RSS

Learning

mp to: navigation, search "Learn" and "Learned" redirect here. For other uses, see Learn (disambiguation) and Learned (disambiguation). Neuropsychology Topics[show] Brain functions[show] People[show] Tests[show] Mind and Brain Portal Learning is acquiring new, or modifying existing, knowledge, behaviors, skills, values, or preferences and may involve synthesizing different types of information. The ability to learn is possessed by humans, animals and some machines. Progress over time tends to follow learning curves. Learning is not compulsory, it is contextual. It does not happen all at once, but builds upon and is shaped by what we already know. To that end, learning may be viewed as a process, rather than a collection of factual and procedural knowledge. Human learning may occur as part of education, personal development, schooling, or training. It may be goal-oriented and may be aided by motivation. The study of how learning occurs is part of neuropsychology, educational psychology, learning theory, and pedagogy. Learning may occur as a result of habituation or classical conditioning, seen in many animal species, or as a result of more complex activities such as play, seen only in relatively intelligent animals.[1][2] Learning may occur consciously or without conscious awareness. There is evidence for human behavioral learning prenatally, in which habituation has been observed as early as 32 weeks into gestation, indicating that the central nervous system is sufficiently developed and primed for learning and memory to occur very early on in development.[3]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

กรอบแนวคิดและการตั้งสมมติฐานการวิจัย

กรอบแนวคิดและการตั้งสมมติฐานการวิจัย


รศ.พ.ต.อ.หญิง ดร.พัชรา  สินลอยมา·


กรอบแนวคิดในการวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัยคืออะไร มีการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัยอย่างไร
การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย เป็นขั้นตอนของการนำเอาตัวแปรและประเด็นที่ต้องการทำวิจัยมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องในรูปของคำบรรยาย แบบจำลองแผนภาพหรือแบบผสมการวาง กรอบแนวคิดในการวิจัยที่ดี จะต้องชัดเจน แสดงทิศทางของความสัมพันธ์ ของสิ่งที่ต้องการศึกษา หรือตัวแปรที่จะศึกษา สามารถใช้เป็นกรอบในการกำหนดขอบเขตของการวิจัย การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย รูปแบบการวิจัย ตลอดจนวิธีการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล หลักสำคัญของการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย คือ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

พุทธสันติวิธีกับความสัมพันธ์ทางการทูตและพาณิชย์สัมพันธ์กับต่างประเทศ ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


พุทธสันติวิธีกับความสัมพันธ์ทางการทูตและพาณิชย์สัมพันธ์กับต่างประเทศ
ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

บทคัดย่อ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้ได้ทราบว่าพระองค์ทรงเป็นทั้งกษัตริย์นักรบ ทรงพระปรีชาสามารถในด้านการปกครอง ด้านการทูต พาณิชย์สัมพันธ์กับต่างประเทศ ทรงรอบรู้ในการเมืองระหว่างประเทศและทรงส่งเสริมการค้ากับนานาชาติด้วย หลักฐานเกี่ยวกับเมืองไทยในเอกสารภาษาสเปนสะท้อนให้เห็นถึงหลักมรรค ๘  ส่งผลให้การตัดสินพระทัยอยู่ภายใต้หลักของศีล สมาธิ ปัญญา ความสัมพันธ์สามเส้าระหว่าง ไทย เขมรและสเปน เป็นหลักการทางพุทธศาสนากล่าวถึงความเกี่ยวเนื่องกันของเหตุและผล พรหมวิหาร ๔ ในเอกสารฮอลันดาที่ทรงแสดงความมีเมตตาต่อหญิงชรา อิทธิบาท ๔ กับความหลากหลายทางด้านการปกครองประเทศ การทูต และการค้ากับนานาชาติจากเอกสารชีวประวัติ Jacques de Coutre และพระราชพงศาวดารฉบับวันวลิต การเจริญสติ สมาธิและพละ ๕กับความสัมพันธ์ไทย จีน จากการจดบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของจีนอย่างเป็นระบบมาเป็นเวลาช้านาน เอกสารโบราณที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์จึงมีหลายรูปแบบ การได้ทราบถึงอดีตเป็นบทเรียนให้เราได้ทราบถึงเหตุและปัจจัยซึ่งกันและกันบนพื้นฐานของหลักพุทธธรรม จดหมายเหตุของชาติต่างๆที่เขียนถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงเป็นอีกมุมมองหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์อย่างแท้จริง

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สรป ศึกษาดูงานครั้งที่ ๑

สรุปศึกษาดูงาน อบต. ท่าเรือ

บทนำ

ประวัติการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีวิวัฒนาการและความเป็นมาเช่นเดียวกับสภาตำบล เหตุที่มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่วนตำบลขึ้นมาใหม่นั้น เนื่องจากรัฐบาลในช่วงเวลาดังกล่าวมีนโยบายที่จะกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ประชาชนให้มากขึ้น จึงได้พิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับ “สภาตำบล” ที่มีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ และได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยให้มีการยกฐานะสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใหม่ เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนตำบล” และต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัตินี้มาจนถึง ฉบับที่  พ.ศ. ๒๕๔๓
หลักเกณฑ์การจัดตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลจัดตั้งจาก สภาตำบลที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ ล่วงมาติดต่อกัน  ปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ ๑๕๐,๐๐๐ บาท หรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยที่มีการเปลี่ยนแปลง(ซึ่งทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศ ลงในราชกิจจานุเบกษา) การประกาศยกฐานะ  สภาตำบลเป็น  องค์การบริหารส่วนตำบลต้องทำเป็น  ประกาศกระทรวงมหาดไทย  และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา  โดยในประกาศให้ระบุชื่อและเขต ขององค์การบริหารส่วนตำบลไว้ด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
           การยุบรวมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
           ๑องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีจำนวนประชากรไม่ถึง ,๐๐๐ คน ทั้งเป็นเหตุไม่สามารถที่จะดำเนินการบริหารงานพื้นที่นั้นให้มีประสิทธิภาพในลักษณะขององค์การบริหารส่วนตำบลได้ ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศยุบองค์การบริหารตำบลดังกล่าว โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน หรือให้ตราพระราชกฤษฎีกายุบองค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าว โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้นภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่มีเหตุดังกล่าว
          ๒สภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลอาจรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบล ที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันได้ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้นได้
          ๓สภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลอาจรวมกับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกันได้ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในเขตตำบลนั้นโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้กำหนดเขตใหม่ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
          อำนาจหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังนี้
          ๑อำนาจหน้าที่ทั่วไป พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
          ๒หน้าที่ที่กฎหมายบังคับให้ทำ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ชุมชนธรรมชาติกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ชุมชนธรรมชาติกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Natural Communities and Environmental Preservation

กันต์ สาระทิศ
Kanta Sarathit
นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
--------------------------------------

บทคัดย่อ

บทความนี้เพื่อศึกษารูปแบบชุมชนธรรมชาติกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วิถีชีวิตใดที่ตั้งอยู่บนฐานการใช้ทรัพยากรที่หมดไปย่อมไม่ยั่งยืน และวิถีชีวิตใดที่ใช้ทรัพยากรที่ฟื้นใหม่ได้มากเกินไป เช่น ทำให้ปลาแซลมอนคืนสู่แม่น้ำน้อยลงทุกปีก็ไม่ยั่งยืนเช่นกัน ความยั่งยืนย่อมไม่เป็นอันตรายต่อชุมชน ทุ่งหญ้าพื้นเมือง ป่าพื้นเมือง และฝูงปลาพื้นเมือง โลกที่เป็นจริงพึ่งพากันและกัน ดังนั้น สายน้ำหนึ่งที่ตกอยู่ในอันตรายก็ย่อมส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสัตว์อื่นที่อาศัยบนสายน้ำนั้น ย่อมไม่มีการปล่อยให้ผู้ใดไม่ว่าจะร่ำรวยหรือมีอำนาจเพียงใดในการสร้างพิษร้ายขึ้นโดยไม่มียาแก้ ย่อมไม่มีการปล่อยให้ผู้ใดไม่ว่าจะร่ำรวยหรือมีอำนาจเพียงใดมาทำลายพื้นที่ซึ่งมนุษย์และชีวิตอื่นอาศัยอยู่ ในโลกที่จำกัด เราไม่สามารถสร้างเศรษฐกิจที่วางรากฐานหรือความต้องการการเติบโตตลอดกาล วิถีชีวิตปัจจุบันไม่ยั่งยืนและจะล่มสลาย ปัญหาเหลือแต่เพียงว่าจะเหลืออะไรในโลกหลังการล่มสลายนี้ มนุษย์และชีวิตอื่นจะต้องเตรียมรับมือกับการล่มสลายเท่าที่จะเป็นไปได้ สุขภาพของเศรษฐกิจท้องถิ่นสำคัญกว่าสุขภาพเศรษฐกิจของโลก ไม่ควรปล่อยให้เศรษฐกิจโลกทำลายเศรษฐกิจท้องถิ่นและที่ดินอันเป็นพื้นฐาน

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

การปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ


การปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ
Spiritual Revolution shift the consciousness transformation the world 

                กันต์ สาระทิศ
Kanta Sarathit
นิสิตปริญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
----------------------------

บทคัดย่อ

                   บทความนี้เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิวัติทางจิตที่ตื่นรู้เบิกบานจะพลิกผันโลกทั้งใบ ชีวิต กิเลส และความทุกข์ จึงเป็นชิ้นส่วนของภาพมนุษย์ในคำสอนของพระพุทธศาสนา ตราบใดที่ยังมีชีวิต กิเลสก็ยังคงอยู่ ตราบใดที่ยังมีกิเลสความทุกข์ก็ยังคงอยู่ความทุกข์เสมือนอาการของโรคกิเลส โรคคือกิเลสมีชีวิตเป็นที่อาศัย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสว่า โรคคือกิเลสนั้น นอกจากจะเป็นที่มาหรืออาการของความทุกข์แล้ว ยังเป็นที่มาของชีวิตด้วย ฉะนั้น ในการแก้ทุกข์หรือการกำจัดโรคของมนุษย์แล้ว พระพุทธศาสนาจึงมิได้สอนให้ทำลายชีวิต[1] หรือทำลายสังขารร่างกายของมนุษย์ แต่สอนให้ทำลายหรือกำจัดกิเลส เพราะชีวิตมิใช่ที่มาของกิเลส แต่ชีวิตเป็นเพียงที่อาศัยของกิเลสเท่านั้น แม้แต่ทุกข์ก็เป็นเพียงอาการหรือผลที่เนื่องมาจากกิเลสเท่านั้น หากไม่มีกิเลสแล้ว ก็ไม่มีทั้งชีวิตและทั้งทุกข์ และยาที่จะกำจัดหรือทำลายโรคคือกิเลสได้ มีอย่างเดียวเท่านั้นคือธรรม หรือธรรมโอสถ เพราะฉะนั้น ธรรมในพระพุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนยาสำหรับบำบัดรักษามนุษย์ให้มีชีวิตอยู่อย่างสะอาดปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคทางใจอันเป็นที่มาของโรคทั้งปวง จึงเป็นต้องรีบรักษาให้หายเป็นปกติด้วยธรรมโอสถ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

พุทธสันติวิธีเพื่อสร้างความปรองดอง

พุทธสันติวิธีเพื่อสร้างความปรองดอง
Buddhist approach to peace, harmony and Reconciliation.

กันต์ สาระทิศ
 Kanta Sarathit
นิสิตปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
--------------------------------------

บทคัดย่อ

                   บทความนี้เพื่อศึกษาพุทธสันติวิธีเพื่อสร้างความปรองดอง สืบเนื่องจากความขัดแย้งในสังคมไทยมีขึ้นอย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงตลอดมา เกิดขึ้นจากหลายเหตุปัจจัย นำไปสู่การแตกแยกทางความคิด การแบ่งฝักฝ่าย และเกิดความไม่ลงรอยกันทางความคิด ไม่สามารถที่จะประสานรอยร้าวที่เกิดจากความไม่เข้าใจร่วมกันให้เป็นเอกภาพได้  ภาวะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้มิใช่เฉพาะในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ปัญหาเหล่านี้ลุกลามไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง แม้กระทั่งศาสนา จนเกิดขบวนการที่นำปัญหาต่างๆ เหล่านั้นโยงไปสู่การแบ่งแยกทางสังคมจนยากที่จะก่อให้เกิดสังคมสมานฉันท์ได้โดยง่าย พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ พระพุทธศาสนาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคม เศรษฐกิจและการเมือง แต่พระพุทธศาสนาก็มีอิทธิพลและบทบัญญัติต่อวิถีชีวิตของบุคคลในสังคม ซึ่งนักสังคมศาสตร์ให้การยอมรับความสำคัญของพระพุทธศาสนาในลักษณะที่เป็นระบบควบคุมสังคมให้สุขสงบ และเป็นสถาบันเบื้องต้นสำหรับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสวัสดิการของมนุษย์[1]

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

สรุปข้อเสนอสร้างความปรองดองในชาติ โดยสถาบันพระปกเกล้า

สรุปข้อเสนอสร้างความปรองดองในชาติ โดยสถาบันพระปกเกล้า


สรุปข้อเสนอ
กระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ
โดยสถาบันพระปกเกล้า

การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎรว่า อะไรคือรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ทำให้คนในสังคมสามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ?”

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

ยุทธศาสตร์สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย: กรณีเสื้อเหลือง-เสื้อแดง


บทสรุปงานวิจัยเรื่อง ยุทธศาสตร์สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในสังคมไทย : กรณี เสื้อเหลือง-เสื้อแดง

๑. เกริ่นนำ

              คำว่า สันติวิธีมักจะได้รับความสนใจอย่างยิ่ง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีบุคคล หรือกลุ่มบุคคล และสื่อมวลชนได้กล่าวถึงอยู่เสมอในช่วงระยะเวลาประมาณ ๕ ปีที่ผ่านมา ซึ่งสถานการณ์และบรรยากาศของการกล่าวถึงนั้น มักจะดำรงอยู่ในมิติของ ความขัดแย้งหรือเกิดกรณี พิพาทระหว่างบุคคลต่อบุคคล ระหว่างกลุ่มบุคคลต่อกลุ่มบุคคล หรือระหว่างรัฐต่อรัฐ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS