก้าวหน้าเกิดความอิ่มใจที่เรียกว่าปีติ เช่น ขุททกาปีติ ความอิ่มใจชั่วขณะ ทำให้ขนลุก น้ำตาไหล ใจเอิบอิ่มเยือกเย็น เป็นต้น
                                                ขั้นที่ ๓ ความอิ่มใจขั้นสูง เกิดขึ้นเพราะการปฏิบัติธรรม จนได้ผลเต็มที่แล้ว เกิดความอิ่มใจเป็นพิเศษ ยกตัวเช่นพระเจ้ามหากัปปินะเป็นตัวอย่าง ท่านได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน สละราชสมบัติออกบวช เจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน จนได้สำเร็จมรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันต์ท่านมีความอิ่มใจสุขใจในธรรมมาก จึงเปล่งอุทานทั้งกลางคืนและกลางวันว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า “บุคคลผู้มีใจผ่องใส มีความอิ่มใจในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมอันพระอริยเจ้าประกาศแล้ว คือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ[22] ผู้มีความอิ่มใจดังกล่าวมานี้ เรียกว่าผู้อิ่มใจเพราะหมดกิเลส
                ๔. เป็นผู้มากไปด้วยความไม่พอไม่หยุด หมายความว่า ไม่พอใจเพียงเท่านั้น ไม่หยุดอยู่เพียงแค่นั้น ต้องพยายามก้าวหน้าต่อไปอีก คือพยายามทำทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล ไม่ลดละ ไม่พอใจในกุศลธรรมเพียงเท่านั้น เช่นเราเคยทำทานกุศลอยู่ แล้วก็อย่าทำความพอใจในกุศลเพียงเท่านั้น บุญกุศลอื่นๆ ที่ประเสริฐเลิศกว่านั้นดีกว่านั้น สูงกว่านั้น ยังมีอยู่อีกมาก เช่น ศีลกุศลเป็นต้น
                ๕. เป็นผู้ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย กุศลธรรมแบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ดังนี้
                                                ขั้นตอนที่ ๑ กามาวจรกุศล ได้แก่การสร้างกุศลในชั้นกามาวจร ซึ่งเป็นกุศลที่เกิดขึ้นจากการให้ทานรักษาศีล เป็นต้น
                                                ขั้นตอนที่ ๒ รูปาวจรกุศล ได้แก่การสร้างกุศลในชั้นรูปาวจร ซึ่งเป็นกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญสมถกรรมฐานในส่วนที่เป็นรูปกรรมฐานจนได้สมาธิจนได้ฌาน
                                                ขั้นตอนที่ ๓ อรูปาวจรกุศล ได้แก่การสร้างกุศลในชั้นอรูปาวจร ซึ่งเป็นกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญอรูปกรรมฐาน จนได้สำเร็จอรูปฌาน
                                                ขั้นตอนที่ ๔ โลกุตตรกุศล ได้แก่การสร้างกุศลในชั้นโลกุตตร ซึ่งเป็นกุศลที่เกิดขึ้นจากการเจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุอริยมรรคอริยผล
                   ๖. พยายามก้าวหน้าต่อไป ไม่ถอยหลัง หมายความว่า พยายามก้าวหน้าต่อไปทั้งภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จนสามารถหลุดพ้นจากกิเลสาวสวะทั้งหลายทั้งทั้งปวง ผู้ที่พยายามก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างนี้ ย่อมได้รับประโยชน์โสตถิผล ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งภพนี้และภพหน้า ตั้งแต่ขั้นต่ำจนถึงขั้นสูงสุด
                   จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนายอมรับว่า มนุษย์เราเป็นสัตว์ชนิดพิเศษที่สามารถพัฒนาจากพื้นฐานต่ำสุดไปถึงจุดหมายสูงสุด เช่น การพัฒนาคนให้เป็นคน การพัฒนาคนให้ดีกว่าคน การพัฒนาคนให้เลิศกว่าคน การพัฒนาคนให้เด่นกว่าคน การพัฒนาคนให้สูงกว่าคน การพัฒนาคนให้ประเสริฐกว่าคน การพัฒนาคนแต่ละคนให้มีความสุขกายสุขใจ การพัฒนาคนให้มีคุณค่า ทำให้ประเทศชาติ ศาสนา เจริญรุ่งเรื่อง ได้ด้วยธรรมดังที่ได้กล่าวมาแล้ว คือ เป็นผู้มากไปด้วยญาณ มีความรู้มาก มีปัญญามาก เป็นผู้มากไปด้วยความเพียรพยายาม เป็นผู้มากไปด้วยความอิ่มใจพอใจด้วยปีติปราโมทย์ เป็นผู้มากไปด้วยความไม่พอไม่หยุดสร้างความดี ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย พยายามก้าวหน้าต่อไป ไม่ถอยหลังจนกว่าชีวิตจะถึงเป้าหมายทั้งทางโลกและทางธรรม
                   เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ทัศนะของพระพุทธศาสนานั้น มองว่าคุณลักษณะของผู้เข้าถึงความไพบูลย์ในธรรมต้องเป็นผู้ที่ยึดหลัก ปัญญา คือการแสวงหาความรู้อยู่สม่ำเสมอ ด้วยความพากเพียรพยายาม ทำสิ่งนั้นด้วยความเต็มใจพอใจอิ่มใจ ไม่หยุดทำสิ่งนั้นจนกว่าจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ตลอดถึงพยายามพัฒนาฝีมือให้ก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ไม่ล้มเลิกจนกว่าจะงานนั้นจะสำเร็จ ด้วยการหมั่นความขยันและเอาใจใส่นั่นเอง

๔. การปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ   

                   พระพุทธศาสนามองว่า การปฏิวัติทางจิตที่รู้ตื่นคือกระบวนทัศน์แห่งการดำเนินชีวิตอย่างเก่งดีมีสุขนั้น ต้องดำเนินชีวิตอย่างมีศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ดังที่นายแพทย์ บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า “เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนผันด้านหลักความคิดความเชื่อที่สำคัญยิ่งเป็นความเปลี่ยสแปลงทางโครงสร้างความเชื่อของสังคมตะวันตก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือแสนยานุภาพทางการทหารใดๆ จะยิ่งใหญ่และทรงพลานุภาพ เท่ากับการเปลี่ยนผันทางความคิดจิตสำนึกของคนเรา เมื่อมนุษย์เราได้ใคร่ครวญอย่างสุขุม รอบคอบ จนเปลี่ยนแปลงทัศนะของตนที่มีต่อสิ่งอัน เป็นสัจธรรมแล้ว มนุษย์นั้นไซร้ก็กำลังจะพลิกผันโลกทั้งใบ”[23] อ้างถึงคำนิยมของ วิลลิส ฮาร์แมน นักอนาคตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง แก่หนังสือชื่อ “The 2007 Shift Report-Evidence of a World Transforming” ของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งการรู้ตื่น (The Institute of Noetic Sciences : IONS)  ก่อตั้งโดย เอดการ์ มิตเชลล์ อดีตนักบินอวกาศคนหนึ่งของโครงการอพอลโลเพื่ออุทิศให้กับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางจิตอย่างเต็มที่ ในหนังสือชี้ว่า ทางออกสำหรับมนุษย์ชาติในภาวะที่สังคมมนุษย์กำลังเข้าตาจน หรือกำลังตกอยู่ในหล่มความอับจนหรือความติดตันทางปัญญา อย่างทุกวันนี้ซึ่งเป็นรากฐานของปัญญาที่วงการจิตตปัญญาเริ่มคนหาทางออก ด้วยการสร้างภาวะจิตที่รู้ตื่น ดำเนินการวิจัยและให้การอุดหนุนการวิจัย ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มหรือขบวนการแนวหน้า (Leading Edge Research) เกี่ยวกับศักยภาพและพลังอำนาจของความมีจิตสำนึก (consciousness) อันประกอบด้วยการหยั่งรู้หรือญาณ (Perception) ความเชื่อ (Beliefs) ความสนใจและสมาธิ (Attention) ความตั้งใจและเจตจำนง (Intention) การหยั่งรู้หรือญาณทัศน์ (Intuition) สถาบันนี้มีวิสัยทัศน์เพื่อใช้ความเข้มงวดทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการสร้างความสมดุลของ ภูมิปัญญาส่วนบุคคลและกลุ่ม (Personal and collective wisdom) เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนหรือการเปลี่ยนผันหรือการเปลี่ยนทิศทาง (Shift) ในจิตสำนึกหรือความมีสติหรือจิตวิญญาณ (Consciousness) ที่จะนำไปสู่ความเปลี่ยนสภาพ (Transformation) สถานการณ์ของโลกที่ดำรงอยู่ไปสู่โลกที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพ (freedom) ภูมิปัญญา (wisdom) และความรัก (love) ข้อค้นพบจากงานวิจัยของ (IONS) ยังดำรงอยู่ในขั้นตอนของ “จิตที่รู้ตื่น แต่ยังไม่เบิกบาน เพราะยังไม่ทราบมรรควิธีที่จะพลิกผันโลก”[24] จึงสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธศาสนา เพราะว่าพระพุทธศาสนาได้ปฏิวัติสังคมมนุษย์มาเป็นเวลานับได้ ๒,๖๐๐ ปี นับแต่วันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และได้ทรงแสดงหลักธรรมแห่งการปฏิวัติทางจิตเป็นครั้งแรกในชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร[25] ซึ่งเป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน ประเด็นที่ ๑ ทรงแสดงแนวทางที่ผิด ไร้ประโยชน์ เช่น กามสุขัลลิกานโยค การปฏิบัติที่พัวพันอยู่กับกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติที่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด โดยทรงชี้ว่า วิธีแรกนั้น เป็นของต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนา ไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์ ส่วนวิธีที่ ๒ นั้น เป็นการทรมานตนให้ลำบากเปล่า ไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์เช่นกัน ประเด็นที่ ๒ ทรงประกาศวิธีการใหม่ที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฎิปทา ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๘ ประการที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) เห็นชอบ  (๒) ดำริชอบ (๓) เจรจาชอบ (๔) กระทำชอบ (๕) เลี้ยงชีพชอบ (๖) พยายามชอบ (๗) ระลึกชอบ (๘) ตั้งจิตมั่นชอบ ซึ่งสรุปย่อลงหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา[26] มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลางเป็นวิธีที่ก่อให้เกิด จักษุ ญาณ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพานเป็นที่สุด ประเด็นที่ ๓ ทรงแสดงการปฏิบัติตามแนวทางของมัชฌิมาเพื่อทำให้รู้แจ้งซึ่งอริยสัจ ๔ นั้นคือ รู้จักทุกข์ รู้สาเหตุให้เกิดทุกข์ รู้อาการความดับทุกข์ และรู้วิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (นัยที่สำคัญสุด) พระพุทธศาสนาแสดงไว้ ๒ นัย คือ
                   นัยที่หนึ่ง พูดถึงการดับทุกข์ ซึ่งมีความหมายว่า เมื่อทุกข์ดับความสุขก็เกิดขึ้น ดับทุกข์ได้มาก ก็สามารถมีความสุขมาก ดับทุกข์ได้น้อยก็มีความสุขน้อย หากสามารถดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง ก็มีความสุขสมบูรณ์เรียกว่าผู้สามารถเข้าถึงความไพบูลย์ในธรรมได้ ในความหมายนี้ ความสุขที่เราได้รับ คือปริมาณลดลงของความทุกข์ หรือความสุขคือ ผลของการลดลงของความทุกข์ ดังข้อความปรากฎในคัมภีร์อรรถกถาว่า ภาวะที่ไร้ทุกข์ เรียกว่า ความสุข[27]
                   นัยที่สอง พูดถึงความสุขโดยตรง โดยจำแนกความสุขเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำๆ ไปจนถึงระดับสูงสุด ทั้งสุขทางกายและสุขทางใจพร้อมทั้งแสดงลักษณะและคุณภาพของความสุขในระดับนั้นไว้ด้วย ทั้งความทุกข์และความสุข เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้รู้ ให้เข้าใจ แล้วปฏิบัติให้ถูกต้อง กล่าวคือ ควรรู้ว่า ความทุกข์ คือ อะไร ความทุกข์ เกิดขึ้นได้อย่างไร ความทุกข์ดับอย่างไร ความทุกข์ ดับได้ด้วยวิธีใด[28] เรื่องของความสุขก็เช่นเดียวกัน ควรรู้ว่า ความสุข คืออะไร ความสุขเป็นอย่างไร ความสุขประเภทใดควรเสพ ไม่ควรเสพ ความสุขเกิดขึ้นได้อย่างไร
                   ทั้งนี้เพราะว่า ถ้าไม่ตระหนักชัด ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงในเรื่องของทุกข์และสุขที่เกิดขึ้นแก่ตนเองก็ย่อมจะมีอาการเหล่านี้ เช่น เมื่อมีความสุข ก็ยินดีต่อสุขจนถอนตัวไม่ขึ้น และเมื่อมีความทุกข์ ก็ยินร้าย ต่อทุกข์จนไม่สามารถสลัดสภาวะแห่งทุกข์เหล่านั้นออกจากจิตของตนได้ แล้วในที่สุดทั้งทุกข์และสุขก็จะครอบงำจิตใจเรา จนเป็นเหตุให้ชีวิตนี้เป็นทุกข์พอๆ กันได้[29] ตัวอย่างเช่น เมื่อได้ลาภ ได้ยศ ได้รับคำสรรเสริญเยินยอ เมื่อเกิดขึ้น ไม่ตระหนัก ไม่รู้ชัดย่อมเกิด ความยินดีในอิฎฐารมณ์ เมื่อครอบงำจิต จิตก็ฟูขึ้น พบความสุขชั่วคราว เมื่อเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา เมื่อเกิดขึ้น ไม่ตระหนัก ไม่รู้ชัดย่อมเกิด ความยินร้ายในอนิฎฐารมณ์ เมื่อครอบงำจิต จิตก็แฟบ จึงพบความทุกข์ ดังจะได้แสดงตัวอย่างเป็นตารางดังต่อไปนี้
ความสุขในโลกมนุษย์นั้นพระพุทธองค์ทรงแบ่งออกเป็น ๑๐ ระดับ ดังพระดำรัสที่ปรากฎในปัญจังคสูตรว่า (๑)สุขโสมนัสจากามคุณ (๒)ความสุขในปฐมฌาน หมายถึง สุขจากความสงัดกาม สงัดอกุศลธรรม (๓) สุขในทุติยฌาน หมายถึง ความสุขจากวิเวก (๔)สุขในตติยฌาน หมายถึง สุขจากสมาธิ (๕)สุขในจตุตถฌาน หมายถึง สุขจากอุเบกขา หรือ อทุกขมสุข (๖) สุขในอากาสัญญายตนะ หมายถึง สุขจากความว่าง (๗) สุขในวิญญาณัญจายตนะ หมายถึง สุขจากความรู้ (๘) สุขในอากิญจัญญายตนะสุข หมายถึง สุขจากไม่นึกถึงสิ่งใด (๙) สุขในเนวสัญญานาสัญญายตนะ หมายถึง สุขจากภาวะเนวสัญญานาสัญญา (๑๐) สุขในสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึง สุขจากภาวะดับสัญญาทั้งปวง[1]
                        ความสุขทั้ง ๑๐ ระดับนี้ สามารถกล่าวสรุปโดยย่อลงได้ ๓ ระดับเท่านั้น คือ กามสุข ฌานสุข และวิมุติสุข[2] ดังตัวอย่างต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่า ความสุขตามทัศนของพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นความสุขในทางโลกหรือที่เข้าใจกันว่า กามสุขนั้นเป็นเรื่องของความปรารถนา ความใคร่ ความพอใจ ความรัก ความต้องการ ความกำหนัด ดังนั้นตามมุมมองของพระพุทธศาสนาแล้ว กามสุขจึงมีลักษณะ คือ ปุถุชชนสุข เป็นสุขของคนมีกิเลส มิฬหสุข เป็นสุขที่สกปรก อนริยสุข เป็นสุขที่ไม่ประเสริฐเป็น เมื่อการกล่าวถึงความสุขในภาพรวม ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงสุขทุกประเภท แต่ถ้ากล่าวถึงความสุขของชาวโลก หรือ ความสุขของคนทั่วไปแล้ว พระพุทธศาสนาก็กล่าวว่ามีอยู่ ๔ ประเภทด้วยกัน คือ สุขจากการมีโภคทรัพย์ สุขจากการบริโภคทรัพย์ สุขจากการไม่เป็นหนี้ สุขจากการทำงานที่ไม่มีโทษ[1]
เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว การปฏิวัติทางจิตที่รู้ตื่นจะพลิกผันโลกทั้งใบนั้น คือกระบวนการแห่งดำเนินชีวิตที่มีสุข ด้วยการพัฒนามนุษย์ทั้งด้านจิตใจให้ถึงความสุขที่แท้จริง คือไม่ต้องอิงอาศัยวัตถุกามมาเป็นเชื้อแต่ต้องพัฒนาให้ถึงขั้นสูงสุด ดังข้อความตอนหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ว่าด้วยกามสุข จึงมีคุณภาพคือ เป็นของเลว เป็นของต่ำ เป็นของหยาบ ไม่ประเสริฐ ไม่มีประโยชน์ มีทุกข์มาก มีการเบียดเบียน มีความคับแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นทางปฏิบัติที่ผิด ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงแนะนำว่า กามสุขจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรทำให้มาก และควรกลัว[2] แล้วทรงแนะนำสุขที่ควรเสพสำหรักนักบวชหรือบรรชิตว่า สำหรับนักบวชเจริญเนกขัมสุข อันเป็นผลมาจากการสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรม เนกขัมสุขจึงมีลักษณะคือ สุขเพราะสงัด สุขเพราะสงบ สุขเพราะรู้แจ้ง นอกจากนี้เนกขัมมสุขจึงมีคุณภาพ คือ ไม่มีทุกข์ ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีความคับแค้น ไม่เร่าร้อน และเป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง และพระพุทธองค์ทรงแนะว่า เนกขัมมสุขเป็นธรรมที่ควรเสพ ควรเจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรกลัว  เพราะนี้คือหนทางแห่งความสุขที่แท้จริง นั้นคือพระนิพพานสุขดังกล่าวแล้ว
๕. บทสรุป

                        พระพุทธเจ้าทรงทำการปฏิวัติจิตที่ตื่นรู้เบิกบานเพื่อพลิกผันโลกใบนี้ เป็นครั้งแรกหลังจากที่พระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อ ๒,๖๐๐ ปี และหลังจากนั้นอีก ๒ เดือนได้ทรงแสดง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร[3] พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม ขับเคลื่อนพระศาสนา เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคียทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  คือภายหลังจากการตรัสรู้แล้ว ๒ เดือน ซึ่งก็คือวันอาสาฬหบูชาในสมัยปัจจุบันนั่นเอง ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ครบถ้วน (ประเด็นแรก) ทรงแสดงแนวทางที่ผิด ไร้ประโยชน์ เช่น กามสุขัลลิกานโยค การปฏิบัติที่พัวพันอยู่กับกามสุข และอัตตกิลมถานุโยค การปฏิบัติที่เป็นการทรมานตนให้ลำบาก ซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด โดยทรงชี้ว่า วิธีแรกนั้น เป็นของต่ำทราม เป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นเรื่องของคนมีกิเลสหนา ไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์ ส่วนวิธีที่ ๒ นั้น เป็นการทรมานตนให้ลำบากเปล่า ไม่ประเสริฐและไร้ประโยชน์เช่นกัน (ประเด็นที่ ๒) ทรงประกาศวิธีการใหม่ที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฎิปทา ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๘ ประการที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ (๑) เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (๒) ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (๓) เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) (๔) กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (๕) เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (๖) พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (๗) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (๘) ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) ซึ่งสรุปย่อลงหลักการสำคัญ ๓ ประการ คือ สีลสิกขา จิตตสิกขา ปัญญาสิกขา[4] มัชฌิมาปฏิปทา เป็นวิธีที่ก่อให้เกิด จักษุ ญาณ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพานเป็นที่สุด (ประเด็นที่ ๓) ทรงแสดงการปฏิบัติตามแนวทางของมัชฌิมาเพื่อทำให้รู้แจ้งซึ่งอริยสัจ ๔ นั้นคือ ทุกข์ สาเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และวิธีการที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ นับว่าเป็นหลักการที่สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์  เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นระบบและมีลำดับขั้นตอนแน่นอน  ดังนี้ (๑) ตั้งปัญหา (๒) การสร้างสมมติฐาน (๓) ตรวจสอบสมมติฐาน หรือขั้นทดลอง (ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล) (๔) วิเคราะห์ข้อมูล (๕) ลงข้อสรุป อย่างที่อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่ได้แสดงความเห็นต่อพุทธศาสนา ว่า “ศาสนาแห่งอนาคตจะเป็นศาสนาเกี่ยวกับจักรวาล มันควรจะอยู่นอกเหนือพระเจ้าส่วนตัว และหลีกเลี่ยงระบบของลัทธิความเชื่อ และคำสอนของศาสนาที่ไร้ข้อพิสูจน์และเทววิทยา โดยครอบคลุมธรรมชาติและจิตวิญญาณ มันควรตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจในศาสนา ที่เกิดจากประสบการณ์เกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เป็นธรรมชาติและจิตวิญญาณ ในฐานะที่เป็นเอกภาพอย่างมีความหมาย พุทธศาสนาสามารถตอบคำถามและให้อรรถธิบายดังกล่าว ถ้าจะมีศาสนาใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความจำเป็นทางวิทยาศาสตร์แล้ว ศาสนานั้นก็คือศาสนาพุทธนั่นเอง”[5]
                ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ได้แสดงไว้ว่า “ทำอย่างไรจะพัฒนาปุถุชนไปให้เป็นอริยชนหรืออารยชน เราจึงต้องพัฒนาปุถุชนนี้ขึ้นไปอีก เพื่อไม่ให้มนุษย์ปุถุชนเหล่านี้มาสร้างปัญหา ไม่มาทำสงครามกัน ไม่ให้มาเอารัดเอาเปรียบข่มเหงรังแกอะไรต่างๆ สารพัด ที่มันเกิดเป็นปัญหาในสังคมปัจจุบัน”[6] และสอดคล้องกับคำกล่าวของ น.พ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ที่ว่า “จิตวิวัฒน์ เกิดความเป็นชุมชน หรือกำลังก่อเกิด ความเป็นชนเผ่าแห่งจิตตปัญญาศึกษา เพราะเรื่องนี้จะเป็น “หัวใจสำคัญสุด” ที่จะทำให้ “ทีมจิตตปัญญาศึกษา” นี้อยู่ด้วยกัน ได้ทำ “งานที่แท้จริง” ร่วมกันได้สำเร็จ การศึกษาที่มุ่งทำความเข้าใจกัน โลกภายนอกตัวเราโดยที่ไม่ได้เข้าใจตัวเองมาก่อนเลย ย่อมทำให้มองเห็น โลกภายนอกบิดเบี้ยวและผิดรูปไปจากความเป็นจริง เพราะงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ค้นพบว่า เราจะมองเห็นโลกภายนอกเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่า เรามองเห็นโลกภายในของตัวเราเป็นอย่างไร”[7] ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา พระพุทธศาสนาจึงสอนโดยมุ่งหมาย ไปที่เรื่องของชีวิต และสอนเฉพาะเรื่องที่สามารถนำไปถอนทุกข์ถอนปัญหาของชีวิต ซึ่งเป็นเสมือนลูกศรอาบยาพิษออกจากชีวิตให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้เพราะเวลาของชีวิตมีน้อย ดังข้อความตอนหนึ่งในจูฬมาลุงโกยวาทสูตรว่า “ชีวิตของมนุษย์เปรียบเสมือนคนที่ถูกยิ่งด้วยลูกศรที่อาบด้วยยาพิษจำต้องผ่าเอาลูกศรนั้นออกโดยด่วน หากมั่วแต่สงสัยว่าลูกศรนั้นทำด้วยอะไร และใครเป็นคนยิง หากมัวถามเรื่องไร่สาระอยู่เช่นนี้ โดยไม่รีบพาไปหาหมอแล้วก็ เขาผู้นั้นก็คงตายก่อนเป็นแน่ ดังนั้นเมื่อรู้ว่าชีวิตนี้เป็นของน้อย เต็มไปด้วยทุกข์ ต้องรีบแก้ไขปัญหาและต้องรีบพาไปหาหมอเพื่อทำการรักษาโดยด่วน”[8] ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ พระพุทธศาสนาจึงสอนโดยมุ่งหมายไปที่เรื่องของชีวิต และสอนเฉพาะเรื่องที่สามารถนำไปถอนทุกข์ถอนปัญหาของชีวิตซึ่งเป็นเสมือนลูกศรอาบยาพิษออกจากชีวิตให้ได้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้เพราะเวลาของชีวิตมีน้อยนิด
                   ชีวิต กิเลส และความทุกข์ จึงเป็นชิ้นส่วนของภาพมนุษย์ในคำสอนของพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมีชีวิต กิเลสก็ยังคงอยู่ ตราบใดที่ยังมีกิเลสความทุกข์ก็ยังคงอยู่ความทุกข์เสมือนอาการของโรคกิเลส โรคคือกิเลสมีชีวิตเป็นที่อาศัย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่า โรคคือกิเลสนั้น นอกจากจะเป็นที่มาหรืออาการของความทุกข์แล้ว ยังเป็นที่มาของชีวิตด้วย ฉะนั้น ในการแก้ทุกข์หรือการกำจัดโรคของมนุษย์แล้ว พระพุทธศาสนาจึงมิได้สอนให้ทำลายชีวิต[9] หรือทำลายสังขารร่างกายของมนุษย์ แต่สอนให้ทำลายหรือกำจัดกิเลส เพราะชีวิตมิใช่ที่มาของกิเลส แต่ชีวิตเป็นเพียงที่อาศัยของกิเลสเท่านั้น แม้แต่ทุกข์ก็เป็นเพียงอาการหรือผลที่เนื่องมาจากกิเลสเท่านั้น หากไม่มีกิเลสแล้ว ก็ไม่มีทั้งชีวิตและทั้งทุกข์ และยาที่จะกำจัดหรือทำลายโรคคือกิเลสได้ มีอย่างเดียวเท่านั้นคือธรรม หรือธรรมโอสถ เพราะฉะนั้น ธรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนยาสำหรับบำบัดรักษามนุษย์ให้มีชีวิตอยู่อย่างสะอาดปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคทางใจอันเป็นที่มาของโรคทั้งปวง จึงเป็นต้องรีบรักษาให้หายเป็นปกติด้วยธรรมโอสถ คือ (๑) อาโลกพหุโล เป็นผู้มากด้วยแสงสว่างแห่งญาณ มีความรู้มาก มีปัญญามาก  (๒) โยคพหุโล เป็นผู้มากด้วยความเพียร ทั้งในทางโลกและทางธรรม (๓) เวทพหุโล เป็นผู้มากด้วยปิติปราโมทย์ (๔) อสนฺตุฎฐิพหุโล เป็นผู้มากด้วยความไม่พอไม่หยุด (๕) อนิกฺขิตฺตธุโร เป็นผู้ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม (๖) อุตฺตริญฺจ ปตาเรติ เป็นผู้พยายามก้าวหน้าต่อไป ไม่ถอยหลัง สามารถจำแนกลงในหลักธรรม ๓ ประการคือ (๑) ปริยัติญาณ มีปัญญาที่เกิดจากการศึกษามาก (๒) ปฏิปัตติญาณ มีปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติ  (๓) ปฏิเวธญาณ มีปัญญารู้แจ้งแทงตลอด เมื่อพัฒนาคนด้วยไตรสิกขา ชีวิตก็ก้าวหน้าไปใน อริยมรรค มรรคกับสิกขจึงประสานเป็นอันเดียวกันโดยที่ สิกขา คือ การพัฒนาตัวเองของมนุษย์ ให้ดำเนินชีวิตได้ดีงามถูกต้อง ทำให้วิถีชีวิตที่เป็นมรรค ส่วนมรรคก็คือทางดำเนินชีวิต หรือ วิถีชีวิตที่ถูกต้องดีงามของมนุษย์ ซึ่งเป็นวิถีชีวิตแห่งการเรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนคือสิกขา”[10] ซึ่งอริยสัจทั้ง ๔ คือ รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค ปัญญาซึ่งรู้แจ้งแทงตลอดวิสุทธิ ๗[11] ปัญญาซึ่งรู้แจ้งแทงตลอดลำดับญาณ ๑๖[12] จนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตลอดจนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน


[1] องฺ.จตุกฺก. (ไทย) ๒๑/๖๒/๙๐.
[2] ดูรายละเอียดใน วิ.ม. (ไทย) ๔/๑๓/๔๔-๖๔๖.
[3] ดูรายละเอียดใน สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘.
[4] ม.มู. ๑๒/๕๐๘/๕๔๙.
[5] อ้างแล้ว, หน้า ๑๗๒-๑๗๓.
[6] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน, มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๓, หน้า ๒๘-๒๙.
[7] อ้างแล้ว, หน้า ๑๗๗.
[8] ดูรายละเอียดใน ม.ม. (ไทย) ๑๓/๑๕๐/๑๑๗-๑๒๒.
[9] สุเชาววน์ พลอยชุม (รศ.), พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๘, หน้า ๘๒.
[10] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม (ฉบับเดิม), พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๔๔, ๓๔๖-๓๔๗.
[11] ม.มู (ไทย) ๑๘/๒๙๗-๒๙๘/๓๕๒-๕๗๑.
[12] ดูรายละเอียดใน ขุ.ป. (ไทย) ๖๙/๔๒๒/๑๓๙-๘๓๙.



[1] ดูรายละเอียดใน สํ.สฬา. ๑๘/๔๑๓-๔๒๔/๒๗๘.
[2] ดูรายละเอียดใน ขุ.อุ. (ไทย) ๒๕/๕๒/๘๗.



[1] สุเชาววน์ พลอยชุม (รศ.), พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๘, หน้า ๘๒.
[2] อนุช อาภาภิรม, คอลัมน์ วิกฤติศตวรรษที่๒๑ ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันศุกร์ที่ ๐๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ปีที่ ๓๒ ฉบับที่ ๑๖๔๗ หน้า ๓๘.
[3] เรื่องเดียวกัน.
[4] ไสว บุญมา, โต้คลื่นลูกที่ ๔ เมื่อความพอเพียงคือคำตอบ, กรุงเทพฯ : เนชั่นมัลดิมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), ๒๕๔๙, หน้า ๓๒.
[5] ดูรายละเอียดใน สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘.
[6] ม.มู. ๑๒/๕๐๘/๕๔๙.
[7] ดูรายละเอียดใน สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘.
[8] ม.มู. ๑๒/๕๐๘/๕๔๙.
[9] ขุ.ขุ. (ไทย) ๒๕/๓๒๐-๓๒๒/๑๓๓-๗๘๔.  
[10] เฟเบียน โอเกกิ กล้าฝันเพื่อมนุษยชาติ บทสนทนากับทะไลลามะว่าด้วยเรื่องเงิน การเมืองและชีวิตอย่างที่ควรจะเป็น, แปลโดย วิศิษฐ์และณัฐฬส วังวิญญู, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ส่วนเงินมีมา, ๒๕๔๕.
[11] ศ.นพ.ประเวศ วะสี, จิตวิญญาณในสังคมไทย , ปาฐกถาพิเศษ ในงานสานจิตรเสวนา มหกรรมความรู้การพัฒนาจิต ๑๐ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา จัดโดย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
[12] พุทธทาสภิกขุ, มรดกที่ขอฝากไว้, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ๒๕๕๒, หน้า ๒-๓.
[13] ศ.นพ.ประเวศ วะสี, อ้างแล้ว.
[14] เรื่องเดียวกัน
[15] อนุช อาภาภิรม, อ้างแล้ว.
[16] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), อ้างแล้ว หน้า ๑๔.
[17] ดูรายละเอียดใน วิ.จู. (ไทย) ๙/ ๓๘๗ - ๓๘๘/๓๐๔-๕๖๔.
[18] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), ธรรมนูญชีวิต, ฉบับเดิมและฉบับปรับปรุง-เพิ่มเติม, มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๑, หน้า ๑๑.
[19] องฺ ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๘๐/๖๐๓-๖๔๔.  
[20] ดูรายละเอียดใน ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๗๓-๓๐๐/๒๕๗ - ๒๗๗.
[21] ม.อุ. (บาลี) ๑๔ /๕๓๔/๓๕๑-๕๔๗.
[22] ดูรายละเอียดใน องฺ.เอกก. (ไทย) ๓๒/๑๔๙/๔๘๙-๕๐๖.
[23] บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล., จิตที่ตื่นรู้จะพลิกผันโลก, มติชนสุดสัปดาห์, ๐๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๙๓.
[24] กฤษ เพิ่มทันจิตต์., แนวทางการบริหารภายใต้กระบวนทัศน์วิถีพุทธ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, ๒๕๕๒, หน้า ๑๗๑-๑๗๓.
[25] ดูรายละเอียดใน สํ.มหา. (ไทย) ๑๙/๑๖๖๔/๕๒๘.
[26] ม.มู. ๑๒/๕๐๘/๕๔๙.
[27] สารตฺถ.ทุติย. หน้า ๑๘๔.
[28] สุเชาววน์ พลอยชุม (รศ.), พุทธปรัชญาในสุตตันตปิฎก, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๘, หน้า ๗๓-๗๔.
[29] อํ.อฎฺฐ. ๒๓/๙๖/๑๙๕.

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS